หนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ทำให้วัยรุ่นเกิดภาวะซึมเศร้าคือเหตุการณ์ที่ก่อให้เกิดความเครียด และนี่คือ 5 ปัจจัยที่กระตุ้นให้วัยรุ่นเกิดภาวะซึมเศร้าได้
1. ครอบครัว
มีความสัมพันธ์ที่ไม่ราบรื่นกับครอบครัว ซึ่งเป็นที่พึ่งทางใจหลัก อาจทำให้รู้สึกโดดเดี่ยวได้
2. การเรียน
ปัญหาจากการเรียน สอบไม่ผ่าน ทำไม่ได้อย่างที่หวัง เมื่อรับมือกับมันไม่ได้ก็จะทำให้เครียดและมีโอกาสที่จะเสียศูนย์
3. ความรัก
อกหัก ผิดหวังในความรัก ทะเลาะหรือเลิกกับแฟน เป็นสาเหตุของโรคซึมเศร้าได้
4. เพื่อน
การถูกเพื่อนแกล้ง ทะเลาะกับเพื่อน เข้ากับเพื่อนไม่ได้ เป็นสาเหตุให้เครียด อยากเก็บตัว แยกตัวจากสังคม
5. ถูกล่วงละเมิดทางเพศ
เช่น การถูกข่มขืน หรือถูกลวนลามทางเพศ อาจทำให้มองตัวเองในแง่ลบ สิ้นหวัง รู้สึกไร้ค่า
ภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่นอาจไม่ได้แสดงออกมาเหมือนผู้ใหญ่ แทนที่จะเศร้าจนผิดสังเกต แต่วัยรุ่นจะแสดงอาการออกมาเป็น ความเกเร เบื่อ เซ็ง สร้างความทุกข์ให้ตัวเองและคนอื่น เพราะรู้สึกไม่มีความสุขมานานกว่า 2 สัปดาห์
• โมโหร้าย หงุดหงิด ก้าวร้าว เอาแต่ใจ ใครพูดอะไรก็ไม่ถูกหู ไม่ถูกใจ ขวางหูขวางตาไปหมด
• กล้าทำอะไรที่เสี่ยง เข้าหาอบายมุข ดื่มเหล้า สูบบุหรี่ มีเพศสัมพันธ์ หนีออกจากบ้าน ไม่เชื่อฟัง หัวร้อนใจร้อน
• ไม่สนใจเรียน ไม่อยากไปเรียน หนีเรียน รู้สึกไม่มีแรง ไม่อยากลุกไปทำอะไรเลย รวมถึงการเรียนตกฮวบ
• ดูไม่มีความสุข นอนไม่หลับหรือนอนมากไป ไม่รู้สึกสนุกในชีวิต สิ่งที่เคยทำแล้วเพลินก็ไม่เพลินจิตใจ ร้องไห้
• ไม่สามารถทำสิ่งที่เคยทำได้ ทั้งเรียนและทำงาน ไม่มีสมาธิ ทำผิด ๆ ถูก ๆ จำสิ่งที่ทำประจำไม่ได้
• น้ำหนักผิดปกติ น้ำหนักเปลี่ยนแปลงไปมากภายใน 1 เดือน ทานเยอะหรือไม่ทานเลย ปวดท้อง ปวดหัว
• เริ่มแยกข้าวของ อะไรควรเอาไปบริจาคหรือจะให้ใคร เก็บของเรียบร้อยจากที่ไม่เคยทำเลย
• สั่งเสียแบบไม่รู้ตัว พูดจาสั่งเสีย เช่น ฝากดูแม่ด้วยนะ ฝากเลี้ยงแมวด้วย เป็นต้น เตรียมพร้อมที่จะจากไป
• คิดเรื่องการตาย เริ่มพูดว่าอยากตายด้วยวิธีไหน บ่นว่าไม่อยากมีชีวิตอยู่ มีอุปกรณ์ (มีด ปืน) ให้รีบพบจิตแพทย์โดยด่วน
ช่วงนี้จิตตกบ่อย เศร้า นอยด์ เบื่อโลกแบบไม่มีสาเหตุ |
• เมื่อรู้สึกหนักใจให้พบจิตแพทย์
ไม่ต้องอายที่จะนัดพบจิตแพทย์แผนกจิตเวช เมื่อรู้สึกว่าใจไม่สดใสนานเกิน 2 สัปดาห์ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเรียน อกหัก มีปัญหากับเพื่อน ครอบครัว ถึงจะเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่ความทุกข์คือเรื่องใหญ่ทั้งนั้น
• มีเซฟตี้แพลนไว้ตอนที่ใจไม่สบาย
มีแผนรับมือกับความรู้สึกต่าง ๆ เช่น เมื่อรู้สึกว่าเศร้าให้โทรหาแม่ เมื่อฟุ้งซ่านให้ออกไปเดินเล่น อะไรควรทำ-ไม่ควรทำเมื่อรู้สึกเศร้า เพราะถ้ารอให้คิดได้ตอนที่เศร้าอาจจะคิดไม่ทัน ควรมีเเผนไว้
• ไม่เล่นโซเชียลเมื่อใจเศร้า
เวลาเหงา เศร้า แล้วยิ่งเล่นโซเชียล เราก็ยิ่งจะโดดเดี่ยวมากขึ้น เพราะโซเชียลมักทำให้เรารู้สึกด้อยกว่าคนอื่น ควรออกไปเดินเล่น หาอะไรอร่อย ๆ ทานกับเพื่อน จำไว้ว่าโซเชียลเป็นมลพิษจิตใจถ้าใช้ไม่ระวัง
• นอนให้จิตใจแจ่มใส
อย่าอดนอนหรือนอนนานเกินไป การนอนที่ไม่มีคุณภาพจะทำให้ฮอร์โมนในร่างกายที่ผลิตสารแห่งความสุขแปรปรวน ลดต่ำลง ทำให้เราเครียดง่าย ไม่มีชีวิตชีวา ควรนอนให้ได้ 7-9 ชั่วโมงต่อวัน แล้วจิตใจเราจะแจ่มใส
เมื่อเศร้าติดต่อได้...เน้นพูดคุย ไม่ใช้ยา
|
แหล่งข้อมูล
- โรคซึมเศร้าโดยละเอียด. สืบค้นเมื่อวันที่ 26 มิ.ย. 2562 จาก https://med.mahidol.ac.th
- โลกไม่สดใส จิตใจหดหู่. สืบค้นเมื่อวันที่ 26 มิ.ย. 2562 จาก www.doctor.or.th
- วัยรุ่นแค่เซ็ง หรือซึมเศร้า. สืบค้นเมื่อวันที่ 26 มิ.ย. 2562 จาก www.thaipediatrics.org
- 8 Tips for Living With Depression. สืบค้นเมื่อวันที่ 28 มิ.ย. 2562 จาก www.verywellmind.com
- คู่มือปฏิบัติ การดูแลวัยรุ่นที่มีภาวะซึมเศร้า. สืบค้นเมื่อวันที่ 28 มิ.ย. 2562 จาก www.smartteen.net
- IS YOUR FRIEND GOING THROUGH A TOUGH TIME? สืบค้นเมื่อวันที่ 4 ก.ค. 2562 จาก https://seizetheawkward.org
- ลักษณะเหตุการณ์ความเครียดที่เป็นปัจจัยก่อให้เกิดภาวะซึมเศร้าครั้งแรกในวัยรุ่น. สืบค้นเมื่อวันที่ 5 ส.ค. 2562 จาก https://www.tci-thaijo.org
เรื่อง : วัลญา นิ่มนวลศรี
ภาพประกอบ : จิรายุ ขุนวิลัย