การเกิดหลุมยุบนั้น จริง ๆ แล้วเป็นปรากฏการณ์ที่สามารถเกิดขึ้นได้เองตามธรรมชาติ โดยจะมีขนาดของหลุมและความลึกที่แตกต่างกันไปตามปัจจัยแวดล้อม ซึ่งหากคาดเดาตามความเข้าใจของคนทั่วไป จะมองว่าการเกิดหลุมยุบน่าจะเกิดจากการที่ดิน หิน หรืออะไรบางอย่างที่อยู่ด้านล่างหายไป ทำให้ผิวดินหรือเพดานโพรงดินด้านบนเกิดการยุบตัวและพังลงไป เนื่องจากไม่มีอะไรรองรับผิวดินด้านบนไว้แล้วนั่นเอง
ในประเทศไทยจะสามารถพบโพรงใต้ดินได้ 3 ชนิด ได้แก่
ในบางพื้นที่ของประเทศไทยจะมีชั้นหินปูนแทรกอยู่ที่ใต้ดินด้านล่าง หากในพื้นที่นั้นเกิดฝนตกและมีแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์เป็นจำนวนมาก จะทำให้เกิดการรวมตัวของน้ำกับแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์กลายเป็นกรดฝนในที่สุด และตามธรรมชาติเมื่อหินปูน (แคลเซียมคาร์บอเนต) เจอกับฝนกรดจะเกิดปฏิกิริยาทางเคมีจนทำให้หินปูนสลายไป
หากฝนกรดตกลงมาบ่อย ๆ ผ่านชั้นดินแทรกตัวลงไปจนถึงชั้นหินปูน หินปูนที่เคยมีอยู่จะถูกกัดกร่อนไปเรื่อย ๆ จนเกิดเป็นโพรงขนาดใหญ่หรือเล็กตามบฃปริมาณของหินปูนที่อยู่ในชั้นใต้ดิน เมื่อเกิดเป็นโพรงหรือถ้ำใต้ดินขนาดใหญ่และอยู่ใกล้พื้นดินมากขึ้น เพดานไม่สามารถรองรับดินหรือวัตถุที่อยู่ด้านบนได้ ก็จะเกิดหลุมยุบนั้นเอง
เป็นชั้นทรายที่อยู่ใต้พื้นดินและมักอยู่ใกล้กับบริเวณแม่น้ำ ลำคลอง เมื่อเกิดฝนตกหนักหรือตกอย่างต่อเนื่อง น้ำที่แทรกเข้าใต้พื้นดินจะพัดพาตะกอนทรายหรือชั้นทรายนี้ลงสู่แม่น้ำ ลำคลอง จนทำให้เกิดโพรงใต้ดิน แต่กระบวนการนี้จะไม่ก่อให้เกิดหลุมยุบขนาดใหญ่ เนื่องจากชั้นทรายไม่ได้มีขนาดใหญ่มากและแรงจากการพัดพาของน้ำไม่ได้มีความรุนแรงที่จะพัดให้ชั้นทรายนั้นหายไปหมดได้ ซึ่งกระบวนการนี้สามารถเกิดขึ้นได้ทุกภูมิภาคของประเทศไทย
ชั้นเกลือใต้ดิน คือ ชั้นของหินเกลือที่แทรกอยู่ใต้พื้นดิน มีคุณสมบัติละลายน้ำได้ดี และเมื่อนำน้ำที่ได้จากการละลายมาระเหยแห้งจะได้เป็นเกลือสินเธาว์นั้นเอง ส่วนใหญ่จะพบที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเมื่อหินเกลือถูกชะล้างเพื่อนำไปทำเป็นเกลือสินเธาว์มาก ๆ ชั้นเกลือใต้ดินก็จะหายไป เกิดเป็นช่องว่างหรือโพรงระหว่างใต้ดิน เมื่อเพดานรับน้ำหนักวัตถุที่อยู่ด้านบนไม่ไหว ก็จะเกิดการถล่มลงมาเป็นหลุมยุบนั้นเอง
ดังนั้นแล้ว การผลิตเกลือก็สามารถทำให้เกิดปรากฏการณ์หลุมยุบได้เช่นกัน แต่ต้องเป็นการทำเกลือสินเธาว์เท่านั้น การทำนาเกลือสมุทรไม่มีผลต่อการเกิดหลุมยุบแต่อย่างใด