ครั้งนี้เราจะพูดถึงการใช้ comma ในรูปแบบที่บ่อยที่สุดนั่นคือ การใช้ comma เพื่อที่จะแทรกวลีหรือนามเพื่อขยายประธาน ข้อสำคัญ คือ วลีหรือนามนั้นไม่ว่าใส่เข้าไปหรือว่าไม่ใส่ จะไม่เปลี่ยนความหมายสำคัญของประโยค นั่นคือ ข้อมูลที่เพิ่มไป ไม่ได้เปลี่ยนใจความของประโยคเลย จึงใช้ comma มาคั่นทำหน้าที่เหมือนวงเล็บขยายความ เช่น
Mike is very organized. (ไมค์เป็นคนมีระเบียบมาก) หากอยากจะเพิ่มข้อมูลว่า ไม่เหมือนเบน แต่ ไม่ว่าจะบอกหรือไม่ว่า ไมค์ไม่เหมือนเบน ความหมายของ Mike is very organized. ก็ไม่เปลี่ยนไป จึงใช้ Comma เข้ามาคั่นกลายเป็น Mike, unlike Ben, is very organized.
หรือจะบอกว่า Today is my last day in Paris. (วันนี้เป็นวันสุดท้ายที่จะอยู่ที่ปารีสแล้ว) อยากจะเติมว่ารู้สึก เศร้าจัง ก็บอกว่า sadly แต่ไม่ว่าเติมหรือไม่ ก็ไม่ได้เปลี่ยนความหมายว่า วันนี้เป็นวันสุดท้ายในปารีส เมื่อเติมลงไป จึงกลายเป็น Today is, sadly, my last day in Paris.
อีกตัวอย่างคือ ถ้ามีสองประโยค ประโยคหลัก คือ My mother is a great cook. (แม่ของฉันทำอาหารเก่งมาก) ประโยคเสริมคือ Jane is my mother. (เจนเป็นแม่ของฉัน) ไม่ว่าเราจะเสริมว่า Jane เป็นแม่ของฉันหรือไม่ก็ไม่เปลี่ยนใจความหลักว่าแม่ของฉันทำอาหารเก่งมาก ฉะนั้น จึงเขียนได้ว่า My mother, Jane, is a great cook.
แต่มีกรณียกเว้น เพราะหากวลีหรือว่าคำนามนั้นส่งผลต่อความหมายของประโยคจะไม่ใช้ comma เพราะถือว่าเป็นใจความสำคัญและควรอยู่ในประโยคไม่ใช่เป็นเพียงส่วนขยาย เช่น
Roald Dahl’s novel The Witches is my favorite book.
(หนังสือเรื่องแม่มด ของ โรอัล ดาห์ลเป็นหนังสือเล่มโปรดของฉัน)
ประโยคนี้พบว่า The Witches นี้เป็นนามขยายที่กระทบต่อใจความสำคัญ เพราะว่าหากไม่มีชื่อของหนังสือ เราจะไม่รู้เลยว่าหนังสือเล่มไหนเป็นหนังสือเล่มโปรดเนื่องจาก หนังสือที่แต่งโดย Roald Dahl มีจำนวนมากกรณีนี้เราจึงไม่ใส่ comma