Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

เทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาประเทศ โดย สํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

Posted By thaiscience | 13 มี.ค. 63
7,189 Views

  Favorite

ดร. ภาวดี อังค์วัฒนะ รองผู้อํานวยการศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ ให้บรรยายพิเศษถึงภารกิจของศูนย์เชี่ยวชาญต่าง ๆ ภายใต้สํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ได้แก่ NANOTEC, MTEC และ NECTEC สําหรับในส่วนของศูนย์ BIOTEC นั้นให้การบรรยายโดย ดร.สมวงษ์ ตระกูลรุ่ง ผู้อํานวยการศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค)

 

นาโนเทค

นาโนเทคเป็นองค์กรที่ดําเนินงานวิจัย พัฒนา ออกแบบ และวิศวกรรม และประยุกต์นาโนเทคโนโลยี เพื่อให้เกิดความเป็นเลิศและสามารถถ่ายทอดสู่การใช้ประโยชน์ให้กับภาคการผลิต โดยปัจจุบันนาโนเทคมีหน่วยวิจัย 5 หน่วยดังนี้
1) Advanced Nano Characterization and Safety Research Group
2) Nanohybrids and Coating Research Group
3) Nano Encapsulation Research Group 4) Nanocatalysis and Molecular Simulation Research Group และ  
5 ) Responsive Materials and Nanosensor Research Group

ภาพ : NANOTEC

 

การวิจัยด้านการพัฒนาวัสดุนาโนและวิศวกรรมระบบนาโน ซึ่งมุ่งพัฒนาและแบบ วัสดุ โครงสร้างและระบบ ในระดับนาโนด้วยวิธีการคํานวณทางเคมีคอมพิวเตอร์ ผ่านการสร้างแบบจําลองและการประเมินเชิงวิศวกรรม ผ่านการสร้างต้นแบบและระบบนําร่องสําหรับการประยุกต์ใช้งานในด้านพลังงาน การวิจัยด้านนาโนเพื่อชีวิตและสุขภาพ ซึ่งมุ่งวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีด้านการตรวจวินิจฉัย โดยใช้โมเลกุลเป้าหมาย การพัฒนา เทคโนโลยีระบบนําส่งยาชนิดใหม่และเวชสําอางจากการใช้ประโยชน์ด้วยสารจากธรรมชาติและสมุนไพรไทย การวิจัยด้านมาตรวิทยานาโนวิเคราะห์และวิศวกรรม ซึ่งมุ่งวิจัยและพัฒนาทางด้านมาตรวิทยา และความปลอดภัยทางด้านนาโนเทคโนโลยี
 

เอ็มเทค

ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ หรือ เอ็มเทค เป็นหน่วยงานที่พัฒนาและสร้างขีดความสามารถทางด้านเทคโนโลยีวัสดุให้แก่ภาครัฐและภาคเอกชน โดยดําเนินการวิจัย พัฒนาและวิศวกรรม การถ่ายทอดเทคโนโลยี การพัฒนากําลังคน รวมถึงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคธุรกิจอุตสาหกรรม และพัฒนาคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของคนในประเทศ
ปัจจุบันกลุ่มวิจัยของเอ็มเทคสามารถแบ่งได้เป็น 7 กลุ่มดังนี้ กลุ่มวิจัยการออกแบบวิศวกรรมและการผลิตขั้นสูง กลุ่มวิจัยโลหะและกระบวนการผลิต กลุ่มวิจัยด้านสิ่งแวดล้อม กลุ่มวิจัยเซรามิกส์และวัสดุก่อสร้าง กลุ่มวิจัยเทคโนโลยีโพลิเมอร์ขั้นสูง กลุ่มวิจัยวัสดุและอุปกรณ์เฉพาะทางชีวภาพกลุ่มวิจัยวัสดุสําหรับพลังงาน และกลุ่มวิจัยนวัตกรรมการแปรรูปยาง โดยประเภทของวัสดุที่ทางเอ็มเทคให้ความสําคัญอย่างสูงในการวิจัยมี 4 ชนิด คือ โลหะ โพลิเมอร์ ยาง และเซรามิกส์

 

ตัวอย่างผลงานของเอ็มเทค: วัสดุชนิดแข็งพิเศษจากยางธรรมชาติสําหรับงานปูพื้นเพื่อการตกแต่งบ้านและสวน เครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าชนิดอัตโนมัติ น้ำยาง ParaFIT เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตหมอนและที่นอน แอพพลิเคชั่นบนมือถือที่มุ่งเน้นตรวจสอบปริมาณของขยะอาหารและบรรจุภัณฑ์อาหารจากการบริโภคในชีวิต ประจําวัน และวัสดุก่อสร้างจีโอโพลิเมอร์ที่ผลิตจากวัสดุเหลือทิ้งอุตสาหกรรมเพื่อใช้เป็นวัสดุทดแทนเซรามิกส์

ภาพ : MTEC

 

เนคเทค

ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ หรือ เนคเทคเป็นองค์กรวิจัยและพัฒนา เทคโนโลยีขั้นสูง เปรียบเสมือนเครื่องจักรสําคัญในการสร้างฐานรากทางเทคโนโลยีให้ประเทศรวมถึงเตรียม ความพร้อมงานวิจัยเทคโนโลยีแห่งอนาคต โดยร่วมกับพันธมิตรผลักดันให้เกิดระบบนิเวศน์ของการใช้เทคโนโลยีที่วิจัยและพัฒนาขึ้นให้เกิดประโยชน์ต่อคนหมู่มาก ที่ให้ทุกภาคส่วนสามารถเข้าถึงและใช้ ประโยชน์ได้เสมือนกับการเป็นสาธารณูปโภคที่ส่งให้ประชาชนทุกคนในบ้าน

 

ปัจจุบันเนคเทคให้ความสนใจในงานวิจัย 3 สาขา ต่อไปนี้ ระบบเซ็นเซอร์อิเล็กทรอนิกส์ขั้นสูง ระบบและเครือข่ายอัจฉริยะ และปัญญาประดิษฐ์และวิทยาการคํานวณ โดยมุ่งนําผลงานวิจัยไปต่อยอดและประยุกต์ใช้ในงานทั้ง 8 ด้าน (TOPs : Target Output Profiles) ได้แก่ ด้านบูรณาการข้อมูลประชากร อุตสาหกรรมอัจฉริยะ เซนเซอร์คุณภาพสูง การศึกษาอัจฉริยะ เกษตรแม่นยํา ปัญญาประดิษฐ์สัญชาติไทย ไอทีเพื่อสุขภาพ และ เมืองอัจฉริยะ  
 
ตัวอย่างผลงานของเนคเทค: โปรแกรมวัดขนาด อาหารเม็ดสัตว์น้ำ แพลตฟอร์มระบบบริการถ่ายทอด การสื่อสารสําหรับคนพิการทางการได้ยินและคนพิการ ทางการพูด เครื่องอ่านปริมาณสารเคมีในน้ำแบบอัจฉริยะ ระบบถอดความเสียงพูดเป็นตัวอักษรแบบทันเวลา และระบบอัจฉริยะเพื่อเฝ้าระวังและติดตามการเพิ่มจํานวนของเชื้อแบคทีเรีย เป็นต้น

ภาพ : NECTEC


ไบโอเทค

ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ หรือ ไบโอเทค เป็นหน่วยงานที่ทําหน้าที่วิจัยและพัฒนาสร้างความสามารถด้านเทคโนโลยีชีวภาพของประเทศ สร้างองค์ความรู้สู่ความเป็นเลิศทางวิชาการ (excellence) และส่งเสริมต่อยอดสู่การใช้ประโยชน์ จากผลงานวิจัย ตอบโจทย์ของสังคมและนโยบายประเทศเพื่อให้เกิดผลกระทบสูงสุด

 

ขอบเขตงานวิจัยของไบโอเทค ณ ปัจจุบัน จะเน้นใน 9 เทคโนโลยีหลักดังนี้
- พันธุ์พืชออกแบบได้ เช่น สายพันธุ์ข้าวโภชนาการ ข้าวนาน้ำฝน และข้าวนาชลประทาน
- เทคโนโลยีการปลูกและการจัดการพืชสมัยใหม่ เช่น เทคโนโลยีการขยายพันธุ์พืชและเทคโนโลยี การปลูกพืชใน plant factory
- ระบบเลี้ยงสัตว์น้ําที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น ระบบเลี้ยงสัตว์น้ำแบบหมุนเวียนเชิงพาณิชย์
- ชุดตรวจสําหรับเกษตร อาหาร การแพทย์ เช่น ชุด ตรวจโรคสัตว์: กุ้ง ปลานิล และปลากะพง ชุดตรวจ โรคพืช และชุดตรวจเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรค
- อาหารฟังก์ชั่น เช่น โปรตีนฟังก์ชั่น ลิพิดฟังก์ชั่น คาร์โบไฮเดรตฟังก์ชั่น และจุลินทรีย์ฟังก์ชั่น
- กระบวนการผลิตอัจฉริยะ เช่น การเพิ่ม ประสิทธิภาพกระบวนการผลิตแป้งมันสําปะหลัง
- ต้นแบบกระบวนการและต้นแบบผลิตภัณฑ์ยาและวัคซีน เช่น ต้นแบบยาใหม่ ยาชีววัสดุใหม่ยาชีววัสดุ คล้ายคลึง และต้นแบบวัคซีนคน - การแปรรูปชีวมวล เช่น เอนไซม์ สารชีวภัณฑ์กําจัด ศัตรูพืช เซลล์ที่ทําหน้าที่พิเศษ และการจัดเก็บ รวบรวมเชื้อจุลินทรีย์ทางอุตสาหกรรม
- เทคโนโลยีฐานชีวภาพสมัยใหม่ (modern biotechnology platform) เช่น เทคโนโลยีเพื่อความเข้าใจระบบการทํางานของสิ่งมีชีวิต

ภาพ : BIOTEC

 

 

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
Tags
  • Posted By
  • thaiscience
  • 2 Followers
  • Follow