โรคฮีทสโตรก (Heat Stroke) หรือ โรคลมแดด เป็นโรคที่เกิดจากความร้อนในร่างกายพุ่งสูงอย่างรวดเร็ว จากที่เราอยู่ในพื้นที่ที่มีอากาศร้อนจัด จนร่างกายไม่สามารถปรับตัวหรือระบายความร้อนภายในร่างกายไม่ทัน ทำให้เกิดการทำงานที่ผิดปกติของสมองในส่วนการควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย ร่างกายจึงมีอุณหภูมิสูงขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งส่งผลต่อระบบไหลเวียนโลหิตและระบบสมอง
• มีอาการหน้ามืด ไม่มีแรง
• มึนงง ปวดหัว คลื่นไส้อาเจียน
• ไม่มีเหงื่อออก รู้สึกกระหายน้ำมาก
• หอบหายใจเร็ว ใจสั่น หัวใจเต้นแรงมาก
• ตัวร้อนขึ้นเรื่อย ๆ ผิวแดงจัด
• อุณหภูมิในร่างกายสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว
• วัดอุณหภูมิได้มากกว่า 40 องศาเซลเซียส
• รูม่านตาขยาย รูขุมขนจะปิดจนไม่สามารถระบายเหงื่อได้
• พูดจาไม่รู้เรื่อง อาจถึงขั้นชักกระตุก เกร็ง หมดสติ
• พาผู้ป่วยเข้าไปในที่ร่ม ไม่มีแดด และมีอากาศเย็นหรืออากาศถ่ายเทได้สะดวก แล้วให้ผู้ป่วยนอนราบ ยกเท้าขึ้นสูงทั้งสองข้าง เพื่อให้เลือดไหลเวียนได้ดีขึ้น
• คลายเสื้อผ้าของผู้ป่วยให้หลวม หรือถอดเสื้อผ้าชั้นนอกออก เพื่อให้ร่างกายระบายความร้อนได้เร็วขึ้น
• ใช้ผ้าชุบน้ำเย็นแล้วเช็ดตามตัว ซอกรักแร้ คอ ขาหนีบ และหน้าผาก โดยเช็ดย้อนรูขุมขนเพื่อระบายความร้อน
• ถ้าในบริเวณนั้นมีพัดลม ให้เปิดพัดลมเป่าผู้ป่วยเพื่อระบายความร้อน หรือใช้พัด พัดแรง ๆ เพื่อช่วยให้อุณหภูมิร่างกายลดต่ำโดยเร็วที่สุด
• เมื่อทำตามทุกข้อแล้วให้โทรแจ้ง 1669 หรือรีบพาผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลทันที
• ก่อนออกจากบ้านให้ดื่มน้ำ 1-2 แก้วเสมอ เพื่อเติมความชุ่มชื้นและลดอุณหภูมิในร่างกาย
• ใส่เสื้อผ้าที่ใส่สบาย ไม่อึดอัด และระบายความร้อนได้ดี เช่น ผ้าฝ้าย ผ้าลินิน เป็นต้น สำหรับใครที่ต้องออกไปกลางแจ้งนาน ๆ แนะนำให้สวมใส่เสื้อผ้าที่ป้องกันแสงแดดได้ด้วย
• ถ้าต้องอยู่ท่ามกลางอากาศร้อนจัด หรือต้องออกกำลังกายในอากาศร้อนจัด ควรดื่มน้ำให้ได้ชั่วโมงละ 1 ลิตร แม้จะไม่รู้สึกกระหายน้ำก็ควรดื่ม เพื่อป้องกันอาการขาดน้ำ ส่วนคนที่อยู่ในร่มก็ควรดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 6-8 แก้ว
• หมั่นสังเกตสีปัสสาวะของตัวเอง ถ้ามีสีเหลืองเข้มมากเกินไป แสดงว่าร่างกายกำลังขาดน้ำ ควรดื่มน้ำให้มากขึ้น
• เช็กอุณหภูมิอากาศก่อนออกจากบ้านเสมอ และควรหลีกเลี่ยงการอยู่กลางแดดนาน ๆ ในวันที่อากาศร้อนจัด
แหล่งข้อมูล
หน้าร้อนกับโรคฮีทสโตรก : พญ.ศิวาพร เจริญทัศน์
การรับมือกับอากาศร้อน – โรคลมแดด และ ฮีทสโตรก