คุณเคยสงสัยไหมว่าทำไมประเทศสิงคโปร์ถึงประสบความสำเร็จ และประชากรในประเทศถึงมีคุณภาพ ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นจากทางประเทศสิงคโปร์ได้วางรากฐานทางการศึกษาและให้ความสำคัญกับวิชาคณิตศาสตร์อย่างมาก จึงมีการพัฒนาหลักสูตร มาดูกันว่าคณิตศาสตร์แบบฉบับสิงคโปร์เป็นอย่างไร
ที่มาและการพัฒนาหลักสูตรคณิตศาสตร์สิงคโปร์
ประเทศสิงคโปร์เป็นประเทศผู้นำในกลุ่มประเทศตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งมีทรัพยากรทางธรรมชาติจำกัด แต่ถึงอย่างไรนั้นทรัพยากรที่มีค่ามากที่สุดของประเทศก็คือมนุษย์ ดังนั้นประเทศสิงคโปร์จึงให้ความสำคัญมากในการพัฒนาตัวบุคคล จึงทำให้การศึกษาของประเทศนี้ได้รับการยอมรับจากทั่วโลก
คณิตศาสตร์สิงคโปร์เกิดจากการรวบรวมผลการวิจัยต่างๆ โดยหนึ่งในนั้นมาจากหนังสือชื่อ The Process of Education โดย Jerome Bruner ซึ่งเขียนขึ้นในปี 1960 ใจความสำคัญกล่าวไว้ว่าลำดับการเรียนรู้มีทั้งหมด 3 ขั้นตอน คือ concrete หรือรูปธรรม pictorial หรือการแปลงเป็นรูปภาพ และ abstract หรือนามธรรม อีกหนึ่งงานวิจัยมาจาก Richard Skemp ในปี 1976 ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างของการเรียนแบบเน้นความเข้าใจและไปประยุกต์สำคัญกว่าการเรียนรู้กฏวิธีการนำไปใช้ หรือง่ายๆคือการเรียนคณิตศาสตร์แบบเข้าใจเหตุผลมากกว่าหลักการ และ Zoltan Dienes ผู้คิดค้น base ten blocks (ตัวต่อเลขฐานสิบ) และเป็นผู้จูงใจในการสอนคณิตศาสตร์ให้เห็นถึงคอนเซ็ปของการเรียนรู้ที่มีหลายรูปแบบเพื่อสร้างความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง
ในงานวิจัยของโครงการ International Mathematics and Science Study (TIMSS) สิงคโปร์ถูกจัดอยู่ในอันดับสูงสุดสองอันดับแรกของโลกอย่างต่อเนื่อง ซึ่งความสำเร็จนี้เป็นผลมาจากหลักสูตรการเรียนการสอน รวมถึงหลักการในการจัดการศึกษาวิชาคณิตศาสตร์ระดับชั้นประถมศึกษาที่มีประสิทธิภาพและเข้าถึงทรัพยากรที่ได้รับการอนุมัติจากกระทรวงศึกษาธิการ
ในปี 1982 โดย Curriculum Development Institute of Singapore (CDIS) หรือปัจจุบันคือ Curriculum Planning and Development Division ได้ออกชุดแบบเรียน ‘Primary Mathematics’ โดยเป็นหลักสูตรสำหรับอนุบาลจนถึงประถมศึกษาปีที่ 6 และในปี 1992 ได้มีการปรับปรุงโดยเน้นการแก้โจทย์ปัญหา
กระบวนการสอนแบบ CPA หรือแนวคิดแบบ 3-steps
คณิตศาสตร์สิงคโปร์มีเทคนิคแนวคิดแบบ 3-steps คือ concrete pictorial และ abstract หรือเข้าใจง่ายๆคือ รูปธรรม รูปภาพ และนามธรรม
Concrete หรือรูปธรรมคือการเรียนรู้จากสิ่งของที่จับต้องได้ อาจจะเป็นของใกล้ตัวที่ใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น นิ้วมือ เลโก้ เหรียญต่างๆ หรือแม้กระทั่งพิซซ่า
รูปภาพ : Concrete หรือรูปธรรม
Pictorial หรือการแปลงเป็นรูปภาพ จากรูปธรรมที่กล่าวมาข้างต้น นักเรียนจะนำสิ่งของที่จับต้องได้มาจัดกระบวนการคิดเป็นภาพ ในกระบวนการนี้นักเรียนจะได้เรียนรู้ทักษะการนับจากรูปภาพ และเพิ่มทักษะการบวกและลบโดยการแทนที่ของจริงเป็นรูปภาพ โดยมีการสร้าง number bonds, place value charts, ten frames และ bar model
ที่มา : number bond tools จาก Matholia.com
Abstract หรือนามธรรม คือชั้นตอนสุดท้ายที่จะแทนที่รูปภาพ หรือ โมเดลมาเป็นจำนวนตัวเลขหรือสัญลักษณ์
รูปภาพด้านล่างแสดงถึงกระบวนการคิดทั้งหมด 3 ขั้นตอน
รูปภาพ : กระบวนการสอนแบบ CPA หรือแนวคิดแบบ 3-steps
ปัจจุบันคณิตศาสตร์สิงคโปร์ หรือ Singapore Math ได้ถูกนำไปใช้กับหลายๆประเทศ อาทิเช่น สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย หรือแม้กระทั่งประเทศไทย สำหรับผู้ปกครองหรือโรงเรียนอยากให้น้องๆเก่งคณิตศาสตร์โดนฝึกการแนวคิดแบบสิงคโปร์ วันนี้สามารถเรียนผ่านออนไลน์ได้แล้วที่ผ่าน Matholia เวปไซด์ที่ www.matholia.com/th หรือดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่น (application) ผ่านแท็บเล็ตใช้งานได้ทั้งระบบ iOS และ Android