Air ticket ตั๋วเครื่องบิน เช่น I would like to make an air ticket reservation to Rome. (ฉันอยากจะจองตั๋วเครื่องบินไปโรม)
Pax เป็นตัวย่อมาจาก person คือจำนวนผู้โดยสาร โดยมากมักจะระบุในหน้าแรกของการจองตั๋ว หรือเราอาจจะใช้คำว่า passenger(s) คือผู้โดยสารก็ได้
Infant/Child/Adult ผู้โดยสารก็แบ่งเป็นหลายประเภท คือ ทารก เด็กเล็ก และ ผู้ใหญ่ โดยจะมีราคาตั๋วที่ต่างกันไป
One-way trip ตั๋วขาเดียว ไปแล้วยังไม่กำหนดวันกลับ
Round trip ตั๋วไปกลับ ระบุทั้งวันเดินทางไป และ กลับ
Destination จุดหมายปลายทาง ซึ่งจะรวมถึง city (เมือง) และ country (ประเทศ)
Departure date วันออกเดินทางจากเมืองต้นทาง หรือ departure city
Arrival date วันที่ถึงเมืองปลายทาง หรือ arrival city
Direct flight เที่ยวบินตรงขาเดียว จากต้นทางไปปลายทาง
Transit flight เที่ยวบินที่ต้องมีการเปลี่ยนเครื่องระหว่างทาง
Window seat ที่นั่งติดหน้าต่าง
Aisle (ไอ-เอิล) seat ที่นั่งติดทางเดิน
Economy class ที่นั่งชั้นประหยัด บางสายการบินจะมี Premium Economy class ด้วย
Business class ที่นั่งชั้นธุรกิจ
First class ที่นั่งชั้นเฟริสคลาส ซึ่งมักจะปรับที่นั่งนอนเอนราบได้ 180 องศา หรือเป็น Full flatbed
Baggage กระเป๋าเดินทาง โดยที่สายการบินมักจะระบุน้ำหนักว่าไม่เกินกี่ Kg. เราอาจจะใช้คำว่า luggage แทนได้
Carry-on baggage สัมภาระติดตัวขึ้นเครื่อง
Special request เมื่อเรามีสิ่งที่เราอยากขอเพิ่มเติม เช่น Non-beef meal หรือ Aisle seat ก็ให้ระบุได้เลยในช่องนี้
Airfare ค่าตั๋วเครื่องบิน ซึ่งมักจะรวมถึง Fuel surcharge (ภาษีน้ำมัน) ด้วย
E (Electronic)-ticket เมื่อจองตั๋วเรียบร้อย ชำระเงิน สายการบินก็จะออก ตั๋วในรูปแบบ electronic ให้ซึ่งสามารถปรินท์และนำไปที่สนามบินได้เลย
Flight number ในตั๋วนั้นจะระบุ หมายเลขเที่ยวบินด้วย เช่น FD357
Booking reference และมักจะระบุเลขหมายอ้างอิงในการจองตั๋วเครื่องบินด้วย
Itinerary แผนการเดินทาง หรือรายละเอียดต่าง ๆ ที่ปรากฏในตั๋ว
Online check-in หลายสายการบินสามารถทำการเช็คอินออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ หรือ application ได้ 24 ชั่วโมงก่อนขี้นเครื่อง ซึ่งต้องอย่าลืมเก็บ boarding pass ไปสนามบินด้วย
เมื่อเรามีตั๋วในมือพร้อมแล้ว ก็ได้เวลามุ่งหน้าไปสนามบินกันค่ะ
Airport สนามบิน มีทั้ง Domestic Airport และ International Airport
Terminal อาคารผู้โดยสาร ซึ่งเราก็ต้องเลือกไปให้ถูกว่า เราจะไปลงที่ Domestic terminal (อาคารบินในประเทศ) หรือ International Terminal (อาคารบินระหว่างประเทศ)
Airline counter แล้วก็มุ่งหน้าไปที่เคาเตอร์สายการบินของเรา เพื่อทำจาก check-in
Excess baggage น้ำหนักกระเป๋าที่เกินมาจากที่สายการบินกำหนด ซึ่งอาจจะมักโดนค่าปรับหรือ Excess baggage charge ด้วย
Boarding pass ใบอนุญาตให้ขึ้นเครื่องบิน ซึ่งข้อมูลก็จะมีชื่อผู้โดยสาย เมืองต้นทาง และปลายทาง วัน เวลาที่เดินทาง และที่ไปถึง
ข้อมูลอื่น ๆ เช่น
Carrier สายการบินที่จะนั่งไป
Gate ประตูทางออกขึ้นเครื่อง อันนี้เป็นข้อมูลที่สำคัญมาก ถ้าเดินไปผิด Gate อาจจะตกเครื่องได้
Boarding time เวลาเรียกขึ้นเครื่อง อันนี้เป็นข้อมูลที่สำคัญมากเช่นกัน อย่ามัวแต่ shopping เพลินต้องรีบไปให้ทัน
Duty free shop ร้านขายสินค้าปลอดภาษีในสนามบิน
Currency exchange counter และก็อย่าลืมหาเวลาแลกเงินไว้ด้วย ที่เคาเตอร์แลกเงินค่ะ
Departure lounge ถ้าไม่อยากชอปปิ้ง ก็ไปนั่งรอเครื่องออกสวย ๆ ได้ใน lounge ของแต่ละสายการบินได้
Lost and found ถ้าเราเจอของ หรือว่าทำของอะไรหาย ก็สามารถไปติดต่อที่เคาเตอร์นี้ได้
Trolley รถเข็นสัมภาระ ถ้าของเยอะ ก็มองหารถเข็นไว้เลย
เมื่อถึงเวลาแล้ว ก็ไปที่ gate กันเลยดีกว่า
Immigration ด่านตรวจคนเข้าเมือง ในที่นี้ ขาออกเราก็ต้องผ่าน Immigration ทางประเทศไทยเหมือนกันว่าเราจะออกจากประเทศ
Passport สำคัญมาก อันดับหนึ่ง ถ้าจะเดินทางระหว่างประเทศและผ่าน Immigration ห้ามลืมพกพาสปอร์ตไปด้วย ซึ่งจริง ๆ เราก็จะต้องแสดงเอกสารนี้ตั้งแต่ตอน check-in แล้วค่ะ
To board ขึ้นเครื่องได้ จะประกาศโดยเจ้าหน้าที่หน้า gate
Delayed บางครั้งเครื่องลำนั้นอาจจะมาล่าช้ากว่าที่กำหนด เราจะใช้คำนี้
On time หรือถ้ามาตรงเวลา ก็ใช้คำนี้ได้เลย
Emergency exit ได้ที่นั่งกันแล้ว ก็อย่าลืมมองหาทางออกฉุกเฉินไว้ด้วยนะคะ
Emergency landing เผื่อเวลาต้องมีการลงจอดฉุกเฉิน ก็จะใช้คำนี้
Cabin ห้องโดยสาร
Cockpit ห้องนักบิน หรือ Pilot ของเรานั่นเอง เราอาจจะเรียกว่า Captain ก็ได้ โดยที่ผู้ช่วยนักบิน เราจะเรียกว่า Co-Pilot
In-flight manual คู่มือระหว่างเที่ยวบิน ที่แอร์โฮสเตสสาวสวย หรือ สจ๊วตรูปหล่อ มักจะแสดงให้เราดูตอนสาธิตความปลอดภัย
Seat belt อย่าลืมคาดเข็มขัดนิรภัยที่มีสัญญาณเตือน หรือระหว่างเครื่องกำลังขึ้น ลง
Window shade หน้าต่างเครื่องบิน รูปทรงสี่เหลี่ยมมุมมน ๆ ที่เราคุ้นเคย
Crew ลูกเรือ หรือพนักงานต้อนรับบนสายการบิน ที่ใช้ได้อีกคำว่า Flight attendant ที่จะมีทั้ง Air Hostess และ Air Steward นั่นเองค่ะ
Take-off เครื่องบินกำลังบินขึ้น
Taxi คำนี้ใช้เรียกตอนที่กัปตันเริ่มขับเครื่องบินออกจาก gate ไปยังจุดเตรียม take-off
Runway ทางขึ้นลงของเครื่องบิน
Landing เครื่องบินลงจอด