Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

EQ พัฒนาได้ เริ่มที่การเข้าใจตนเอง

Posted By witchy_fah | 09 มี.ค. 63
11,973 Views

  Favorite

EQ กับ IQ ที่หลายคนต่างพูดว่าเป็นกุญแจสู่ประสิทธิภาพที่ดีต่อการเรียนและการทำงาน และช่วยปูทางไปสู่ความสำเร็จให้แต่ละคนได้ แล้วเราจะพัฒนาEQ ได้อย่างไรบ้าง วันนี้เรามีวิธีการพัฒนา EQ มาแนะนำกัน 

shutter stock

       EQ หรือที่เรียกกันในภาษาไทยกันว่าความฉลาดทางอารมณ์ ถือเป็นสิ่งสำคัญที่ในทุกเพศทุกวัย ไม่ใช่เพียงวัยเรียนวัยศึกษา นักจิตวิทยาเคยทำการวิจัยว่า ปัจจัยที่จะทำผู้คนประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานและมีความสุขในช่วงชีวิตของพวกเขา ไม่ใช่เพียงแค่ IQ (intelligence quotient) อันปราดเปรื่องเท่านั้น แต่รวมถึง ความฉลาดทางอารมณ์ หรือ EQ ที่อาจส่งผลให้ประสบความสำเร็จมากกว่า IQ ด้วยซ้ำไป

       EQ  (emotional quotient) หรือ Emotional Intelligence คือทักษะในการทำความรู้จัก เข้าใจอารมณ์ของตนเองที่เกิดขึ้น เมื่อทำความเข้าใจและฝึกฝนที่จะจัดการและควบคุมอารมณ์ได้อย่างชาญฉลาด รู้จักสื่อสารกับผู้อื่นแม้ว่าคุณกำลังเครียดสุดขีด หรือยิ้มให้เพื่อนร่วมงานที่ทักทายคุณอย่างร่าเริงยามเช้า แม้ว่าคุณเพิ่งมีปัญหามาจากที่บ้าน แม้ว่า EQ อาจจะเป็นเรื่องที่จับต้องได้ยากแต่มันกลับแสดงออกได้ชัดผ่านพฤติกรรม การกระทำของแต่ละบุคคล ส่งผลถึงทักษะในการเข้าสังคม การรับมือกับปัญหา หรือสถานการณ์ยุ่งยากในชีวิต ซึ่งเรามีขั้นตอนง่าย ๆ ที่จะให้คุณพัฒนา EQ ของคุณให้ดียิ่งขึ้น 

1. รู้จักอารมณ์ของตัวเอง

       ลองสังเกตอารมณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อมีคนรอบข้างมาตำหนิหรือบางคนที่มาชื่นชม ความรู้สึกที่ไม่พอใจของเราที่เกิดขึ้นเป็นอย่างไร มีอาการแบบไหน เพราะอารมณ์ไม่ดีมีแค่ ดีใจ และเสียใจเท่านั้น แต่ยังมีความเศร้า เหงา น้อยใจ เจ็บปวด  เมื่อเข้าใจแล้ว เราก็จะเรียนรู้ว่าควรตอบสนองต่อคนเหล่านั้นกลับไปอย่างไรจึงจะไม่สร้างความทุกข์ให้กับตัวเองและผู้อื่นมากขึ้นไปอีก

2. รู้จุดอ่อนจุดแข็ง 

       เราควรทำความเข้าใจจุดอ่อนจุดแข็งของตัวเอง ว่าเราสิ่งใดที่มากระทบเราแล้วส่งผลต่ออารมณ์มากที่สุด เช่น คำพูด หรือสิ่งต่าง ๆ ที่ไม่เป็นดั่งหวัง ผลการสอบที่ไม่ดีตามคาด เมื่อเกิดขึ้นแล้วเรารู้สึกอย่างไร และมีแผนจัดการอารมณ์และปัญหาอย่างไร ต้องค่อย ๆ เรียนรู้ และทำความเข้าใจ 
 

3.รู้แก้ไข 

       เมื่อเข้าใจอารมณ์ตัวเองแล้ว ก็เรียนรู้ว่าเราไม่สามารถตามใจตัวเองไปได้ซะทุกอย่าง เมื่อน้อง ๆ เรียนรู้จุดอ่อนจุดแข็งของตนเองแล้ว ก็จะเริ่มเข้าใจว่า สิ่งใดกระตุ้นให้เราเครียด สิ่งใดที่จะช่วยให้เรารู้สึกดีขึ้น  เช่น ถ้าน้อง ๆ รู้ว่าถ้าแม่หรือรูมเมทจะมาบ่นเรื่องห้องรก จุดอ่อนของเราคือชอบเถียง แทนที่เราจะเถียงนำไปสู่บรรยากาศอึดอัดที่พาลให้เสียอารมณ์ ลองเปลี่ยนเป็นความนิ่งเฉย แล้วเก็บห้องให้เรียบร้อย จะเห็นได้ว่าทั้งเราและเขาไม่มีใครมีอารมณ์ขุ่นมัวเลย แถมห้องยังสะอาดขึ้นอีกด้วย 
 

4. รู้ใจเขาใจเรา

       นั่นคือการทำความเข้าใจผู้อื่น สิ่งสำคัญอีกหนึ่งอย่าง นอกจากการรู้จักตนเองแล้ว ยังต้องฝึกรับรู้ความรู้สึกของผู้อื่น ด้วย โดยลองคิดว่า หากเราลองไปเป็นเขาบ้างแล้วเราจะรู้สึกอย่างไร สังเกตึวามรู้สึก และพยายามทำความเข้าใจของเรา เพื่อเราจะได้ตอบสนองความรู้สึกเหล่านั้นได้อย่างถูกต้องสอดคล้อง 
shutter stock

     

       การเข้าถึงอารมณ์ของตนเองจะทำให้เรารู้วิธีจัดการกับความเครียดและสื่อสารกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นทักษะที่สำคัญต่อการดำรงชีวิตทั้งเรื่องส่วนตัวและการทำงาน แม้จะจับต้องไม่ได้ มองไม่เห็น แต่ความฉลาดทางอารมณ์ไม่ได้คงที่เหมือนความฉลาดทางสติปัญญา เราสามารถพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ได้ตลอดชีวิต ถ้าลองทำตามคำแนะนำด้านบนแล้ว ยังสงสัยเรื่องEQ ของตนเอง ลงเช็คตัวเองกับคำถามด้านล่างได้เลย 

 

คุณมีลักษณะตามข้อความด้านล่างนี้ใช่หรือไม่ ใช่ / คุณมีลักษณะดังกล่าว ไม่ใช่ /คุณไม่มีลักษณะดังกล่าว
1. ควบคุมอารมณ์ตนเองได้ดี    
2. จัดการกับความโกรธได้อย่างเหมาะสม    
3. จัดการกับความเศร้าโศกเสียใจได้อย่างเหมาะสม    
4. รักษาความสมดุลด้านอารมณ์ได้ ไม่เสียใจหรือดีใจมากเกินเมื่อเผชิญกับสถานการณ์ต่างๆ     
5. เมื่อเกิดอารมณ์สามารถเข้าใจและจัดการอารมณ์ต่างๆ ได้    
6. คิดในแง่บวก    
7. สามารถหาความสุขได้ด้วยตนเอง    
8. เมื่อดีใจก็แสดงออกได้อย่างเหมาะสม    
9. เมื่อเหตุการณ์ไม่เป็นไปตามที่คาดคิด สามารถบริหารจัดการอารมณ์ของตนเองได้    

 

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
Tags
  • Posted By
  • witchy_fah
  • 1 Followers
  • Follow