ชื่อผลงาน / พฤติกรรมเด่น Phonics Flipbook นวัตกรรมเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านสะกด
ชื่อ – สกุล นางสาว วารุณี ทิพยะ
โรงเรียน วัดศรีโลหะราษฎร์บำรุง สังกัด สพป. กาญจนบุรี เขต 1
ที่อยู่ เลขที่ 86 หมู่ 1 ตำบลท่าม่วง อำเภอท่าม่วง
จังหวัดกาญจนบุรี
หมายเลขโทรศัพท์ที่ติดต่อได้สะดวก 084 – 7042808
อุดมคติในการทำงาน จิตวิญญาณความเป็นครู รอบรู้ แบ่งปัน สร้างสรรค์ เอื้ออาทร
การเป็นครูว่ายากแล้ว แต่การเป็นครูที่ดียากยิ่งกว่า ข้าพเจ้าตระหนักว่า สังคมส่วนใหญ่คาดหวังให้ครูเป็นแบบอย่างที่ดีของศิษย์ อันจะเติบโตไปเป็นสมาชิกที่ดีมีคุณภาพของสังคมต่อไป ฉะนั้น ผู้ประกอบวิชาชีพครูจึงต้องเป็นแบบอย่างที่ดีแก่นักเรียนรอบด้าน ได้แก่ กาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา จึงจะถือได้ว่าเป็นผู้ที่ควรค่าแก่การเป็น “แม่พิมพ์ของชาติ” ทั้งนี้ ต้องสามารถครองตนให้อยู่ในกรอบของความถูกต้อง มีน้ำใจกับผู้อื่น และปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยหลักในการครองตน ครองคน ครองงาน ของข้าพเจ้า มีดังนี้
การครองตน ข้าพเจ้าประพฤติและปฏิบัติตนโดยยึดหลักคุณธรรมเป็นที่ตั้ง ข้าพเจ้าพึ่งพาตนเอง อดทนไม่ยอท้อตอปญหาอุปสรรคและความยากลำบาก ข้าพเจ้าหารายได้ด้วยตนเองมาตั้งแต่เรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ด้วยการรับจ้างทำไร่พริก เมื่อจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ก็รับพิมพ์งานจากครูอาจารย์หรือรุ่นพี่ เมื่อจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ข้าพเจ้าทำงานหลายอย่างเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการเรียนต่อระดับมหาวิทยาลัย เช่น พนักงานเสิร์ฟร้านอาหาร ร้านกาแฟ เซเว่นอีเลเว่น เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อไม่ให้เป็นการรบกวนผู้ปกครอง เพราะพ่อและแม่ของข้าพเจ้ามีโรคประจำตัว ข้าพเจ้าจึงไม่อยากให้ทำงานหนัก ข้าพเจ้าขยันหมั่นเพียรและมีความรับผิดชอบ ตั้งใจทำงานในหน้าที่ของตนทั้งเรื่องเรียนและเรื่องงานให้ประสบความสำเร็จ จนได้รับเกียรตินิยมอันดับ 1 ลำดับที่ 1 ผลการเรียนเฉลี่ย 3.98 ข้าพเจ้ารู้จักประหยัดและอดออม ใช้จ่ายอย่างประหยัด และไม่ฟุ่มเฟือย ทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายทุกเดือน ข้าพเจ้าเป็นสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์ครูและได้ออมเงินผ่านบัญชีออมทรัพย์ทุกเดือน ข้าพเจ้าไม่ยุ่งเกี่ยวกับอบายมุขทุกประเภท ทั้งนี้ ข้าพเจ้าได้รับรางวัล “ครูดี ไม่มีอบายมุข” เนื่องในวันครูแห่งชาติ พุทธศักราช 2562 ให้ไว้ ณ วันที่ 16 มกราคม 2562 ข้าพเจ้าหมั่นศึกษาหาความรู้เพื่อให้มีความรู้ในรายวิชาที่สอนอย่างแท้จริง ทั้งด้านงานสอน งานวิจัย และสื่อเทคโนโลยีต่าง ๆ อยู่เสมอ ข้าพเจ้าได้ช่วยเหลือและเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ของชุมชนอย่างต่อเนื่อง ข้าพเจ้าเคารพกฎหมายและระบบอประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ทั้งนี้ ข้าพเจ้าได้ทำหน้าที่เป็นกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง (กปน.) ในเขตอำเภอท่าม่วงอีกด้วย
การครองคน สิ่งสำคัญที่ข้าพเจ้าได้ยึดถือปฏิบัติในการทำงานร่วมกับผู้อื่นในสังคม คือ ความเป็นผู้นำ ความสามัคคี ระเบียบวินัย ความพอเพียง และการละเว้นอบายมุข ความเป็นผู้นำของข้าพเจ้าไม่ใช่ความสามารถในการสั่งการหรือการออกคำสั่ง แต่เป็นการแสดงออกถึงความมุ่งมั่นในการทำงาน สามารถเป็นแบบอย่างที่ดีในการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพให้แก่ผู้อื่นได้ ข้าพเจ้ามีความรับผิดชอบ มีส่วนร่วมกับงานทุกงานในโรงเรียน ข้าพเจ้าไม่กลัวปัญหาแต่จะเผชิญกับปัญหาและแก้ปัญหานั้นอย่างมีสติและใช้ปัญญา ข้าพเจ้ารักษาความสามัคคี และมีน้ำใจต่อเพื่อนร่วมงาน โรงเรียนและชุมชนอยู่เสมอ ข้าพเจ้าเข้าร่วมกิจกรรมและให้ความช่วยเหลืองานของครูท่านอื่นโดยตลอด ข้าพเจ้าได้ให้ความช่วยเหลือ ให้คำปรึกษา และคำแนะนำแก่เพื่อนครูอย่างกัลยาณมิตรทุกครั้งที่มีโอกาสทั้งในโรงเรียนและนอกโรงเรียนด้วยความเต็มใจ ข้าพเจ้าเข้าร่วมประชุมครูทุกครั้งไม่เคยขาด เว้นแต่ไปราชการ อีกทั้งได้เข้าร่วมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ประจำกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาอังกฤษทุกครั้ง เป็นเวลาไม่ต่ำกว่า 50 ชั่วโมงต่อปีการศึกษา ข้าพเจ้าเป็นสมาชิก ช.พ.ค. ทั้งนี้ได้ให้ความช่วยเหลือและสงเคราะห์เพื่อนครูในการจัดงานศพและสงเคราะห์ครอบครัวของสมาชิก โดยหักจากเงินเดือนเป็นประจำทุกเดือน หากเพื่อนครูท่านใดประสบอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วย ข้าพเจ้าได้ไปเยี่ยมเยียนและให้กำลังใจที่บ้านหรือที่โรงพยาบาลอยู่เสมอ ข้าพเจ้าให้เกียรติและปฏิบัติตนต่อเพื่อนร่วมงานอย่างเสมอภาค ใช้วาจาสุภาพและเหมาะสม ข้าพเจ้าเข้าร่วมกิจกรรมและงานสำคัญต่าง ๆ ของเพื่อนร่วมงานอยู่เสมอ เช่น การมอบของขวัญและร่วมแสดงความยินดีกับครูที่เกษียณอายุราชการ การมอบของขวัญเพื่อแสดงความยินดีกับเพื่อนครูในการรับพระราชทานปริญญาบัตร การมอบของขวัญและอวยพรวันเกิด การร่วมกิจกรรมเลี้ยงต้อนรับครูใหม่และอำลาครูย้าย เป็นต้น
การครองงาน ข้าพเจ้าสำรวมและระวังความประพฤติของตนให้อยู่ในระเบียบของทางราชการอยู่เสมอ โดยรักษาวินัยของราชการอย่างเคร่งครัด ข้าพเจ้าปฏิบัติตามคำสั่งที่ผู้บังคับบัญชามอบหมายอย่างเต็มและรับผิดชอบงานของตนอย่างสุดความสามารถ ข้าพเจ้าปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต ไม่ทุจริตงานราชการ ข้าพเจ้าอุทิศเวลาให้ราชการเต็มที่ ไม่เคยนำเวลาราชการไปหาผลประโยชน์ส่วนตน ข้าพเจ้าไม่เคยประพฤติชั่วอันทำให้ราชการเสื่อมเสียแม้สักครั้ง ข้าพเจ้าไม่เคยมาทำงานสาย โดยมาถึงโรงเรียนเวลาประมาณ 06.30 ไม่เคยเกิน 07.15 น. ข้าพเจ้าไม่เคยลาไม่ว่ากรณีใด ๆ และไม่เคยขาดงาน ข้าพเจ้าเข้าสอนตรงเวลาและปล่อยนักเรียนตรงเวลา ไม่เคยให้ผู้ใดสอนแทนเว้นแต่วันไปราชการ ข้าพเจ้าวางแผนพัฒนาตนเองอยู่เสมอ โดยเข้ารับการอบรม สัมมนา และศึกษาดูงานเป็นประจำทุกปีการศึกษา แล้วนำความรู้ที่ได้มาพัฒนาการเรียนการสอน พัฒนาผู้เรียนจนเป็นที่ยอมรับ
ประเด็นปัญหา/ เป้าหมายที่กำหนดไว้
จากการสำรวจสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นในรายวิชาภาษาอังกฤษชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดศรีโลหะราษฎร์บำรุง พบว่าปัญหาสำคัญที่เกิดขึ้นบ่อยและเป็นพื้นฐานอันนำไปสู่การพัฒนาทักษะทางภาษาอังกฤษด้านต่าง ๆ คือ นักเรียนไม่สามารถอ่านและสะกดคำภาษาอังกฤษได้ สังเกตได้ว่านักเรียนส่วนใหญ่เขียนภาษาไทยกำกับไว้ใต้คำ ดังนั้น เมื่อนักเรียนอ่านคำใด ๆ จึงมักอ่านภาษาไทยแทนภาษาอังกฤษ ส่งผลให้นักเรียนไม่สามารถอ่านคำนั้นด้วยตนเองได้จริง ในทางกลับกัน นักเรียนที่อ่านคำได้อย่างถูกต้องด้วยความเข้าใจ จะสามารถสะกดคำเป็น ซึ่งนำไปสู่การอ่านและเขียนคำได้ตามลำดับ ดังนั้นการสะกดคำจึงเป็นพื้นฐานสำคัญและมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้สอนจะต้องวางพื้นฐานการสะกดคำให้นักเรียนเข้าใจโดยแท้จริง รวมถึงสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างถูกต้อง สำหรับนักเรียนที่ไม่สามารถสะกดคำภาษาอังกฤษได้นั้นมีผลทำให้ทักษะการเรียนภาษาอังกฤษด้านอื่น ๆ ไม่บรรลุวัตถุประสงค์ทางการศึกษาของโรงเรียนด้วยเช่นกัน ซึ่งแสดงให้เห็นจากผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2557 – 2559 ของโรงเรียนวัดศรีโลหะราษฎร์บำรุง พบว่า ผลการทดสอบในรายวิชาภาษาอังกฤษอยู่ในระดับต่ำกว่าระดับประเทศ คือ 31.78, 34.64 และ 29.45 ในปีการศึกษา 2557, 2558 และ 2559 ตามลำดับ โดยเป้าหมายที่กำหนดไว้ในการแก้ปัญหาในครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สามารถอ่านและสะกดคำภาษาอังกฤษได้ และนักเรียนมีความพึงพอใจต่อการใช้นวัตกรรม Phonics Flipbook เพื่อเพิ่มทักษะการอ่านสะกดคำ
วิธีการ/ ขั้นตอนการดำเนินงาน/ กระบวนการทำงาน
การปฏิบัติสู่นวัตกรรม
ชุดที่ 1 คือ พยัญชนะ / พยัญชนะผสม ชุดที่ 2 คือ สระ / สระผสม (เสียงสั้น / เสียงยาว)
ชุดที่ 3 คือ ตัวสะกด ชุดที่ 4 คือ พยางค์ที่ทำให้คำเปลี่ยนความหมายเปลี่ยน
นำใช้ในการฝึกอ่านสะกดคำ โดยนักเรียนสามารถสลับ (flip) แผ่นกระดาษที่ประกอบไปด้วยตัวอักษรที่สามารถสร้างคำได้ตามต้องการ ซึ่งเมื่อเปลี่ยนตัวอักษรในแต่ละตำแหน่ง คำที่ได้ก็จะเปลี่ยนรูปเสียงและการสะกดรวมทั้งความหมายด้วยเช่นกัน
การดำเนินงาน
ตัวแปรตาม คือ ทักษะการอ่านสะกดคำ
หน่วยที่ 1 คำที่ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะเดี่ยว b, d, g, p และ s ลงท้ายด้วยพยัญชนะเดี่ยว b, d, m, n และ t โดยมี a, e, i, o และ u เป็นสระ
หน่วยที่ 2 คำที่ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะผสม bl, cl, gl, pl และ dr และลงท้ายด้วย ck, nk, ss, st และ sm โดยมี a, e, i, o และ u เป็นสระ
หน่วยที่ 3 นำตัวอักษร 3 ชุดจากหน่วย 1 สร้างคำแล้วเติมคำลงท้ายด้วย ic, ing, ed, en และ er
หลักการดำเนินงาน
ผู้สอนได้นำวงจรคุณภาพ PDCA มาใช้เพื่อเป็นหลักในการดำเนินงาน ดังแสดงด้านล่างนี้
![]() |
วิธีดำเนินกิจกรรม
ผู้สอนได้ดำเนินกิจกรรมตามตารางด้านล่างนี้
วันที่ปฏิบัติกิจกรรม |
PDCA |
รายการปฏิบัติ |
เอกสาร / หลักฐาน |
21 ก.ค. 60 |
Check |
|
|
28 ก.ค. 60 |
Act |
|
|
4 ส.ค. 60 |
Plan |
|
|
11 ส.ค. 60 |
Do |
สร้างนวัตกรรมเพื่อนำไปใช้แก้ปัญหา |
|
14 ส.ค. 60 |
ทดสอบหน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ก่อนใช้นวัตกรรม |
|
|
15-17 ส.ค. 60 |
Do |
|
|
Check |
สังเกตข้อดี ข้อเสีย อุปสรรคของการใช้นวัตกรรม |
||
18 ส.ค. 60 |
Act |
อภิปรายเกี่ยวกับปัญหาและอุปสรรคร่วมกับกลุ่มฯ |
|
19–20 ส.ค. 60 |
Plan |
วางแผนปรับปรุงนวัตกรรม |
|
Do |
ปรับปรุงนวัตกรรม |
||
21–24 ส.ค. 60 |
Do |
นำนวัตกรรมไปใช้ในกระบวนการเรียนการสอน |
|
Check |
สังเกตข้อดี ข้อเสีย อุปสรรคของการใช้นวัตกรรม |
||
25 ส.ค. 60 |
Check |
ทดสอบหลังเรียนหน่วยการเรียนรู้ที่ 1 |
|
Act |
อภิปรายเกี่ยวกับปัญหาและอุปสรรค |
||
26–27 ส.ค. 60 |
Plan |
วางแผนปรับปรุงนวัตกรรม |
|
Do |
ปรับปรุงนวัตกรรมให้เหมาะสมกับหน่วยการเรียนรู้ที่ 2 |
||
28 ส.ค. 60 |
Do |
ทดสอบหน่วยการเรียนรู้ที่ 2 ก่อนใช้นวัตกรรม |
|
29–30 ส.ค. 60 |
นำนวัตกรรมไปใช้ในกระบวนการเรียนการสอน |
|
|
1 ก.ย. 60 |
Check |
|
|
Act |
|
||
2-3 ส.ค. 60 |
Plan |
|
|
Do |
|
||
4 ส.ค. 60 |
Do |
ทดสอบหน่วยการเรียนรู้ที่ 3 ก่อนใช้นวัตกรรม |
|
5–7 ส.ค.60 |
Do |
นำนวัตกรรมไปใช้ในกระบวนการเรียนการสอน |
|
8 ส.ค. 60 |
Check |
|
|
Act |
|
||
Act |
เปรียบเทียบผลทดสอบก่อนและหลังการใช้นวัตกรรม |
|
|
12 ส.ค. 60 |
Act |
|
|
15 ส.ค. 60 |
Act |
สรุปสะท้อนผลการปฏิบัติ แลกเปลี่ยนเสนอแนะร่วมกับกลุ่ม |
|
ผลการดำเนินงาน/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง
ทักษะการอ่านสะกดคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดศรีโลหะราษฎร์บำรุง ปีการศึกษา 2560 หลังการพัฒนามากกว่าก่อนการพัฒนา ดังแสดงในแผนภูมิด้านล่างนี้
แผนภูมิเปรียบเทียบผลทดสอบการอ่านสะกดคำของนักเรียนก่อนและหลังการใช้นวัตกรรม
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดศรีโลหะราษฎร์บำรุง ปีการศึกษา 2560 มีความพึงพอใจต่อการใช้นวัตกรรม Phonics Flipbook เพื่อเพิ่มทักษะการอ่านสะกดคำในระดับมากที่สุด
ผลงานดีเด่นที่เป็นที่ประจักษ์ในการแก้ปัญหาและพัฒนานักเรียนให้มีผลสัมฤทธิ์สูงขึ้น
จากการนำนวัตกรรม Phonics Flipbook และรูปแบบการสอนโฟนิกส์ไปใช้จัดกระบวนการเรียนการสอนภาษาอังกฤษมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปีการศึกษา 2560 ถึง ปีการศึกษา 2562 ส่งผลให้ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-Net) กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในปีการศึกษา 2560 และปีการศึกษา 2561 มีค่าเฉลี่ยสูงขึ้นร้อยละ 7.81 และร้อยละ 10.75 ตามลำดับ ทั้งนี้มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าระดับประเทศ ร้อยละ 0.29 และร้อยละ 7.96 ตามลำดับ
ผลสำเร็จที่เกิดจากการปฏิบัติงานต่อ นักเรียน / ครู / ผู้ที่เกี่ยวข้อง
ผลสำเร็จต่อนักเรียน
ข้าพเจ้าได้นำนวัตกรรมและเทคนิคการสอนนี้ไปใช้กับนักเรียนทุกระดับชั้นที่ข้าพเจ้าสอน ร่วมถึงนำไปใช้ในกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ภาษาอังกฤษ กิจกรรมชุมนุมภาษาอังกฤษ และกิจกรรมภาษาอังกฤษหน้าเสาธง ทั้งนี้ได้แนะนำนำนวัตกรรมและเทคนิคการสอนนี้ให้แก่ครูท่านอื่น ๆ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในรายวิชาการสอนของตนได้ เช่น รายวิชาภาษาไทย รายวิชาคณิตศาสตร์ เป็นต้น
ผลสำเร็จต่อครู
ข้าพเจ้าได้นำเทคนิคการสอนและนวัตกรรมนี้ไปเผยแพร่และแบ่งปันต่อครูผู้สอนภาษาอังกฤษในจังหวัดกาญจนบุรีในงานการประกวดผลงานชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพสู่ผลการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) ปีการศึกษา 2560 ประเภทนวัตกรรมการพัฒนานักเรียน ทั้งนี้ ข้าพเจ้าได้รับรางวัลเหรียญทองรองชนะเลิศ อันดับ 1 การประกวดผลงานชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพสู่ผลการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) ปีการศึกษา 2560 ประเภทนวัตกรรมการพัฒนานักเรียน รางวัลคุณภาพดีเยี่ยม ในงานดังกล่าวอีกด้วย
ผลสำเร็จต่อผู้ที่เกี่ยวข้อง
สืบเนื่องจากข้าพเจ้าได้เข้าร่วมการอบรมโครงการพัฒนาครูแกนนำด้านการเรียนการสอนภาษาอังกฤษระดับภูมิภาค (Boot Camp) ระหว่างวันที่ 26 มิถุนายน ถึงวันที่ 14 กรกฎาคม 2560 ณ โรงเรียนกาญจนานุเคราะห์ จังหวัดกาญจนบุรีนั้น บริติช เคาซิล (ประเทศไทย) ผู้ดูแลการอบรมดังกล่าวร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการได้คัดเลือกให้ข้าพเจ้าสาธิตการสอนในห้องเรียน เพื่อใช้เป็นสื่อวิดีโอประกอบการอบรมในปีงบประมาณ 2561ผู้สอนได้นำนวัตกรรม Phonics Flipbook นี้มาใช้ในการเรียนการสอน ณ ขณะที่มีการถ่ายทำ เพื่อเป็นการเผยแพร่นวัตกรรมที่ใช้ได้ผลจริงกับผู้เรียน คณะผู้ถ่ายทำได้สัมภาษณ์เกี่ยวกับกระบวนการจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียน ผู้สอนได้นำเสนอเทคนิคต่าง ๆ รวมถึงการนำนวัตกรรมชิ้นนี้ไปใช้ในชั้นเรียนด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ British Council ได้นำวิดีโอการสอนดังกล่าว ไปเผยแพร่ในเว็บไซต์ขององค์กร เพื่อเป็นแนวทางในการออกแบบนวัตกรรมและกระบวนการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษแก่ครูผู้สอนภาษาอังกฤษทั่วโลก
![]() |
|||
![]() |
|||
ผลแห่งการพัฒนาการเรียนการสอนทำให้เกิดนวัตกรรม Phonics Flipbook ซึ่งทำให้ข้าพเจ้ามีเทคนิคและวิธีการสอนที่มีประสิทธิภาพ จนทำให้ได้รับรางวัลเหรียญทองรองชนะเลิศ อันดับ 1 การประกวดผลงานชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพสู่ผลการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) ปีการศึกษา 2560 ประเภทนวัตกรรมการพัฒนานักเรียน รางวัลคุณภาพดีเยี่ยม ทั้งนี้ ได้เผยแพร่ผลงานเพื่อเป็นแนวทางในการออกแบบนวัตกรรมและกระบวนการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษแก่ครูผู้สอนภาษาอังกฤษทั้งในจังหวัดกาญจนบุรี ทั่วประเทศไทยและทั่วโลกผ่านทางเว็บไซต์บริติช เคาซิล ประเทศไทย
การสอนแบบโฟนิคส์จะมีประสิทธิภาพมากขึ้นเมื่อนำไปสอนนักเรียนกลุ่มเล็กหรือรายบุคคล ทั้งนี้ควรเริ่มสอนตั้งแต่ระดับปฐมวัย และผู้สอนควรใช้เวลานอกชั้นเรียนเพื่อฝึกฝนนักเรียนเพิ่มเติม นวัตกรรม Phonics Flipbook เพื่อเพิ่มทักษะการอ่านสะกด การเตรียมนวัตกรรมต้องใช้ระยะเวลา ดังนั้นผู้สอนจำเป็นต้องวางแผนตามขั้นตอน PDCA ให้ดีเพื่อไม่ให้กระบวนการดำเนินงานติดขัด ทั้งนี้ สามารถใช้นวัตกรรมนี้ต่อยอดไปสู่การพัฒนาทักษะการอ่านเพื่อทำความเข้าใจ ทักษะการเขียนสะกดคำและการเขียนประโยคต่อไป