Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

Grammar: Tautology การใช้คำซ้ำซ้อนในภาษาอังกฤษ

Posted By Benjamaporn | 22 มิ.ย. 63
12,863 Views

  Favorite

ในการพูดหรือเขียนภาษาอังกฤษนั้น ความกระชับ ไม่ใช้คำที่มีความหมายซ้ำซ้อนในประโยคเดียวกันนั้น มีความสำคัญอย่างมาก โดยเฉพาะหลักไวยากรณ์ในการเขียน เรามีคำเฉพาะที่เรียกประโยคลักษณะนี้ว่า Tautology (ทอ-เทอะ-ลอ-จิ) คือการใช้คำซ้ำซ้อน (redundancy) ที่ไม่จำเป็น วันนี้ได้รวบรวมตัวอย่างที่น่าสนใจเป็นอย่างมากมาให้เรียนกันค่ะ โดยที่คำเอียงในประโยคคือ tautology ที่เราตัดทิ้งได้


Shout it out loud! ตะโกนออกมาดัง ๆ เลย
การตะโกนนั้น ก็เสียงดังอยู่แล้ว ไม่จำเป็นจะต้องมี out loud มาประกอบ

I made this with my own hands just for you. ฉันทำสิ่งนี้ด้วยมือของฉันเลยนะ
การทำของบางอย่าง ก็เป็นอันรู้กันดีอยู่แล้วว่าเราต้องทำเอง ไม่จำเป็นต้องบอกว่า with one’s own hand

I’m sure this is true because I heard it with my own ears. ฉันมั่นใจว่าจริงแน่ ๆ เพราะนี่ได้ยินด้วยหูของตัวเองเลยนะ 
การที่เราได้ยินอะไร ก็ต้องด้วยหูอยู่แล้วค่ะ ไม่จำเป็นต้องบอกว่า with my own ears หรอก

Is this adequate enough? อันนี้มันพอแล้วหรือยัง?
Adequate แปลว่าเพียงพอ ซึ่งก็มีความหมายในตัวอยู่แล้วโดยไม่จำเป็นจะต้องมี enough

In my opinion, I think that ... ในความเห็นของฉันนะ ฉันคิดว่า...
การที่เรามีความเห็นหรือ opinion ก็คือการที่เราคิดอ่านอย่างไร โดยที่ไม่ต้องมี I think that ก็ครอบคลุมแล้ว ประโยคนี้ต้องระวังกันนะคะ เพราะมักจะใช้ซ้ำซ้อนกันบ่อย ๆ

Say it again, once more. พูดอีกทีซิ อีกครั้งนึง
การบอกให้พูดอีกที ก็เพียงพอแล้ว ไม่ต้องมี once more ก็ได้

She’s the best – better than all other people. เธอมันดีที่สุดแล้ว ดีกว่าคนอื่น ๆ ทั้งหมด
การที่บอกว่าดีที่สุดก็คือ ที่สุดแล้ว ไม่จำเป็นต้องบอกว่า ดีกว่าใคร ๆ

I did it, so I’m finished. ฉันทำมันแล้วล่ะ ทำเสร็จแล้ว
บอกว่า I did it ก็เป็นอันเข้าใจแล้วว่า ทำเสร็จแล้ว จบสิ้นลงไปแล้ว เพราะเป็นกริยาช่อง 2

Don’t forget we will meet at 2 PM, in the afternoon. อย่าลืมนะว่าพวกเราจะเจอกันตอนบ่ายสอง ช่วงบ่าย
มันก็แน่นอนอยู่แล้วว่า บ่ายสองก็คือตอนบ่าย ไม่จำเป็นต้องบอกว่าเป็นช่วงบ่ายอีก

Let’s take turn, out after the other. มาผลัดกันดีกว่า ทีละคนต่อ ๆ กัน
การผลัดกันก็คือการทำทีละคนอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องมีวลีหลัง

She’s always over-exaggerates. เธอมักจะพูดโม้เกินจริงเสมอ
การพูดเกินจริงก็คือให้นัยยะว่า มากเกินอยู่แล้ว ไม่ต้องมี over ในที่นี้

I need a new hot water heater. ฉันต้องการเครื่องทำน้ำร้อนเครื่องใหม่
Heater คือเครื่องทำความร้อน เพราะฉะนั้นไม่จำเป็นต้องบอกว่าน้ำร้อน พูดแค่ water heater ก็พอ 

This evening sunset is beautiful. พระอาทิตย์ตกเย็นนี้ช่างสวยงาม
พระอาทิตย์ตกก็ย่อมต้องเป็นตอนเย็นอยู่แล้ว ไม่จำเป็นจะต้องมี evening มาบอก

I love reading Jack’s autobiography of his own life. ฉันรักการอ่านอัตชีวประวัติที่เป็นชีวิตส่วนตัวของแจ็คมากเลย
Autobiography คือ อัตชีวประวัติซึ่งความหมายก็คือประวัติชีวิตของใครคนหนึ่งอยู่แล้วในตัว


หวังว่าทุกคนจะได้ความรู้ใหม่ ๆ ที่น่าสนใจสำหรับหัวข้อ Tautology กันไปไม่น้อยในวันนี้นะคะ แล้วพบกันใหม่กับความรู้ภาษาอังกฤษสนุก ๆ ในครั้งต่อไป สวัสดีค่า

 

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
Tags
  • Posted By
  • Benjamaporn
  • 9 Followers
  • Follow