ภูมิคุ้มกันของคนเราจะดีหรือไม่ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น พันธุกรรมที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิด (แก้ไขไม่ได้), อายุ ถ้าอายุน้อยกว่า 2 ปี หรือเกินกว่า 65 ปี ภูมิคุ้มกันจะเริ่มลดลง, การออกกำลังกาย, การนอนหลับพักผ่อน, อารมณ์ และอาหารการกิน อาหารจึงเป็นทางเลือกที่ดูจะง่ายที่สุดสำหรับคนที่อยากเพิ่มภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง เพราะมีอาหารหลากหลายประเภทให้เลือกกิน มาดูกันเลยว่ากินอะไรแล้วจะช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันให้เราได้บ้าง
• ผักสีขาว เช่น ขิง กระเทียม หัวหอม เห็ด หัวไชเท้า เป็นต้น
มีสารแซนโทน ช่วยต้านอนุมูลอิสระ เพิ่มภูมิคุ้มกัน ช่วยลดไขมันในเลือด และลดความดันเลือด
• ผักสีเขียว เช่น คะน้า กะหล่ำปลี บร็อคโคลี่ ปวยเล้ง แตงกวา เป็นต้น
มีสารคลอโรฟิลล์ ช่วยต้านอนุมูลอิสระ ช่วยกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดขาว สร้างภูมิคุ้มกันของร่างกาย กระตุ้นระบบขับถ่าย มีธาตุเหล็กช่วยบำรุงเลือด
• ผักสีส้ม เช่น แครอท ฟักทอง ข้าวโพด พริกหวาน มะละกอ เป็นต้น
มีสารเบต้าแคโรทีน ช่วยชะลอความเสื่อมของเซลล์ในร่างกาย ช่วยลดไขมันในเลือด และมีวิตามินซีสูง
• ผักสีแดง เช่น มะเขือเทศ พริกหวาน พริกแดง บีทรูท เป็นต้น
มีสารไลโคปีน และสารเบต้าไซซีน ช่วยต้านอนุมูลอิสระ ช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกัน ถ้าไม่ชอบกินผักสีแดง สามารถทดแทนด้วยผลไม้สีแดงได้ เช่น แตงโม สตรอว์เบอร์รี ทับทิม แทนได้
• ผักสีม่วง เช่น กะหล่ำม่วง มันม่วง เผือก มะเขือม่วง ดอกอัญชัน เป็นต้น
มีสารแอนโทไซยานิน ช่วยต้านอนุมูลอิสระได้ดีกว่าวิตามินซีหรืออีถึง 2 เท่า ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด ช่วยต้านไวรัสบางชนิด
มะขามป้อม - มีวิตามินซีสูงมากและคงสภาพอยู่ได้นาน มีสารแมงกานีส สังกะสี ฟอสฟอรัส และธาตุเหล็กที่จำเป็นต่อร่างกาย ช่วยต้านอนุมูลอิสระ ช่วยต้านไวรัสทางเดินหายใจ และกระตุ้นเม็ดเลือดขาวให้ทำงานดีขึ้น
ฝรั่ง - มีวิตามินและแร่ธาตุหลายชนิด มีวิตามินซีสูง ช่วยต้านอนุมูลอิสระ เพิ่มภูมิคุ้มกัน และช่วยกระตุ้นเม็ดเลือดขาวให้กำจัดเชื้อแบคทีเรียได้ดีขึ้น
ส้มเขียวหวาน - มีวิตามินซีสูง ช่วยต้านไวรัสทางเดินหายใจได้ดี และมีสารฟลาโวนอยด์ ช่วยป้องกันการอักเสบ และช่วยป้องกันเลือดจับตัวเป็นก้อนได้ดี
มะยม - มีวิตามินซีสูง ช่วยต้านอนุมูลอิสระ ต้านการติดเชื้อไวรัสทางเดินหายใจ ต้านการอักเสบ และช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็ง
ลิ้นจี่ - มีวิตามินซีสูง มีสารต้านอนุมูลอิสระหลายชนิด ช่วยลดหรือแก้การติดเชื้อในลำคอที่มีสาเหตุมาจากไวรัส ช่วยเพิ่มพลังให้ร่างกาย และช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกัน
• รสฝาด เช่น มะขามป้อม ลูกพลับ ละมุด ดอกแค ใบกระถิน เป็นต้น
มีสารแทนนิน ช่วยปรับสภาพกรด-เบสในร่างกายได้ดี ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อโรค และช่วยขับโลหะหนักออกจากร่างกาย
• รสขม เช่น มะระ ใบยอ สะเดา ขี้เหล็ก ชะอม มะเขือ เป็นต้น
มีสารพฤกษเคมีหลายตัวที่ช่วยต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันไวรัสทางเดินหายใจ ช่วยลดระดับไขมันและน้ำตาลในเลือด
• รสเปรี้ยว เช่น มะยม ใบชะมวง ใบมะขาม เป็นต้น
มีวิตามินซีและไบโอฟลาโวนอยด์ ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยกำจัดของเสียออกจากร่างกาย ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันของร่างกายให้แข็งแรงขึ้น แนะนำให้เน้นรสเปรี้ยวอมฝาด อย่ากินที่มีรสเปรี้ยวมาก
• รสเผ็ดร้อน เช่น พริก กระเทียม หอมแดง ขิงข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด ใบกะเพรา เป็นต้น
ช่วยกระตุ้นระบบไหลเวียนเลือด ฆ่าเชื้อไวรัส ขับเหงื่อ ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันในร่างกาย แนะนำให้กินอย่างพอดีเพื่อไม่ให้ร่างกายร้อนเกินไป
• รสจืด เช่น แตงไทย แตงกวา ผักแว่น ผักบุ้ง เป็นต้น
มีสารสำคัญช่วยต้านอนุมูลอิสระ ช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย และช่วยลดภาวะร่างกายร้อนเกินไปได้
แหล่งข้อมูล
นพ.พิเชฐ บัญญัติ รองอธิบดี กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. (2563). คู่มือเอาตัวรอดจากไวรัส COVID-19. กรุงเทพฯ: เซเว่นดี บุ๊ค