แต่ล่าสุด นักวิทยาศาสตร์เริ่มค้นพบวิธีการรักษาเนื้อไอศกรีมทนทานต่ออุณภูมิที่สูงขึ้นได้แล้ว โดยการใส่ส่วนผสมบางอย่างลงไปในนั้น เราลองตามไปดูแต่ละส่วนผสมกัน
ส่วนผสมแรก เป็นโปรตีนชนิดหนึ่งที่ได้จากธรรมชาติ พบได้ในอาหารบางชนิด และแบคทีเรียในลำไส้ของมนุษย์ โดยโปรตีนชนิดนี้มีชื่อว่า BslA เป็นโปรตีนที่ถูกนำมาทดลองใช้ในปี ค.ศ. 2015
นักวิทยาศาสตร์ได้ทดลองใช้โปรตีนชนิดนี้ผสมในไอศกรีม ผลที่ได้คือ จะทำให้เนื้อไอศกรีมคงอุณหภูมิอยู่ได้นานแม้ในสภาพอากาศที่ร้อน พร้อมกันนี้ยังป้องกันการเกิดเกล็ดน้ำแข็งที่เนื้อไอศกรีม ช่วยทำให้เนื้อไอศกรีมมีความละเอียด เหมือนกำลังรับประทานไอศกรีมเกรดพรีเมียม
ส่วนผสมถัดมา พอลิฟีนอล (Polyphenols) สารสกัดจากสตรอว์เบอรี โดยในปี ค.ศ. 2017 นักวิจัยที่ญี่ปุ่นได้ทดลองผสมสารชนิดนี้ลงไป และพบว่าทำให้เนื้อของไอศกรีมละลายช้าลงได้เช่นกัน จากผลการทดลองในห้องแล็บ ที่อุณภูมิทดสอบสูงถึง 40℃ ไอศกรีมก็ยังคงไม่ละลาย แม้เวลาจะผ่านไปนานถึง 3 ชั่วโมงก็ตาม
ส่วนผสมสุดท้าย คือ เส้นใยจากกล้วย นักวิจัยค้นพบว่า การใส่เส้นใยจากกล้วยลงไปในน้ำแข็งในสัดส่วนที่เหมาะสม จะทำให้น้ำแข็งสามารถทนต่อความร้อนได้ดีขึ้น และช่วยเพิ่มความหนืดให้น้ำแข็ง หากผสมเส้นใยนี้ลงในเนื้อไอศกรีม แม้จะลดปริมาณไขมันในไอศกรีมลง แต่เนื้อไอศกรีมก็จะยังคงความละมุนอยู่ ดังนั้น เราจะสามารถลิ้มรสไอศกรีมแบบไขมันต่ำ (low fat) ที่ยังคงความอร่อยได้อีกด้วย
เส้นใยจากกล้วยนี้ มีชื่อเรียกว่า เส้นใยนาโนเซลลูโลส (Cellulose Nanofiber) ได้มาจากแกนกลางของเครือกล้วย ที่โดยปกติแล้วจะเป็นส่วนที่ทิ้งเป็นขยะ การใช้ประโยชน์จากชิ้นส่วนนี้ได้ จึงเป็นการลดปริมาณขยะได้อีกทางหนึ่งด้วย โดยมีการเผยแพร่ผลการวิจัยนี้ในปี ค.ศ. 2018
แกนกลางในส่วนที่วงกลม โดยปกติจะถือว่าเป็นของเสีย
สิ่งหนึ่งที่คล้ายคลึงกันของส่วนผสมทั้ง 3 ชนิด นอกจากช่วยให้ไอศกรีมละลายช้าลงแล้ว ยังทำให้เนื้อของไอศกรีมมีความละเอียดและละมุนมากขึ้น ถึงแม้จะมีการลดไขมันในไอศกรีมลงไปก็ตาม
ในความเห็นของผม เส้นใยจากกล้วยเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจมากที่สุด เพราะกล้วยเป็นพืชที่หาได้ง่ายโดยเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนา ดังนั้น ต้นทุนย่อมถูกกว่าวัตถุดิบอีก 2 ชนิด
บทความที่เกี่ยวข้อง
- ญี่ปุ่นพบไอศกรีมสูตรใหม่ละลายช้า