ไม่ว่า TCAS จะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร รอบที่ 1 หรือการรับแบบยื่น Portfolio จะยังมีอยู่ และเกณฑ์การคัดเลือกยังเหมือนเดิม คณะดุริยางคศาสตร์ ม.ศิลปากร ก็เช่นกัน เปิดรับ TCAS 63 รอบที่ 1 ในเดือนธันวาคมนี้ รอ ทปอ. คอนเฟิร์ม ! เพื่อให้น้อง ๆ ได้เตรียมตัว ทั้งการสอบ และการจัดทำ Portfolio ของแต่ละสาขา ในคณะดุริยางคศาสตร์ สอบอะไรบ้าง ทำ Portfolio อย่างไรให้ตรงกับที่คณะต้องการ วันนี้มีมาบอกอย่างละเอียด
คณะดุริยางคศาสตร์ มีทั้งหมด 4 สาขาวิชา (2 หลักสูตร)
หลักสูตรดุริยางคศาสตรบัณฑิต
สาขาวิชาการแสดงดนตรี (ดนตรีคลาสสิก)
สาขาวิชาดนตรีแจ๊ส
สาขาวิชาดนตรีเชิงพาณิชย์
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต
สาขาวิชาธุรกิจดนตรีและบันเทิง
การคัดเลือกรอบ Portfolio
- Portfolio สัดส่วนคะแนน 40%
- สัมภาษณ์ 20%
- ทดสอบความสามารถทางด้านดนตรีคลาสสิก 40%
Portfolio ประกอบไปด้วย
1. ใบรับรองความสามารถ และความประพฤติ จากอาจารย์หรือผู้เกี่ยวข้อง 2 ท่าน
2. รายละเอียดการทำกิจกรรมทางดนตรี พร้อมภาพกิจกรรม (ถ้ามี)
3. ผลการสอบวัดระดับมาตรฐานทางดนตรีจากสถาบันดนตรี อาทิ ประกาศนียบัตรหลักสูตรสอบของ Trinity, ประกาศนียบัตรความถนัดด้านดนตรีวิธีศิลปากร (SUFM Music Craftsmanship Certificate (SMCC) (ถ้ามี)
4. ประกาศนียบัตรการได้รับรางวัลต่าง ๆ ทางด้านดนตรี (ถ้ามี)
5. ใบ ปพ. 1 แสดงผลการเรียน (เกรดเฉลี่ยรวม 5 ภาคการศึกษา)
6. คลิปการแสดงความยาวไม่น้อยกว่า 7 นาที ให้อัปโหลดลงใน YouTube แนบ Link URL
7. ส่งไฟล์ Portfolio เป็นไฟล์ PDF ไม่รับรูปเล่ม
วิชาที่ใช้ในการสอบ
การคัดเลือกรอบ Portfolio
- Portfolio สัดส่วนคะแนน 40%
- สัมภาษณ์ 20%
- ทดสอบความสามารถทางด้านดนตรีคลาสสิก 40%
Portfolio ประกอบไปด้วย
1. ใบรับรองความสามารถ และความประพฤติ จากอาจารย์หรือผู้เกี่ยวข้อง 2 ท่าน
2. รายละเอียดการทำกิจกรรมทางดนตรี พร้อมภาพกิจกรรม (ถ้ามี)
3. ผลการสอบวัดระดับมาตรฐานทางดนตรีจากสถาบันดนตรี อาทิ ประกาศนียบัตรหลักสูตรสอบของ Trinity, ประกาศนียบัตรความถนัดด้านดนตรีวิธีศิลปากร (SUFM Music Craftsmanship Certificate (SMCC) (ถ้ามี)
4. ประกาศนียบัตรการได้รับรางวัลต่าง ๆ ทางด้านดนตรี (ถ้ามี)
5. ใบ ปพ. 1 แสดงผลการเรียน (เกรดเฉลี่ยรวม 5 ภาคการศึกษา)
6. ผลงานการประพันธ์เพลงที่ได้รับการเผยแพร่ทางสื่อออนไลน์ อาทิ Youtube.com, Fungjai.com หรือสื่อออนไลน์ที่มีกิจกรรมในลักษณะใกล้เคียงกับเว็บไซต์ที่กำหนด หรืออธิบายความเป็นมา และความสำเร็จของผลงาน (ถ้ามี)
7. คลิปการแสดงความยาวไม่น้อยกว่า 7 นาที ให้อัปโหลดลงใน YouTube แนบ Link URL
8. ส่งไฟล์ Portfolio เป็นไฟล์ PDF ไม่รับรูปเล่ม
วิชาที่ใช้ในการสอบ
การคัดเลือกรอบ Portfolio
- Portfolio สัดส่วน 80%
- สอบสัมภาษณ์ 20%
Portfolio ประกอบไปด้วย
1. หลักฐานทางการศึกษา Transcript หรือ ใบ ปพ. 1 แสดงผลการเรียน (เกรดเฉลี่ยรวม 5 ภาคการศีกษา ไม่ต่ำกว่า 2.00)
2. รายละเอียดการทำกิจกรรมทางดนตรี พร้อมภาพกิจกรรม (ถ้ามี)
3. ประกาศนียบัตรการได้รับรางวัลต่าง ๆ ทางด้านดนตรี (ถ้ามี)
4. คลิปแนะนำตัวผู้สมัครความยาว 2 นาที แนะนำชื่อพร้อมประวัติส่วนตัว และกิจกรรมที่เคยทำระหว่างเรียน บอกเหตุผลที่เลือกเข้าศึกษาในสาขาวิชาธุรกิจดนตรีและบันเทิง บอกสิ่งที่มุ่งหวังหลังจบการศึกษา ในระดับอุดมศึกษา โดยอัปโหลดคลิปลงใน YouTube (แนบ Link URL)
5. ส่งไฟล์ Portfolio เป็นไฟล์ PDF ไม่รับรูปเล่ม
การทำ Portfolio เพื่อยื่นรอบที่ 1 ไม่ใช่การทำเล่มเดียวแล้วยื่นได้ทุกคณะ เนื้อหาใน Portfolio ต้องเป็นไปตามที่คณะ/สาขากำหนด สำหรับ คณะดุริยางคศาสตร์ ม.ศิลปากร ไม่ได้ต้องการ Portfolio ที่หรูหรา อลังการ แต่แค่ต้องการ Portfolio ที่ทำให้รู้จักตัวตนของนักเรียน และมีผลงานตรงตามที่สาขาวิชาต้องการ 10 หน้า ง่าย ๆ ไม่ต้องเลิศเลอ แต่ขอให้ตรงประเด็น มีอะไรบ้างไปดูกันเลย
หน้าปก
จำนวน 1 - 3 หน้า
รายละเอียด ชื่อ-สกุล/คำนำ/สารบัญ
ประวัติส่วนตัว
จำนวน 1 หน้า
รายละเอียด การศึกษา ประสบการณ์ดนตรี กิจกรรม การประกวดแข่งขัน
หลักฐานการศึกษา
จำนวน 2 - 3 หน้า
รายละเอียด ปพ. 1 ผลการเรียน 5 เทอม
ผลงานส่วนบุคคล
จำนวน 4 - 10 หน้า
รายละเอียด ใบรับรองความสามารถ
ประกาศนียบัตร
ภาพกิจกรรมมีส่วนร่วม
ผลการสอบวัดระดับดนตรี
Link URL การแสดงดนตรีหรือข้อกำหนดทักษะตามสาขาวิชา
คลิปแนะนำตัวเอง
- รายอะเอียดการทำกิจกรรมทางดนตรี ไม่เกี่ยวข้องกับสาขา ขาดความชัดเจนของการมีส่วนร่วม ขาดข้อมูลที่กรรมการจำเป็นต้องพิจารณา เช่น ประสบการณ์ การเข้าร่วมกิจกรรมดนตรี การแสดง
- ผู้สมัครส่งใบประกาศนียบัตรไม่ตรง ไม่เกี่ยวข้องกับดนตรี เช่น แข่งขันทำอาหาร แข่งเกมส์
- สาขาดนตรีและธุรกิจบันเทิง เน้นกิจกรรมที่เป็นการจัดการ บริหารงานดนตรีทั้งภายในโรงเรียน ชมรม และภายนอก ไม่เน้นการปฎิบัติดนตรี และคลิปแนะนำตัวเอง ให้ผู้สมัครอธิบายตนเอง กระชับ มีประเด็นที่ชัดเจนและอยู่ในระยะเวลา 2 นาที
- คลิปการแสดง ข้อผิดพลาดที่มักเจอ ผู้สมัครไม่ใช้บทเพลงในการสอบ หรือ เพลงที่สอบไม่สัมพันธ์กับเครื่องดนตรี การอัดบันทึกเสียงไม่ชัดเจน (หลีกเลี่ยงการบันทึก VDO การแสดงคอนเสิร์ตสด) คลิปควรเห็นผู้สมัครเล่นเครื่องดนตรีทั้งภาพและเสียงอย่างชัดเจน
- ไม่เน้นความสวยงาม เน้นเนื้อหาตรงตามที่สาขาวิชาต้องการ
- ทำเป็นไฟล์ PDF ไม่รับรูปเล่ม
น้อง ๆ สามารถดูตัวอย่างคลิปแนะนำตัวและคลิปการแสดงได้จาก channel Silpakorn music
https://www.youtube.com/user/sufmmusicplus
รูปภาพ www.music.su.ac.th
ข้อมูล การอบรมเชิงวิชาการ คณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร