ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดการมองเห็นป้ายสัญญาณจราจรในลักษณะต่าง ๆ ก็คือ สภาพของแสงในขณะนั้นที่เซลในดวงตาแต่ละชนิดจะสามารถรับสัญญาณ แล้วนำไปสู่การตอบสนองได้ไวและสังเกตความแตกต่างของสี (Contrast) ได้ง่าย
สภาพของแสงที่ปรากฏบนท้องถนนมักจะไม่มีปัญหาเมื่อเวลากลางวัน แต่อุบัติเหตุส่วนใหญ่จะเกิดในช่วงเวลาพลบค่ำหรือในเวลากลางคืน นั่นคือสภาพของแสงที่น้อยลง การทำงานของเซลล์ประสาทในจอตาจึงทำงานแตกต่างกัน กล่าวคือ ในดวงตาของเรามีอวัยวะที่ใช้รับภาพที่เรียกว่าเรตินา ซึ่งประกอบไปด้วยเซลล์ 2 ชนิดคือ เซลล์รูปแท่ง (Rod cell) และ เซลล์รูปกรวย (Cone Cell) โดยเซลล์ทั้งสองชนิดจะทำหน้าที่แตกต่างกัน ตามตาราง
ประเภทของเซลล์ | การมองเห็นตามสภาพของแสง | การมองเห็นสีของวัตถุ |
เซลล์รูปแท่ง (Rod cell) |
- ไวต่อแสงมาก - ทำงานในสภาพแสงน้อย |
- ไม่สามารถจำแนกสีได้ - มองเห็นวัตถุเป็นภาพขาวดำ |
เซลล์รูปกรวย (Cone Cell) |
- ไม่ไวต่อแสง - ทำงานในสภาพแสงมาก |
- สามารถจำแนกสีได้ดี |
ตารางแสดงการทำงานของเซลล์แต่ละประเภทของเรตินา ในดวงตา
เมื่อประกอบกับประเภทของไฟที่ส่องสว่างตามถนนที่มักจะใช้หลอดไฟที่มีแสงสีส้มเหลือง ทำให้การแยกสีเพี้ยนไปจากแสงในตอนกลางวันซึ่งเป็นแสงสีขาว ดังนั้นการออกแบบป้ายจราจร จึงต้องอาศัยหลักของการมองเห็นของดวงตามนุษย์ในการเลือกคู่สีที่ใช้กับสัญลักษณ์ต่าง ๆ เช่น
ตัวอย่างป้ายจราจรที่มองเห็นในสภาพกลางวัน
ตัวอย่างป้ายจราจรที่มองเห็นในสภาพกลางคืนภายใต้แสงสีส้ม
ป้ายเตือนในเวลากลางวัน
ป้ายเตือนในเวลากลางคืน
เปรียบเทียบกับการมองเห็นในเวลากลางคืนที่ไฟส่องสว่างมักจะเป็นแสงสีส้ม จะพบว่าความสามารถในการจำแนกสีของป้ายจะลดลง ผู้ออกแบบป้ายจราจรจึงออกแบบคู่สีให้มีความแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด เพื่อการทำงานของเซลล์รูปแท่ง (Rod Cell) จะทำงานได้ดีขึ้น ในสภาพแสงน้อย ได้แก่
- ถ้าใช้พื้นหลังป้ายเป็นสีเข้ม สัญลักษณ์ของป้ายควรใช้สีสว่าง เช่น พื้นหลังสีเขียวคู่กับสัญลักษณ์สีขาว พื้นหลังสีฟ้าคู่กับสัญลักษณ์สีขาว พื้นหลังสีแดงคู่กับสัญลักษณ์สีขาว เป็นต้น
- ถ้าพื้นหลังสีสว่างสัญลักษณ์ควรเป็นสีเข้ม เช่น พื้นหลังสีเหลืองคู่กับสัญลักษณ์สีดำ พื้นหลังสีขาวคู่กับสัญลักษณ์สีแดง เป็นต้น
บทความที่เกี่ยวข้อง
- การมองเห็นสีของวัตถุ