Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

การออกแบบห้องปลอดเชื้อ จะต้องคำนึงถึงอะไรบ้าง ​

Posted By DigitalKnowledge | 09 มี.ค. 63
2,513 Views

  Favorite

 

การออกแบบห้องปลอดเชื้อถือเป็นกระบวนการที่สำคัญและจำเป็นที่จะต้องมีการคำนวณพื้นที่และองค์ประกอบอย่างอื่นทางชีวภาพอีกมากมายเพื่อรักษาและควบคุมความสะอาดภายในห้องปลอดเชื้อ เพราะฉะนั้นแล้วการออกแบบห้องปลอดเชื้อจึงจำเป็นต้องเพิ่งบริษัทออกแบบห้องปลอดเชื้อที่มีประสบการณ์โดยเฉพาะ แล้วเราต้องรู้อะไรบ้างก่อนที่จะเลือกออกแบบห้องปลอดเชื้อ วันนี้เราก็ได้รวบรวมสิ่งที่คุณต้องรู้การออกแบบห้องปลอดเชื้อโดยทั่วไปมาฝากกันแล้ว

 

5 สิ่งที่คุณจำเป็นต้องคำนึงถึง “การออกแบบห้องปลอดเชื้อ”

การออกแบบห้องปลอดเชื้อจำเป็นต้องได้รับ มาตรฐาน ISO 14644 Cleanroom ซึ่งเป็นมาตรฐานห้องปลอดเชื้อระดับสากลที่มีชื่อเต็มว่า Cleanrooms and associated controlled environments โดยเราจะต้องคำนึงถึงสิ่งต่างๆ ดังนี้

1. พิจารณาพื้นที่จากรูปแบบอุตสาหกรรม

บางครั้งการสร้างห้องปลอดเชื้อนี้ไม่จำเป็นต้องใช้พื้นที่จำนวนมาก ซึ่งบางอุตสาหกรรมอย่างห้องตัวอย่างเก็บเชื้อไวรัสหรือห้องเก็บตัวยาจะมีการใช้พื้นที่เพียงเล็กน้อย แต่หากคุณทำอุตสาหกรรมเกี่ยวกับอิเล็กทรอนิกส์ก็จำเป็นต้องมีพื้นที่ที่ใหญ่พอสมควรในการติดตั้งเครื่องมือและวัสดุต่างๆ สำหรับการทำงานต่างๆ 

2. ประเภทของการออกแบบห้องปลอดเชื้อ

ประเภทของห้องคลีนรูมนั้นจะแบ่งแยกตามการไหลของอากาศ ที่ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญอย่างมากในการสร้างและการออกแบบห้องปลอดเชื้อให้ได้ตามที่คุณต้องการ 

  • Conventional Clean Room ที่จะมีการใช้ระบบปรับอากาศทั่วไปโดยใช้ที่กรองอากาศ HEPA filter และมีการเปลี่ยนอากาศที่มากกว่าเพื่อลดความสกปรก 

  • Horizontal Larminar Clean Room เป็นการนำลมเข้าสูงระบบกรองอากาศ HEPA filter เข้าสู่ห้องคลีน จากนั้นก็จะถูกดูดกลับไปที่เครื่องเปล่าลมอีกที 

  • Vertical Laminar Flow Clean Room อากาศจะถูกส่งผ่านเครื่องกรองอากาศ HEPA filter จากเพดานและกลับไปที่พื้นที่โปร่ง จากนั้นลมนั้นก็จะถูกดูดกลับเข้าสู่เครื่องเป่าลมเย็น 

3. ระดับความสะอาดภายในห้อง

คุณจะเป็นต้องคำนึงถึงการควบคุมความสะอาดภายใน โดยแต่ละอุตสาหกรรมก็มีการรักษาความสะอาดที่แตกต่างกัน แน่นอนว่าการควบคุมระดับความสะอาดภายในห้องปลอดเชื้อจะขึ้นอยู่กับงบประมาณอีกด้วย

  • ระดับ 1 : ขนาดอนุภาคฝุ่นละอองที่มีขนาด 0.5 ไมครอนหรือใหญ่กว่า ไม่เกิน 1 อนุภาคต่ออากาศหนึ่งลูกบาศก์ฟุต

  • ระดับ 10 : ขนาดอนุภาคของฝุ่นละอองที่มีขนาด 0.5 ไมครอนหรือใหญ่กว่า ไม่เกิน 10 อนุภาคต่ออากาศหนึ่งลูกบาศก์ฟุต

  • ระดับ 100 : ขนาดอนุภาคของฝุ่นละอองที่มีขนาด 0.5 ไมครอนหรือใหญ่กว่า ไม่เกิน 100 อนุภาคต่ออากาศหนึ่งลูกบาศก์ฟุต

  • ระดับ 1,000 : ขนาดอนุภาคของฝุ่นละอองที่มีขนาด 0.5 ไมครอนหรือใหญ่กว่า ไม่เกิน 1,000 อนุภาคต่ออากาศหนึ่งลูกบาศก์ฟุต

  • ระดับ 10,000 : ขนาดอนุภาคของฝุ่นละอองที่มีขนาด 0.5 ไมครอนหรือใหญ่กว่า ไม่เกิน 10,000 อนุภาคต่ออากาศหนึ่งลูกบาศก์ฟุต

  • ระดับ 100,000 : ขนาดอนุภาคของฝุ่นละอองที่มีขนาด 0.5 ไมครอนหรือใหญ่กว่า ไม่เกิน 100,000 อนุภาคต่ออากาศหนึ่งลูกบาศก์ฟุต

4. รูปแบบความดันของห้องคลีนรูม

สิ่งที่จำเป็นและไม่ควรหลงลืมคือการคำนึงถึงรูปแบบของห้องคลีนรูมที่สามารถแบ่งออกได้ 2 รูปแบบด้วยกันคือ ความดันแบบบวก (Possitive pressure) และ ความดันแบบลบ (Negative pressure) 

  • ความดันแบบบวก (Possitive pressure) คือการควบคุมความดันภายในห้องให้สูงกว่าภายนอกห้อง เพื่อเป็นการไม่ให้อากาศภายนอกที่มีสิ่งสกปรกอยู่ไหลเข้ามาได้

  • ความดันแบบลบ (Negative pressure) คือการความดันภายในห้องให้ต่ำกว่าภายนอก ซึ่งจะเป็นการป้องกันไม่ให้อากาศด้านในไหลออกข้างนอกมักใช้กับห้องทดลองอันตรายอื่นๆ 

5. การควบคุมอุณหภูมิ, ความชื้น, แสงสว่างและเสียงรบกวน 

การออกแบบห้องปลอดเชื้อในบางอุตสาหกรรมเช่น ห้องแล็บหรือห้องตรวจสอบชีววิทยาอื่นๆนั้นจำเป็นต้องมีการควบคุมเรื่องทั้ง 4 นี้ให้เป็นอย่างดีโดยเฉพาะเรื่องความชื้นและเสียงรบกวนระหว่างการดำเนินการ ส่วนห้องเก็บยาหรือห้องเก็บตัวอย่างเชื้อไวรัสอื่นๆ จำเป็นต้องคำนึงถึงอุณหภูมิ, แสงสว่างและการรักษาความชื้นให้เป็นอย่างดี ซึ่งการออกแบบแต่ละอุตสาหกรรมก็มีความแตกต่างระหว่างอุณหภูมิ, ความชื้น, แสงสว่างและเสียงรบกวนอย่างสิ้นเชิง 



 

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
Tags
  • Posted By
  • DigitalKnowledge
  • 0 Followers
  • Follow