Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

หุ่นยนต์ที่สามารถทำงานร่วมกันสำหรับโรงงานอัจฉริยะ

Posted By thaiscience | 03 ต.ค. 62
9,733 Views

  Favorite

หุ่นยนต์อุตสาหกรรมนั้นสามารถช่วยประหยัดเวลาและงบประมาณในการดำเนินงาน และยังมอบประโยชน์ในด้านการเพิ่มความสามารถในผลิตและรับรองความปลอดภัยในโรงงาน อย่างไรก็ตามหุ่นยนต์อุตสาหกรรมส่วนใหญ่มีข้อจำกัดด้านความสามารถ ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า ในปัจจุบันเทคโนโลยีหุ่นยนต์ชั้นนำที่มีศักยภาพเต็มรูปแบบกลับไม่ได้ถูกนำไปใช้จริงในโรงงานผลิตในยุโรป

ภาพ : Shutterstock

 

ด้วยเหตุนี้จึงเป็นที่มาของการจัดตั้งโครงการ THOMAS ซึ่งได้รับงบสนับสนุนจากสหภาพยุโรป โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะพัฒนาหุ่นยนต์สองแขนเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมซึ่งสามารถขับเคลื่อนได้ด้วยด้วยตนเอง โดยหุ่นยนต์ตัวนี้จะสามารถรับรู้และตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมรอบข้างได้ผ่านกระบวนการใช้เหตุและผล นอกจากนี้ยังสามารถทำงานร่วมกันระหว่างหุ่นยนต์ด้วยกันเอง และทำงานร่วมกับหน่วยการผลิตอื่น ๆ รวมไปถึงมนุษย์

 

โดยปกติแล้วผู้ผลิตทราบว่าประสิทธิภาพของหุ่นยนต์นั้นมีความแม่นยำสูงและมีความสม่ำเสมอ แต่หุ่นยนต์ส่วนใหญ่มีปัญหาในการจัดการกับเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด โดยเฉพาะเมื่อมีการเพิ่มผลิตภัณฑ์ใหม่ในการผลิต หรือมีการดัดแปลงผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตอยู่แล้ว ซึ่งผลที่ตามมาคือ ประสิทธิภาพในการผลิตของหุ่นยนต์และรูปแบบการผลิตอย่างต่อเนื่องจะลดลง ดังนั้นอุปกรณ์การผลิตที่ไม่สามารถรองรับการทำงานที่หลากหลายในสภาพแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาจำเป็นต้องถูกดัดแปลงและพัฒนาให้สามารถปฏิบัติฟังก์ชันใหม่ ๆ ได้

ภาพ : Shutterstock

 

หุ่นยนต์เคลื่อนที่ที่สามารถทำงานได้หลากหลาย

 

สำหรับหุ่นยนต์ที่ถูกพัฒนาภายใต้โครงการ THOMAS การเคลื่อนที่และความคล่องตัวถือเป็นคุณลักษณะสำคัญ เพราะหุ่นยนต์ที่มีความคล่องแคล่วในการเคลื่อนไหวจะสามารถระบุเส้นทางในการเคลื่อนที่ได้ด้วยตนเองและสามารถปฏิบัติงานตามชุดคำสั่งที่หลากหลาย โดยหุ่นยนต์จะรับรู้ถึงสภาพแวดล้อมได้โดยการสื่อสารผ่านเซ็นเซอร์ของตัวหุ่นยนต์เอง และยังมีการรับรู้ร่วมกันผ่านเซ็นเซอร์ของหุ่นยนต์หลาย ๆ ตัวรวมกัน

 

การสื่อสารร่วมกันระหว่างหุ่นยนต์หลาย ๆ ตัว จะก่อให้เกิดเป็นเครือข่าย ซึ่งการสื่อสารผ่านเครือข่ายนี้จะทำให้หุ่นยนต์แต่ละตัวสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อจัดสรรหน้าที่การทำงานระหว่างหุ่นยนต์ด้วยกันได้เอง นอกจากนี้ยังสามารถลงโปรแกรมหรือชุดคำสั่งใหม่ ๆ ได้อย่างรวดเร็วและอัตโนมัติความสามารถในการทำงานร่วมกันระหว่างหุ่นยนต์และมนุษย์ ถือเป็นอีกหนึ่งคุณลักษณะพิเศษของหุ่นยนต์ของโครงการ THOMAS โดยหุ่นยนต์ที่ถูกพัฒนาจะมีความสามารถทางการรู้คิด สามารถตรวจจับเพื่อนร่วมงานที่เป็นมนุษย์ในสถานที่ทำงานและสามารถรับรู้ความต้องการของมนุษย์ได้

ภาพ : Shutterstock

 

โดยอุตสาหกรรมเป้าหมายมี่จะเริ่มมีการใช้หุ่นยนต์ชนิดนี้ก็คืออุตสาหกรรมยานยนต์ และอุตสาหกรรมการบิน ซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจอย่างมากต่อสหภาพยุโรป และการพัฒนาประสิทธิภาพในการผลิตในอุตสาหกรรมดังกล่าว

 

รายละเอียดโครงการชื่อโครงการ: THOMAS
ประเทศที่เข้าร่วมโครงการ:ประเทศกรีซ (ผู้ประสานงาน) เยอรมนี ฝรั่งเศส ลักเซมเบิร์ก และสเปน
หมายเลขอ้างอิงของโครงการ:723616
ค่าใช้จ่ายทั้งหมด: 5,624,225 ยูโร
เงินสนับสนุนจากสหภาพยุโรป: 4,510,700 ยูโร

ระยะเวลาดำเนินการ:ตุลาคม ค.ศ.  2016 ถึง กันยายน ค.ศ. 2020

 

 

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
Tags
  • Posted By
  • thaiscience
  • 2 Followers
  • Follow