Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

Vocabulary: อักษรย่อภาษาอังกฤษที่พบบ่อยในเมนูอาหาร

Posted By Plook Creator | 23 มิ.ย. 63
15,953 Views

  Favorite

เวลาที่เข้าไปใช้บริการร้านอาหารที่มีเมนูเป็นภาษาอังกฤษ เราจะสังเกตเห็นอักษรย่อในเมนูอย่าง GF, SF, VG อักษรย่อเหล่านี้คือ ข้อมูลเกี่ยวกับอาหารและวัตถุดิบต่าง ๆ ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งที่ควรทราบ โดยเฉพาะผู้ที่มีข้อจำกัดทางการรับประทาน เช่น หลีกเลี่ยงการรับประทานส่วนผสมบางอย่าง, แพ้วัตถุดิบบางชนิด หรือ เป็นอาหารต้องห้ามทางศาสนา ดังนั้น มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่เราต้องทราบถึงที่มาและความหมายของอักษรย่อภาษาอังกฤษที่พบบ่อยในเมนูอาหารเหล่านี้


V / VE  = Vegetarian

Vegetarian คือ คนกินมังสวิรัติ หมายถึง การไม่รับประทานเนื้อสัตว์, การรับประทานแต่พืชผักเป็นอาหาร (Vegetarianism)  

Vegetarian แบ่งตามระดับการเลือกรับประทานดังนี้
Lacto-ovo vegetarians : ไม่ทานเนื้อสัตว์ แต่ทานนมสัตว์และไข่
Lacto-vegetarians : ไม่ทานเนื้อสัตว์และไข่ แต่ทานนมสัตว์
Ovo-vegetarians : ไม่ทานเนื้อสัตว์และนมสัตว์ แต่ทานไข่

ความรู้เพิ่มเติม : Lacto ในภาษาละตินมาจาก Lactose intolerance สื่อถึง นม ส่วน Ovo สื่อถึง ไข่


VG = Vegan

Vegan เป็นประเภทหนึ่งของ Vegetarian โดย Vegan จะไม่ทานเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์ทุกอย่างที่มาจากสัตว์ ไม่ว่าจะเป็น เนื้อ, ปลา, ไข่, ผลิตภัณฑ์จากนม, น้ำผึ้ง, เจลาติน หรืออาหารที่มีส่วนผสมโปรตีนจากสัตว์ เมื่อเทียบกับคนที่เป็น Vegetarian แล้วเราอาจเรียกพวก Vegan ว่า Veganism หรือ Extreme vegetarianism ก็ได้


GF = Gluten free

Gluten (กลูเตน) คือ โปรตีนชนิดหนึ่งที่พบได้ในข้าวไรย์ ข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ มักพบได้ในผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากแป้งสาลี เช่น ขนมปัง เส้นพาสต้า ซึ่งมีคนจำนวนไม่น้อยที่เป็นโรครักษาไม่หายอย่าง โรคซีลิแอค (Celiac Disease) หรือเรียกว่า แพ้กลูเตน จะไม่สามารถรับประทานอาหารที่มีส่วนผสมของกลูเตนได้ ดังนั้นหากบนเมนูอาหารมีอักษรย่อ GF กำกับไว้ แสดงว่าเมนูนั้นไม่มีส่วนผสมของกลูเตน หรือ Gluten free คนแพ้กลูเตนจึงสามารถสั่งทานได้อย่างไม่ต้องกังวล

นอกจากนี้มีอีกหนึ่งคำย่อที่มีความหมายเหมือนกับ Gluten Free นั่นคือ  Carb Free มาจาก Carbohydrate Free หมายความว่า มีคาร์โบไฮเดรตเป็นศูนย์ หรือถ้ามีส่วนผสมของคาร์โบไฮเดตรอยู่บ้างจะใช้ว่า Low carb


DF = Dairy free diet

Dairy คือ ผลิตภัณฑ์จากนม เช่น นม (milk), ชีส (cheese), ครีมสด (fresh cream), โยเกิร์ต (yogurt), เนยนม (buttermilk), นมข้น (curd) มองเผิน ๆ จะเห็นว่าสะกดคล้ายกับ Daily ที่หมายถึง ทุกวัน อีกทั้งยังออกเสียงใกล้เคียงกันด้วย ดังนั้นต้องระวังให้ดี

อักษรย่อ DF มาจาก Dairy free diet หมายถึง ไม่มีส่วนผสมของนม จำเป็นมากสำหรับคนที่แพ้นม หรือเรียกอีกอย่างว่า Lactose intolerance (แพ้น้ำตาลแลคโตส)  


EF = Egg free diet

Egg free diet (EF) บอกว่าอาหารนั้นไม่มีส่วนผสมของไข่ เวลาสั่งอาหาร คนแพ้ไข่ (Egg Allergy) ต้องสังเกตดูอักษรย่อนี้ด้วยนะ


SF = Sugar free diet

SF ย่อมาจาก Sugar free diet หมายถึง อาหารหรือเครื่องดื่มที่ไม่ใช้น้ำตาลเลย กระแส Sugar free เริ่มต้นเป็นที่นิยมต่อจากเรื่อง Gluten free ในอเมริกา ประเทศที่มีการพัฒนาในเรื่องอาหารการกิน ส่วนอาหารหรือเครื่องดื่มที่ใช้น้ำตาลในปริมาณต่ำจะเรียกว่า Low in sugar (LS)


NF = Nut free diet

สำหรับคนแพ้ถั่ว ต้องสังเกตเมนูอาหารให้ดี หากบนเมนูกำกับไว้ว่า NF มาจาก Nut free diet หมายความว่า อาหารนั้นไม่มีส่วนผสมของถั่ว ฉะนั้นคนแพ้ถั่วสั่งมารับประทานได้


Halal (ฮาลาล)

Halal Food คือ อาหารหรือผลิตภัณฑ์อาหารที่ได้รับการอนุมัติตามบัญญัติศาสนาอิสลามให้มุสลิมบริโภคหรือใช้ประโยชน์ได้ อย่างที่ทราบกันดีว่าชาวมุสลิมจะไม่รับประทานเนื้อหมู แต่ในกรณีที่จะรับประทานเนื้อสัตว์อื่น ๆ ก็ต้องเป็นอาหารที่ผ่านการขอ Halal Certified หรือ การรับรองตามบัญญัติศาสนาอิสลาม ด้วยเช่นกัน

 

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
Tags
  • Posted By
  • Plook Creator
  • 44 Followers
  • Follow