ยอดเขาเอเวอเรสต์ เป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในโลกที่ตั้งอยู่ในเทือกเขาหิมาลัย ประเทศเนปาล มีความสูงจากระดับน้ำทะเลอยู่ที่ 8,848 เมตร แต่หากนับจากฐานภูเขาไฟ ภูเขาไฟโมนาเคีย (Mauna kea) ในประเทศฮาวาย จะเป็นภูเขาไฟที่สูงที่สุดในโลก โดยมีความสูงจากฐานถึงยอดประมาณ 10,200 เมตร
ยอดเขาเอเวอเรสต์เป็นยอดเขาที่นักปีนเขาหลายคนใฝ่ฝันอยากจะพิชิตยอดเขาแห่งนี้ ในแต่ละปีมีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมากจากการพิชิตยอดเขานี้เนื่องจากสภาพอากาศที่หนาวเย็น ลมแรงและความเบาบางของอากาศ ทำให้ระดับของออกซิเจนน้อย บนยอดเขามีออกซิเจนเพียง 1 ใน 3 ของออกซิเจนในบรรยากาศปกติ ดังนั้น ยอดเขานี้จึงยากนักที่จะมีผู้พิชิตได้
ยอดเขาเอเวอเรสต์เกิดจากเคลื่อนตัวของแผ่นเปลือกโลกอินเดีย (Indian tectonic plate) และแผ่นเปลือกโลกยูเรเชีย (Euresian Plate) มีการเคลื่อนตัวเข้าหากัน ในการชนกันของเปลือกโลกทั้งสองแผ่นนี้ แผ่นเปลือกโลกแผ่นหนึ่งจะมีการมุดตัวเข้าไปกับอีกแผ่นเปลือกโลกหนึ่ง ทำให้เกิดการโก่งตัวของแผ่นเปลือกโลก เกิดการยกตัวขึ้นของภูเขา ทำให้เกิดเป็นยอดภูเขาเอเวอเรสต์ ซึ่งยอดเขานี้จะมีความสูงขึ้นเรื่อยๆทุกๆปี ปีละ 2-4 เซนติเมตร
บริเวณยอดเขาจะมีหิมะและฝน หิมะและฝนเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดการกัดกร่อนของหินภูเขา เรียกว่า การผุพังอยู่กับที่ (Weathering) น้ำฝนจะชะล้างก้อนหินต่าง ๆ ที่ถูกกัดกร่อนลงมายังฐานภูเขา ทำให้ยอดเขามีลักษณะแหลมและเป็นหุบเขาลึก
1. มีการชนกันของเปลือกทวีปของโลก และมีการชนกันทุก ๆ ปี ทำให้มีความสูงของเอเวอเรสต์มีความสูงเพิ่มมากยิ่งขึ้น
2. ยอดเขาเอเวอเรสต์อยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตร การเกาะตัวของธารน้ำแข็งจึงไม่ค่อยหนามากพอที่จะกร่อนหินในแถบยอดภูเขาให้มีความสูงที่ลดลงได้ หินภูเขาจึงไม่ค่อยถูกกัดกร่อนจากธารน้ำแข็งเท่าใดนัก ยอดเขาเอเวอเรสต์จึงมีความสูงที่ไม่ลดลงมาก