เราทราบกันอยู่แล้วว่ากฎการเปลี่ยนคำนามเอกพจน์เป็นพหูพจน์สำหรับคำนามที่ลงท้ายด้วย s, ss, sh, ch, x, z ให้เติม es แต่มีศัพท์บางคำที่ไม่ใช่ตามกฎนี้เสมอไป ลองดูคำศัพท์เหล่านี้
house - mouse
house (บ้าน) เมื่อเป็นพหูพจน์จะเติม s เป็น houses
mouse (หนู) เมื่อเป็นพหูพจน์จะเปลี่ยนรูปเป็น mice
box – ox - index
box (กล่อง) เมื่อเป็นพหูพจน์จะได้ว่า boxes
แต่ ox (วัวตัวผู้) เมื่อเป็นพหูพจน์ไม่ใช่ oxes แต่เปลี่ยนรูปเป็น oxen
หรือรูปพหูพจน์ของ index (ดัชนี) ก็ไม่ใช่ทั้ง indexes หรือ indexen แต่เปลี่ยนรูปเป็น indices
นั่นเป็นเพราะมีคำนามบางกลุ่มที่แหกกฎ เรียกว่า Irregular Plural Nouns (คำนามพหูพจน์ผิดปกติ) ซึ่งคำนามกลุ่มนี้เมื่อเป็นพหูพจน์จะไม่เติม s/es แต่เปลี่ยนรูปไปเลย หรือบางคำก็คงรูปเดิม เช่น
goose (ห่าน) กับ moose (กวางตัวใหญ่)
สองคำนี้สะกดเหมือนก็จริง แต่เมื่ออยู่ในรูปพหูพจน์กลับไม่ได้เป็นไปตามกฎเดียวกัน goose เป็นพหูพจน์เปลี่ยนรูปเป็น geese แต่ moose ใช้รูปนี้ทั้งเอกพจน์และพหูพจน์
ตัวอย่างคำนามที่เปลี่ยนรูปเมื่อเป็นพหูพจน์
เอกพจน์ (Singular) |
พหูพจน์ (Plural) |
foot |
feet |
child |
children |
person |
people |
man |
men |
mouse |
mice |
ตัวอย่างคำนามที่มีรูปเดียวกันทั้งเอกพจน์และพหูพจน์
เอกพจน์ (Singular) |
พหูพจน์ (Plural) |
deer |
deer |
fish |
fish |
shrimp |
shrimp |
sheep |
sheep |
read – read
สองคำนี้เขียนเหมือนกัน มีความหมายว่า อ่าน เหมือนกัน แต่ออกเสียงไม่เหมือนกัน อย่างไรน่ะหรือ ดูที่ประโยค
I read a book.
I read a book.
ทั้งที่สองประโยคนี้มีความหมายว่า “ฉันอ่านหนังสือ” เหมือนกัน แต่ read อ่านต่างกัน เนื่องจากประโยคหนึ่งเป็นเหตุการณ์ปัจจุบัน อ่านว่า รี้ด อีกประโยคหนึ่งเป็นเหตุการณ์ในอดีต อ่านว่า เร้ด
คราวนี้มาดูคำว่า lead กันบ้าง
ถ้า lead หมายถึง นำพา, ก่อให้เกิด อ่านว่า ลี้ด และเมื่อเป็นช่อง 2 led อ่านว่า เล้ด
ถ้า lead หมายถึง ตะกั่ว จะอ่านว่า เล้ด
แม้จะดูสับสนชวนปวดหัว แต่ถ้าฝึกฝนและดูบริบทของประโยคให้ดี เราจะใช้ได้อย่างถูกต้องแน่นอน
อัพเลเวลความงงมาที่คำที่สะกดเหมือนกัน ออกเสียงเหมือนกัน แต่มีความหมายต่างกัน เช่น die – die
die (ดาย) เป็นคำกริยา หมายถึง ตาย
die (ดาย) เป็นคำนาม หมายถึง ลูกเต๋า)
และจำให้แม่นว่า ลูกเต๋าหนึ่งลูกคือ die แต่ลูกเต๋าสองลูกขึ้นไปคือ dice (ไดซ์)
ถ้าพูดถึง fat (อ้วน) กับ slim (ผอม, บาง) เราทราบกันดีว่าสองคำนี้เป็น Antonym คือคำที่มีความหมายตรงข้ามกัน แต่กลับนำมาใช้สื่อความหมายเดียวกันได้
a fat chance – a slim chance
fat = อ้วน
slim = ผอม
chance = โอกาส
ทั้งที่ fat กับ slim เป็นคำที่มีความหมายตรงข้ามกัน แต่ fat chance และ slim chance มีความหมายเหมือนกันว่า “โอกาสน้อยมาก, มองไม่เห็นโอกาสเลย” เช่น
A: I want to ask her out to dinner. Do you think she’ll say yes?
B: Fat chance.
C: There is a slim chance that she’ll say yes?
จากตัวอย่างจะเห็นว่า B กับ C มีความเห็นเดียวกันว่า “มีโอกาสน้อยมาก” ที่สาวจะตอบตกลงไปดินเนอร์กับ A
หรือ fill in a form – fill out a form ก็เช่นกัน
in กับ out เป็นคำที่มีความตรงข้ามกัน in แปลว่า ข้างใน out แปลว่า ข้างนอก แต่เมื่อมาอยู่ในสำนวน fill in a form และ fill out a form มีความหมายเหมือนกันว่า “กรอกข้อมูล”
มีการนำคำ Antonym มาใช้ให้มีความหมายเดียวกันแล้ว คราวนี้ Synonym ที่รู้กันดีว่าเป็นคำที่มีความหมายเหมือนกันหรือคล้ายกัน แต่นำมาใช้ในความหมายตรงข้ามกัน
wise man – wise guy
wise = เฉลียวฉลาด
man = ผู้ชาย
guy = ผู้ชาย (คำที่ไม่เป็นทางการ)
man กับ guy หมายความว่า “ผู้ชาย” เหมือนกัน แต่เมื่อนำมาใช้คู่กับ wise ที่หมายถึงฉลาด กลับให้ความหมายต่างกัน wise man หมายถึง คนฉลาด แต่ wise guy กลับหมายถึง คนโง่