ในเวลาว่างของวันธรรมดา หลายคนคงใช้เวลาหมดไปกับการนอน หรือทำกิจกรรมที่ชื่นชอบต่าง ๆ จนลืมว่ามีงานอีกมากมายที่ต้องทำ รู้ตัวอีกทีพรุ่งนี้ก็เป็นกำหนดส่งงานวันสุดท้ายซะแล้ว และไม่ได้มีเพียงงานเดียวอีกด้วย คงต้องโต้รุ่งนั่งทำงานจนหัวฟูถึงเช้าแน่ ใครเคยมีประสบการณ์ "ดินพอกหางหมู" เพราะความขี้เกียจ เกิดขึ้นกับตนเองหลายครั้ง แม้พยายามเท่าไรก็เลิกขี้เกียจไม่ได้สักที ลองทำตาม 4 วิธี จัดการกับความขี้เกียจ แล้วคุณจะตกใจกับผลลัพธ์ที่ตามมา
ความสำคัญในที่นี้ไม่ได้หมายความว่าเรื่องไหนที่จำเป็นน้อยที่สุดไม่ต้องทำ หรือตัดออกจากลิสต์นะ เพียงแค่เราอาจลำดับโดยเรียงจากประเภทของสิ่งที่ต้องทำ งานวิชาการ กิจกรรม หรือเรื่องส่วนตัว วันกำหนดส่งงาน งานไหนที่ใกล้วันส่งแล้ว ก็ควรทำให้เสร็จก่อน รายละเอียดของงาน เช่น งานเดี่ยว หรืองานกลุ่ม สามารถทำได้ทันทีหรือต้องรอการตัดสินใจ หรือแม้แต่การอ่านหนังสือ เราควรวางแผนไว้ก่อนว่าจะอ่านวิชาอะไรบ้าง วิชาไหนสำคัญสุด
หากเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับตัวเราเพียงคนเดียว อาจทำให้เราไม่กระตือรือร้นที่จะทำ แต่เมื่อสิ่งที่ต้องทำนั้นมีคนอื่นมาเกี่ยวข้อง เช่น เพื่อนร่วมงาน ครอบครัว หรือคนที่รอดำเนินงานต่อจากเรา ก็จะทำให้เราคิดว่าถ้าเราไม่ทำจะส่งผลกระทบต่อคนอื่นอย่างไร หรือคนอื่นจะเดือดร้อนเพียงใด
วิธีนี้หลายคนอาจจะงงว่าจะจัดการกับความขี้เกียจของเราได้อย่างไร เมื่อเรานึกถึงภาพความฝันของตนเอง คณะในฝัน ชีวิตในมหาวิทยาลัย อาชีพในอนาคต นึกถึงวันที่ประสบความสำเร็จ วันที่พ่อแม่ เพื่อน ญาติพี่น้อง มาแสดงความยินดีกับเรา ก็จะทำให้เรามีกำลังใจในการทำสิ่งต่าง ๆ มากยิ่งขึ้น
ทุกความสำเร็จเกิดขึ้นได้... ถ้าลงมือทำ หลายคนคงเคยได้ยินข้อความข้างต้นมาบ้างแล้ว ปฏิเสธไม่ได้ เลยว่า ในบรรดา 3 วิธีที่กล่าวมาข้างต้นนั้น วิธีนี้ถือเป็นวิธีที่สำคัญที่สุด ถึงแม้ว่าเราจะวางแผนการทำสิ่งต่าง ๆ ดีแค่ไหน ผลลัพธ์ก็เกิดขึ้นไม่ได้ถ้าเราไม่ "ลงมือทำทันที" หากเราไม่ทำ ความฝันมันก็เป็นแค่ความฝัน อยากให้ฝันมันเป็นจริง ต้องเริ่มจากตอนนี้
เป็นยังไงกันบ้างทุกคน หลังจากได้อ่าน 4 วิธีข้างต้นแล้ว หลายคนอาจสงสัยว่าจะจัดการกับความขี้เกียจได้จริงหรอ หากเรามีความตั้งใจที่จะปรับปรุงนิสัยเดิม ก็สามารถทำได้อย่างแน่นอน เพียงแค่เรามีแรงใจที่มุ่งมั่นต่อสิ่งที่จะทำ ก็สามารถเอาชนะความขี้เกียจในตัวเราได้ !
เรื่อง : อัญชิสา มโนรัตนา