สูตรข้างต้นแตกต่างกันตรงที่ r > a มี +1 ตรงตัวส่วน แต่ r ≤ a ไม่มี +1 ตรงตัวส่วนนั่นเอง
จากสูตรเราจะเห็นว่ามีทั้งหมด 3 ตัวแปร ได้แก่ m, a, r เราจะอธิบายทีละตัวแปร โดยใช้การอธิบายว่าแต่ละตัวแปรนั้นหมายถึงอะไรจากสูตร m = a2 + r
m คือ จำนวนที่เราจะหาค่าสแควรูท โดยเป็นจำนวนเต็มบวก
a คือ จำนวนเต็มบวกที่ยกกำลัง 2 แล้วใกล้เคียง m ที่สุด (a เป็นจำนวนลบไม่ได้ เนื่องจากหากนำไปแทนค่าในสูตรแล้วจะให้คำตอบออกมาติดลบ ซึ่งจำนวนลบไม่ใช่คำตอบของสแควรูท)
r คือ จำนวนที่บวกกับ a2 แล้วเท่ากับ m (ดูจากสูตรนั่นเอง) ซึ่ง r จะเป็นจำนวนเต็มบวกหรือจำนวนเต็มลบก็ได้
อธิบายตัวแปรแล้วอาจจะยังไม่เห็นภาพ งั้นเราลองมาดูตัวอย่างการใช้สูตรกัน !
แอบนึกถึงสมการนี้ m = a2 + r ไว้ในใจ
วิธีการคิดเป็นลำดับดังนี้
1. จากโจทย์เราได้ว่า m = 18 (m คือ จำนวนที่เราจะหาค่าสแควรูท) เราต้องคิดก่อนว่าจำนวนอะไรเอ่ยที่ยกกำลัง 2 แล้วใกล้เคียง 18 ได้แก่ 42 = 16 และ 52 = 25 แต่ 42 = 16 มีค่าใกล้เคียงกว่าเราจึงเลือก 42 ซึ่งจะได้ว่า a = 4
2. จาก m = a2 + r และข้อ 1. จะได้ว่า 18 = 42 + r ดังนั้น r = 2 สรุปว่า m = 18, a = 4, r = 2 นั่นเอง
3. เลือกว่าจะใช้สูตรไหน ? จาก a = 4, r = 2 ซึ่ง a > r ดังนั้น ใช้สูตรที่ 2 นั่นคือ ถ้า r ≤ a : √m = a + (r/2a)
4. แทนค่า m = 18, a = 4, r = 2 ลงไปในสูตรที่เราเลือก
√m = a + (r/2a)
√18 = 4 + (2/2(4))
= 4 + (2/8)
= 4 + 1/4
= 17/4
= 4.25
ดังนั้น √18 = 4.25
จากวิธีของ Al-Karaji สามารถหาค่า √18 = 4.25 แต่ถ้าใช้วิธีการในปัจจุบันแบบตั้งหารหรือลองใช้เครื่องคิดเลข จะได้ค่า √18 ≈ 4.242... ซึ่งถือว่าได้ค่าใกล้เคียงเลยทีเดียว
ตัวอย่างที่ 1 ผ่านไป เป็นอย่างไรกันบ้างคะทุกคน ยากไหม ? ยากกว่าวิธีปัจจุบันเนอะ เพราะมีสูตรให้เราต้องเลือกใช้ มันเลยทำให้เรางง ๆ จริง ๆ อาจเป็นเพราะว่าเราไม่ชินวิธีการแบบนี้มากกว่า ฮ่า ๆ อ่ะเดี๋ยวเรามาลองตัวอย่างที่ 2 กันเลย
วิธีทำ จาก m = a2 + r
จะได้ 35 = 62 + (-1)
(a คือ หาจำนวนที่ยกกำลัง 2 แล้วใกล้เคียง 35 ที่สุด, r คือจำนวนที่บวก a2 แล้วได้ 35)
ดังนั้น a = 6, r = -1
จึงเลือกใช้สูตร r ≤ a : √m = a + (r/2a)
แทนค่า √35 = 6 + (-1/2(6))
= 6 - 1/12
= 71/12
= 5.91666...
ดังนั้น √35 ≈ 5.917
จากวิธีของ Al-Karaji สามารถหาค่า √35 ได้ประมาณ 5.917 แต่ถ้าใช้วิธีการในปัจจุบันแบบตั้งหารหรือลองใช้เครื่องคิดเลข จะได้ค่า √35 ประมาณ 5.916 ซึ่งถือว่าได้ค่าใกล้เคียงมาก ๆ เลย
เป็นอย่างไรกันบ้างคะกับการหาค่าสแควรูทจากสูตรของ Al – Karaji จริง ๆ แล้วไม่ยากเลยใช่มั้ยล่ะ ถ้าคุณผู้อ่านเข้าใจวิธีการใช้สูตรและลองฝึกบ่อย ๆ ก็จะทำได้ง่าย ๆ เลย วิธีนี้สามารถนำไปใช้ได้จริง หากเราต้องการใช้ค่าประมาณสแควรูทที่ไม่มีความละเอียดมากนัก เช่น ทศนิยม 1 ตำแหน่ง เพราะถ้าละเอียดมากกว่านี้ เช่น ทศนิยม 2 ตำแหน่งขึ้นไป อาจทำให้ค่าประมาณคลาดเคลื่อนได้ ดังนั้นการเลือกใช้วิธีหาค่าประมาณสแควรูท (ใช้สูตรของ Al – Karaji, การตั้งหาร, ใช้เครื่องคิดเลข) ให้เลือกจากความเหมาะสมที่จะใช้ค่าประมาณของเราว่าต้องการความละเอียดมากน้อยเพียงใดนั่นเอง ซึ่งทางผู้เขียนคิดว่าสูตรของ Al – Karaji ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่น่าสนใจ