Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

ปฐมเหตุ การสวดพระพุทธมนต์ และทำน้ำพระพุทธมนต์ ครั้งพุทธกาล [คลิป] - ที่มาของรัตนสูตร บทสวดช่วงวิกฤต ขับไล่ขจัดภัย สิ่งอัปมงคล ภัยเศรษฐกิจ และโรคภัย

Posted By มหัทธโน | 16 มี.ค. 63
51,292 Views

  Favorite

ปฐมเหตุการทำน้ำพระพุทธมนต์ ที่มาของ รัตนสูตร 

บทสวดขับไล่ขจัดภัย สิ่งอัปมงคล ภัยเศรษฐกิจ และโรคภัย และมักถูกนำมาใช้สวดมนต์ช่วงวิกฤต

 

 

ทำความรู้จัก "รัตนสูตร"

เป็นพระสูตรสำคัญพระสูตรหนึ่งในพระไตรปิฎก ซึ่งพระพุทธเจ้าได้ตรัสให้พระอานนท์เรียน แล้วเดินทำพระปริต ทำน้ำพระพุทธมนต์เป็นครั้งแรกเพื่อคุ้มครองป้องกันในเมืองเวสาลี เมื่อคราวเกิดภัยพิบัติครั้งใหญ่ ใช้สวดขจัดภัยพิบัติ 3 ประการ จากโรคภัย จากอมนุษย์ และจากเศรษฐกิจเสียหาย 


รัตนสูตรนี้บางทีก็เรียก รัตนปริต เป็นสูตรหนึ่งที่พระสงฆ์ในยุคปัจจุบัน จะต้องสวดในเวลาเจริญพระพุทธมนต์เสมอ

 

ซึ่งหลังจากพระพุทธองค์ทรงกลับจากเมืองเวสาลี ก็เกิดมหาสมาคมขึ้น นั่นคือ ทั้งมนุษย์ เทวดา พรหม และนาค ต่างพากันมาทำบูชาสักการะถวายแด่พระพุทธเจ้าเป็นการยิ่งใหญ่ นับเป็นมหาสมาคม ที่เกิดเพียง 1 ใน 3 ครั้งสมัยพระพุทธกาลเท่านั้น 

 

จุดเด่นของบทสวดรัตนสูตร

รัตนสูตร ว่าด้วยรัตนะท้ง 3 คือพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ สวดเพื่อปัดเป่าอุปัทวันตรายให้หมดไป  เพื่อป้องกันภัย 3 ประการ คือ โรคภัย, อมนุษย์ และ ความทุกข์ยากต่าง ๆ 


ที่มาของรัตนสูตร ครั้งสมัยพุทธกาล

อ้างอิง :
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗
ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
อรรถกถา ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ รัตนสูตรในขุททกปาฐะ 
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกายขุทกปาฐะ และ ปรมัตถโชติกา
อรรถกถาขุททกนิกาย สุตตนิบาต จุฬวรรค


ในสมัยพุทธกาล ณ เมืองไพศาลี หรือเวสาลี นครหลวงแห่งอาณาจักรวัชชี เกิดข้าวยากหมากแพงฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล ข้าวกล้าแห่งเหี่ยวตาย เกิดทุพภิกขภัยใหญ่และมีโรคระบาดพวกคนยากคนจนอดอยากล้มตายลงเป็นจำนวนมาก ซากศพถูกทอดทิ้งส่งกลิ่นเหม็นคลุ้งตลบไปทั่ว พระราชาเห็นว่า ควรกราบทูลนิมนต์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จมานครเวสาลี แล้วภัยทั้งหลายจะสงบไปเอง
 

เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จมาถึงนครเวสาลีพร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์ 500 รูป ฝนได้ตกลงมาห่าใหญ่ น้ำฝนไหลนองท่วมพื้นดิน พัดพาเอาซากศพลอยลงแม่น้ำคงคาไปหมด ทำให้พื้นดินบริสุทธิ์สะอาดโดยทั่วไป
 

พระพุทธเจ้าตรัสสอนรัตนสูตรให้พระอานนท์ 

พระพุทธเจ้าตรัสแก่พระอานนท์ว่า

"..ดูกร อานนท์ เธอจงเรียนรัตนสูตรนี้ แล้วเดินจาริกทำปริตร ไปในระหว่างกำแพงสามชั้นในนครเวสาลี.."


แล้วตรัส "รัตนสูตร" ขึ้นในกาลครั้งนั้น ที่เรียกพระสูตรนี้ว่า

"รัตนะ" เพราะหมายถึง "พระรัตนตรัย" คือพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์

 

ที่มา : https://bit.ly/3b7qPeI

 

ปฐมบทแห่งการสวดพระพุทธมนต์ และทำน้ำพระพุทธมนต์ (น้ำมนต์) ในปัจจุบัน 

เมื่อพระอานนท์เรียนรัตนสูตรที่พระพุทธเจ้าตรัสประทานแล้ว ได้เอาบาตรศิลาของพระพุทธเจ้า ใส่น้ำถือไปยืนที่ประตูเมือง พลางรำลึกถึงพระคุณทั้งหลายของพระตถาคตเจ้า ตั้งแต่ทรงตั้งความปรารถนาพระโพธิญาณเป็นลำดับมา ได้ทรงบำเพ็ญพระบารมี ความเพียร จนถึงทรงแสดงพระธัมมจักกัปปวัตนสูตรและโลกุตรธรรม 9 ประการ แล้วยาตราเข้าไปภายในพระนคร


เดินทำพระปริตรไปในระหว่างกำแพงเมือง 3 ชั้น


พอพระเถระเริ่มต้นพระสูตรว่า "ยํ กิญฺจิ" เท่านั้น

พวกอมนุษย์ที่ยังไม่หนีไปและเที่ยวหลบซ่อนอยู่ ก็พากันหนีออกทางประตูเมืองทั้ง 4 เมื่อพวกอมนุษย์หนีกันไปหมดแล้ว โรคภัยไข้เจ็บของชาวเมืองก็สงบลง

 

ครั้นพระอานนท์ทำพระปริตรทั่วพระนครแล้ว ก็กลับมาพร้อมกับชาวเมืองที่หายโรคเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า ถวายบังคมแล้วนั่งกันอยู่ พระพุทธเจ้าทอดพระเนตรเห็นมหาชนมาประชุมอยู่พร้อมเพรียงกัน จึงตรัสรัตนสูตรขึ้นอีกครั้งหนึ่ง เพื่อความสุขสวัสดี และเพื่อความระงับไปแห่งอุปัทวันตรายทั้งปวง

 

พระพุทธเจ้าได้ประทับอยู่ที่เมืองไพศาลี และตรัสเทศนารัตนสูตรทุกวันรวม 7  วัน เมื่อทรงเห็นว่าภัยทุกอย่างสงบเรียบร้อยแล้วจึงตรัสลากษัตริย์ลิจฉวีและชาววัชชีทั้งหลายเสด็จกลับราชคฤห์ครั้งนี้ มีประชาชนมาบูชาสักการะถวายแก่พระองค์เป็นการยิ่งใหญ่ เรียกว่า "คังโคโรหณสมาคม" คือการชุมนุมใหญ่ในโอกาสที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงแม่น้ำคงคา

 

ที่มา : https://bit.ly/3bamMON

 

บทเจริญพระพุทธมนต์พระพฤหัสบดี (รัตนสูตร)

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกายขุทกปาฐะ และ ปรมัตถโชติกา
อรรถกถาขุททกนิกาย สุตตนิบาต จุฬวรรค


บทสวดที่พระพุทธองค์ทรงสอนพระอานนท์ โดยตรง 


รัตนสูตรเป็นพระสูตรที่พระอานนทเถระเรียนจากพระพุทธองค์โดยตรง เพื่อใช้สวดขจัดปัดเป่าภัยพิบัติที่เกิดกับชาวกรุงเวสาลี

 

พระพุทธองค์ทรงแนะนำให้พระเถระน้อมเอาคุณของพระรัตนตรัยคือ พุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ ทำสัจกิริยาให้เกิดเป็นอานุภาพขจัดปัดเป่าภัยพิบัติทั้งหลายเนื้อความรัตนสูตรท่อนแรกเริ่มต้นด้วยการแนะนำให้เหล่าภูตทั้งหลายได้อนุโมทนาบุญกุศลที่หมู่มนุษย์อุทิศให้ และเมื่ออนุโมทนาแล้วขอให้เกิดความเมตตาทำการรักษามนุษย์ทั้งหลาย


เนื้อความท่อนต่อมา
เป็นการอ้างคุณพระรัตนตรัยเป็นสัจวาจาให้เกิดความสวัสดี


ส่วนท่อนสุดท้ายเป็นคำกล่าวของท้าวสักกะที่ผูกขึ้นเป็นคาถาพรรณนาคุณพระรัตนตรัยเป็นสัจวาจาให้เกิดความสวัสดี

 

รัตนสูตรกลายเป็นต้นแบบการสวดพระพุทธมนต์ และจุดประสงค์ที่ทำเป็นน้ำพระพุทธมนต์ 

ภายหลังรัตนสูตรได้กลายเป็นแบบอย่างในการทำน้ำพระพุทธมนต์สำหรับพระสงฆ์สาวกต่อมาจนถึงปัจจุบัน ทุกครั้งที่มีการทำน้ำ พระพุทธมนต์ จะต้องสวดรัตนสูตร


จุดประสงค์ของการสวดรัตนสูตร

เพื่อเป็นการขจัดภัยทั้ง 3 ประการตามที่ปรากฏในพระสูตร คือ

ข้าวยากหมากแพง (ทุพภิกขภัย) 1

ภูตผีปีศาจทำอันตราย (อมนุสภัย) 1

โรคภัยไข้เจ็บ (โรคภัย) 1

ให้อันตรธานไปด้วยอานุภาพแห่งรัตนสูตรนี้

..........................................................

บทมนต์พระปริตร รัตนสูตร


(ตั้งนะโม ๓ จบ)

ยานีธะ ภูตานิ สะมาคะตานิ
ภุมมานิ วา ยานิวะอันตะลิกเข
สัพเพ วะ ภูตา สุมะนา ภะวันตุ
อะโถปิ สักกัจจะ สุณันตุ ภาสิตัง
ตัสะมา หิ ภูตา นิสาเมถะ สัพเพ
เมตตัง กะโรถะ มานุสิยา ปะชายะ
ทิวา จะ รัตโต จะ หะรันติ เย พะลิง
ตัสะมา หิ เน รักขะถะ อัปปะมัตตา ฯ

ยังกิญจิ วิตตัง อิธะ วา หุรัง วา
สัคเคสุ วา ยัง ระตะนัง ปะณีตัง
นะ โน สะมัง อัตถิ ตะถาคะเตนะ
อิทัมปิ พุทเธ ระตะนัง ปะณีตัง
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ

ขะยัง วิราคัง อะมะตัง ปะณีตัง
ยะทัชฌะคา สักะยะมุนี สะมาหิโต
นะ เตนะ ธัมเมนะ สะมัตถิ กิญจิ
อิทัมปิ ธัมเม ระตะนัง ปะณีตัง
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ

ยัมพุทธะเสฏโฐ ปะริวัณณะยี สุจิง
สะมาธิมานันตะริกัญญะมาหุ
สะมาธินา เตนะ สะโมนะ วิชชะติ
อิทัมปิ ธัมเม ระตะนังปะณีตัง
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิโหตุ ฯ

เย ปุคคะลา อัฏฐะ สะตัง ปะสัฏฐา
จัตตาริ เอตานิ ยุคานิ โหนติ
เต ทักขิเณยยา สุคะตัสสะ สาวะกา
เอเตสุ ทินนานิ มะหัปผะลานิ
อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ

เย สุปปะยุตตา มะนะสา ทัฬเหนะ
นิกกามิโน โคตะมะสาสะนัมหิ
เต ปัตติปัตตา อะมะตัง วิคัยหะ
ลัทธา มุธา นิพพุติง ภุญชะมานา
อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ

ยะถินทะขีโล ปะฐะวิง สิโต สิยา
จะตุพภิ วาเตภิ อะสัมปะกัมปิโย
ตะถูปะมัง สัปปุริสัง วะทามิ
โย อะริยะสัจจานิ อะเวจจะ ปัสสะติ
อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ

เย อะริยะสัจจานิ วิภาวะยันติ
คัมภีระปัญเญนะ สุเทสิตานิ
กิญจาปิ เต โหนติ ภุสัปปะมัตตา
นะ เต ภะวัง อัฏฐะมะมาทิยันติ
อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ

สะหาวัสสะ ทัสสะนะสัมปะทายะ
ตะยัสสุ ธัมมา ชะหิตา ภะวันติ
สักกายะทิฏฐิ วิจิกิจฉิตัญจะ
สีลัพพะตัง วาปิ ยะทัตถิ กิญจิ
จะตูหะปาเยหิ จะ วิปปะมุตโต
ฉะ จาภิฐานานิ อะภัพโพ กาตุง
อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ

กิญจาปิ โส กัมมัง กะโรติ ปาปะกัง
กาเยนะ วาจายุทะ เจตะสา วา
อะภัพโพ โส ตัสสะ ปะฏิจฉะทายะ
อะภัพพะตา ทิฏฐะปะทัสสะ วุตตา
อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ

วะนัปปะคุมเพ ยะถา ผุสสิตัคเค
คิมหานะมาเส ปะฐะมัสะมิง๑ คิมเห
ตะถูปะมัง ธัมมะวะรัง อะเทสะยิ
นิพพานะคามิง ปะระมัง หิตายะ
อิทัมปิ พุทเธ ระตะนัง ปะณีตัง
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ

วะโร วะรัญญู วะระโท วะราหะโร
อะนุตตะโร ธัมมะวะรัง อะเทสะยิ
อิทัมปิ พุทเธ ระตะนัง ปะณีตัง
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ

ขีณัง ปุราณัง นะวัง นัตถิ สัมภะวัง
วิรัตตะจิตตายะติเก ภะวัสะมิง๒
เต ขีณะพีชา อะวิรุฬหิฉันทา
นิพพันติ ธีรา ยะถายัมปะทีโป
อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ

ยานีธะ ภูตานิ สะมาคะตานิ
ภุมมานิ วา ยานิวะ อันตะลิกเข
ตะถาคะตัง เทวะมะนุสสะปูชิตัง
พุทธัง นะมัสสามะ สุวัตถิ โหตุ ฯ

ยานีธะ ภูตานิ สะมาคะตานิ
ภุมมานิ วา ยานิวะ อันตะลิกเข
ตะถาคะตัง เทวะมะนุสสะปูชิตัง
ธัมมัง นะมัสสามะ สุวัตถิ โหตุ ฯ

ยานีธะ ภูตานิ สะมาคะตานิ
ภุมมานิ วา ยานิวะ อันตะลิกเข
ตะถาคะตัง เทวะมะนุสสะปูชิตัง
สังฆัง นะมัสสามะ สุวัตถิ โหตุ ฯ

๑ อ่านว่า ปะ - ฐะ– มัด- สะ – หมิง
๒ อ่านว่า ภะ – วัด – สะ – หมิง

 

 

 

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
Tags
  • Posted By
  • มหัทธโน
  • 4 Followers
  • Follow