เพื่อนๆ คนไหนสนใจหรืออยากค้นหาว่า “นักวิทยาศาสตร์การอาหาร” เขาทำอะไรกันบ้าง เชิญทางนี้เลยจ้า∼º∇º∼
ในฐานะเด็กจากโครงการ “ทำก่อนฝัน” รุ่นที่ 4 ขออาสาพาเพื่อนๆ ไปท่องโรงงาน CP RAM
พร้อมบอกเล่าเนื้อหาสั้นๆ แต่รับรองว่าได้สาระและแรงบันดาลใจให้เพื่อนๆ ที่สนใจในอาชีพนี้
ต้องรู้สึกอยากเข้าโครงการ “ทำก่อนฝัน” กันบ้างแน่ๆ
แล้วจะรู้ว่าอาชีพที่เราใฝ่ฝันนั้นมันมีอะไรมากกว่าที่เคยฟังๆ กันมา สิบปากว่า ไม่เท่าตาเห็นนะจ๊ะ
แดนนี้เวลาทำงาน R&D จะต้องออกไปพบปะลูกค้า เพื่อค้นหาในสิ่งที่ลูกค้าต้องการ
โดยจะทำการเสาะหาเจ้าดังเจ้าอร่อย เพื่อค้นหารสชาติที่เป็นที่นิยมถูกปากผู้บริโภค
จากนั้นจึงทำการวิจัยและพัฒนาเป็นสูตรเฉพาะ แล้วเข้าสู่ขั้นตอนการผลิตต่อไป
ซึ่งคนที่จะมาเป็น R&D ขอบอกเลยว่า ต้องเป็นคนที่ชอบความท้าทาย
ชอบเรียนรู้สิ่งใหม่มีความคิดสร้างสรรค์ และช่างสังเกตนะจ๊ะ
โดยในวันที่มาเยี่ยมชมแดนนี้ พวกเราได้มีโอกาสลงมือทำ “ข้าวกะเพรา” เมนูยอดนิยมของ 7–11 อีกด้วย
ทำให้พวกเราได้รู้ว่าทุกๆ อย่างจะต้องเป๊ะที่ซู้ดดด ตั้งแต่วัตถุดิบว่าตอบสนองผู้บริโภคหรือป่าว ปริมาณส่วนผสม
รวมถึงเวลาในการใส่ส่วนผสมว่าต้องใส่ส่วนผสมนี้ในนาทีที่เท่าไหร่
การใช้เครื่องวัดความหวาน/เค็ม ว่าอร่อยได้มาตรฐานมั้ย โดยใช้หลักการหักเหของแสง สนุกมากจริงๆ
แถมยังได้ชิมฝีมือตัวเองบอกเลยว่าเผ็ดร้อนได้ใจมว้าก555 òΔó
ผ่านแดนวิจัยและพัฒนากันไปเรียบร้อยแล้ว แดนต่อไปคือการผลิต
โดยเริ่มขั้นตอนแรกจากการเตรียมวัตถุดิบเพื่อนำไปปรุงสุก จากนั้นนำไปขึ้นรูปต่างๆ ตามรูปแบบของอาหาร
ก่อนนำไปทอด, นึ่ง, ย่าง จากนั้นเข้าสู่กระบวนการสำคัญคือ..การนำอาหารไปช็อคด้วยความเย็นที่อุณหภูมิ -18องศา
ซึ่งเป็นวิธีถนอมอาหารและคงไว้ซึ่งคุณภาพของอาหาร
แล้วนำอาหารไปบรรจุ ตรวจสอบสิ่งแปลกปลอม แล้วไปสู่ขั้นตอนด้านโลจิสติกส์ต่อไป
พอได้ยินคำว่า “โลจิสติกส์” ทุกคนอาจจะนึกถึงแต่ระบบจัดการการส่งสินค้า
แต่ความจริงมีอีก 2 อย่างที่ถือว่าเป็นโลจิสติกส์ ด้วยเช่นกัน นั่นก็คือ การเคลื่อนที่ของเงินและข้อมูล
ที่นี่โลจิสติกส์ถือเป็นกระบวนการปลายน้ำ โดยมีวิธีขนส่งสินค้าผ่านรถใหญ่ (6 ล้อ) จากโรงงานผลิตไปยังคลังสินค้า
แล้วค่อยจัดสินค้าใส่รถเล็ก (4ล้อ) ไปยังที่ที่ลูกค้าสั่งไว้
ซึ่งตลอดการขนย้ายสินค้า จะทำภายใต้รถที่มีการควบคุมอุณหภูมิตลอดเวลา
เพื่อคงไว้ซึ่งอายุการเก็บรักษาของอาหาร ตั้งแต่โรงงานผลิตจนถึงมือผู้บริโภค
และแล้วโอกาสอันดีก็ได้ส่งพวกเราไปลงพื้นที่คลังเก็บสินค้าที่อุณหภูมิ ติดลบ 15 องศา
พูดทีควันออกปากเลยที่เดียว เผลอเคลิ้มไปนึกว่าอยู่ที่เกาหลี 555
พอได้มาสัมผัสของจริงตัวเป็นๆ ทำให้รับรู้ว่าทุกอย่างต้องทำอย่างเป็นระบบเพื่อป้องกันการผิดพลาด
และต้องคำนึงถึงเรื่องต้นทุนที่จะทำยังไงให้ต่ำที่สุด แต่ได้คุณภาพที่ดีที่สุด
เรื่องบรรจุภัณฑ์ต้องคำนึงถึงการขนส่งได้ทีละมากๆ เพื่อลดต้นทุนการขนส่ง
และประหยัดเวลาเพื่อคงไว้ซึ่งอายุของอาหารที่ต้องมีคุณภาพสูงสุดในมือผู้บริโภค และอื่นๆอีกเพียบเลย
By พี่นก เทอดศักดิ์
(รองผู้จัดการทั่วไป รองสำนักจัดส่งสินค้าแช่แข็ง)
ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ → https://www.trueplookpanya.com/thedreamexplorers/applicant/registration-step3