องค์กรอนามัยโลก (World Health Organization : WHO) ได้ให้คำจำกัดความของคำว่า pandemic ว่า เป็นโรคระบาดที่ขยายวงกว้างทั่วโลก โดยการแพร่ระบาดของโรคนั้น องค์กรอนามัยโลกได้แบ่งการระบาดออกเป็น 6 ระยะ ดังนี้
ระยะที่ 1 ไวรัสได้แพร่กระจายในกลุ่มสัตว์โดยไม่ได้แสดงการแพร่เชื้อมายังมนุษย์ ยังไม่ถือเป็นโรคระบาดร้ายแรง
ระยะที่ 2 ไวรัสในสัตว์ได้แพร่กระจายไปยังหมู่สัตว์ด้วยกันและได้แพร่กระจายไปยังมนุษย์ ไวรัสที่แพร่กระจายนี้เป็นสัญญาณของความเสี่ยงต่อการเกิดโรคระบาดครั้งใหญ่
ระยะที่ 3 ไวรัสในสัตว์เริ่มเป็นสาเหตุในการแพร่กระจายไปยังกลุ่มมนุษย์โดยแพร่จากสัตว์สู่มนุษย์ แต่การแพร่กระจายไปยังมนุษย์สู่มนุษย์ยังมีอัตราที่ต่ำ ยังไม่ได้มีแนวโน้มเป็นโรคระบาดที่แพร่กระจายไปทั่วโลก
ระยะที่ 4 มีการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสจากมนุษย์สู่มนุษย์ในจำนวนประชากรหมู่มากซึ่งเริ่มมีการระบาดไปสู่ชุมชน โดยการแพร่ระบาดระหว่างมนุษย์ในกลุ่มเล็กนำไปสู่การระบาดใหญ่ทั่วโลก
ระยะที่ 5 ไวรัสได้มีการแพร่เชื้อระหว่างประเทศมากกว่า 2 ประเทศขึ้นไป ซึ่งเป็นประเทศในภูมิภาคที่องค์กรอนามัยโลกกำหนด ถึงแม้ว่าจะมีการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสระหว่างประเทศเพียง 2 ประเทศ แต่การแพร่กระจายนี้ส่งผลให้เกิดการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสไปทั่วโลกได้
ระยะที่ 6 ไวรัสได้มีการระบาดไปทั่วเกือบทุกประเทศ เรียกการแพร่กระจายนี้ว่า ระยะการแพร่กระจายทั่วโลก (Pandemic) ซึ่งในปัจจุบันการระบาดของโรค COVID – 19 ก็เป็นการระบาดในระดับนี้
การระบาดของโรคระบาดทั่วโลกไม่ได้เน้นเรื่องอัตราการเติบโตของจำนวนประชากรที่ติดเชื้อ แต่เกี่ยวข้องกับการแพร่กระจายของเชื้อ ว่ามีการแพร่กระจายไปวงกว้างมากน้อยเพียงใด ยิ่งมีการเคลื่อนย้ายของผู้คนเพียงใด การแพร่กระจายของโรคก็จะยิ่งเร็วมากขึ้นเท่านั้น
Pandemic และ Epidemic เป็นคำที่เกี่ยวข้องกับกระจายของโรคระบาด โดยมีความแตกต่างกัน ดังนี้
- Epidemic เป็นการระบาดของโรคเพียงแค่ในชุมชนและเริ่มแพร่กระจายไปยังเมืองต่าง ๆ เริ่มเข้าสู่การขยายวงกว้างไปยังต่างประเทศ ยิ่งมีการเคลื่อนย้ายของคนมากเท่าใด ก็ยิ่งมีการกระจายของเชื้อไปยังที่ต่าง ๆ มากยิ่งขึ้น
- Pandemic เป็นการระบาดครั้งใหญ่ของโลกโดยองค์กรอนามัยโลกได้กำหนดไว้ว่า เป็นการระบาดของเชื้ออย่างน้อย 3 ประเทศขึ้นไป ซึ่งเริ่มยากต่อการควบคุม
ในปัจจุบัน โลกของเราได้เผชิญกับโรคระบาดครั้งใหญ่นั่นก็คือ COVID – 19 แต่ในอดีตนั้นโลกของเราได้เผชิญกับโรคระบาดมาแล้วหลายร้อยปี เช่น
1. โรคไข้หวัดสเปน (Spanish Flu) เป็นการระบาดของไข้หวัดใหญ่ของโลกที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก ไข้หวัดใหญ่ชนิดนี้เกิดจากเชื้อไวรัส H1N1 ซึ่งติดต่อจากนกสู่มนุษย์ ส่งผลให้เกิดผลกระทบต่อคน 500 ล้านคนทั่วโลก ในช่วงปี ค.ศ. 1918 – 1920
2. โรคไข้หวัดนก (Asian Flu) เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส H2N2 พบในสัตว์ปีก ซึ่งได้แพร่กระจายมาสู่มนุษย์ ส่งผลกระทบต่อมนุษย์กว่า 1 ล้านคนทั่วโลก อัตราเฉลี่ยอายุของคนที่เป็นโรคไข้หวัดนกอยู่ระหว่างช่วงอายุ 5 – 39 ปี ซึ่งส่วนใหญ่เกิดขึ้นในเด็กและวัยรุ่น
3. โรคซาร์ส (SARS-CoV) หรือโรคไข้หวัดมรณะที่เรารู้จักกัน เป็นโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง โดยต้นกำเนิดของเชื้อไวรัสนี้เกิดขึ้นในอุ้งเท้าของชะมด โดยเริ่มต้นที่ตลาดค้าสัตว์ป่า มณฑลกวางตุ้ง ประเทศจีน และเริ่มแพร่กระจายไปยังฮ่องกง และประเทศอื่น ๆ ทั่วโลก
4. โรคเมอร์ส (MERS-CoV) หรือโรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง เป็นโรคที่เกิดขึ้นมากในประเทศแถบตะวันออกกลางและประเทศเกาหลีใต้ เป็นไวรัสกลุ่มโคโรน่าไวรัส (Coronavirus) เป็นเชื้อไวรัสที่เกิดจากสัตว์และมีการแพร่กระจายมาสู่มนุษย์
5. โรคอีโบล่า เป็นโรคที่เกิดขึ้นในประเทศแถบแอฟริกาตะวันตก ซึ่งเป็นไวรัสที่แพร่กระจายมาจากค้างคาว และแพร่กระจายมาสู่มนุษย์
6. โรค COVID – 19 (SARS – CoV-2) หรือโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา เป็นโรคระบาดที่มนุษย์กำลังเผชิญอยู่ในปัจจุบัน เป็นโรคที่กำเนิดขึ้นในเมืองอู่ฮั่น มณฑลหูเป่ย ประเทศจีน โดยสันนิษฐานว่า เชื้อไวรัสนี้ได้แพร่กระจายมาจากตลาดสัตว์และอาหารทะเลในเมืองอู่ฮั่น ซึ่งตอนนี้ได้แพร่กระจายเป็นโรคระบาดที่กำลังระบาดไปทั่วโลก
บทความที่เกี่ยวข้อง
- ไวรัสกับแบคทีเรียต่างกันอย่างไร