สวัสดีค่ะ♥ เราชื่อแพรวนะคะ เราจะมาแชร์ประสบการณ์ที่ได้เข้าร่วมโครงการ ทำ ก่อน ฝัน รุ่นที่4 ได้ไปฝึกงานในอาชีพ นักเวชศาสตร์การกีฬา ที่โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ค่ะ ที่จะเขียนต่อไปนี้ เป็นประสบการณ์ที่เราได้เข้าร่วมโครงการทำก่อนฝันและข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับอาชีพ นักเวชศาสตร์การกีฬา อาชีพที่หลายๆคนอาจจะไม่รู้จักหรือไม่คุ้นเคย มาลองดูกันนะคะว่าจะเป็นยังไง let's go ∼
โครงการทำก่อนฝัน (The Dream Explorers) เป็นโครงการของ ทรูปลูกปัญญา ร่วมมือกับหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ที่เปิดโอกาสให้เด็กมัธยมปลาย ได้ลองศึกษาดูงานในอาชีพที่สนใจ จากการไปฝึกงานในสถานที่จริงกับพี่ๆที่ประกอบอาชีพเหล่านั้น เพื่อเป็นการทำความเข้าใจในอาชีพนั้นเพิ่มมากขึ้น
วันนี้เป็นวัน workshop ซึ่งเป็นวันแรกที่ได้มาพบเจอเพื่อนๆพี่ ที่ได้เข้าร่วมโครงการด้วยกัน มาทำกิจกรรมร่วมกันก่อนได้ไปฝึกงานจริงๆ กิจกรรมในวันนี้ก็จะเป็นการได้ลองค้นหาเป้าหมาย ความถนัดที่ชอบและการวางแผนในอนาคต
วันนี้เป็นวันแรกที่ได้มาดูงาน ที่โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ พี่ๆนักเวชศาสตร์การกีฬาทุกคนน่ารักมากๆ พี่ๆได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับหน้าที่การทำงานของนักเวชศาสตร์การกีฬา และเนื้อหาการเรียนในคณะวิทยาศาสตร์การกีฬาที่เป็นหนทางสู่การเป็นนักเวชศาสตร์การกีฬาอย่างครบถ้วนจนคลายข้อสงสัยที่มีหมดเลย..และได้รับความรู้เกี่ยวกับเรื่องการทดสอบสมรรถภาพ และวิธีการใช้อุปกรณ์ต่างๆในการทดสอบสมรรถภาพร่างกายเบื้องต้นอีกด้วย
วันนี้มีเคสผู้ป่วยที่ได้รับอาการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา เลยได้เห็นพี่ๆรักษาผู้ป่วยโดยนักเวชศาสตร์การกีฬาจะต้องเป็นคนวางแผนการรักษาควบคู่ไปกับคำแนะนำของแพทย์ ซึ่งใช้การออกกำลังกายเป็นการรักษาเพื่อให้ผู้ป่วยกลับมาแข็งแรงตามปกติและสามารถเล่นกีฬาได้ดังเดิม ในช่วงบ่ายพี่ๆได้ให้พวกเราทดสอบสมรรถภาพร่างกายกัน เพื่อทดสอบร่างกายของพวกเราสักหน่อย ><
วันนี้พี่ๆพาพวกเราออกกำลังกายและแนะนำการออกกำลังกายตามความต้องการของเรา (เริ่มรู้สึกเมื่อยเหมือนกันนะเนี่ย ><) และพวกเราก็ได้รับผลการทดสอบสมรรถภาพของเราเมื่อวานโดยจะมีพี่ๆให้ข้อมูลเกี่ยวกับวิธีคิดผล และให้คำแนะนำในส่วนที่เราต้องปรับปรุง เพื่อให้ร่างกายมีสุขภาพที่ดียิ่งขึ้น
เนื่องจากเมื่อวานพี่ๆพาพวกเราออกกำลังกายไปแล้ว วันนี้พวกเราจะเป็นคนพาพี่ๆออกกำลังกาย โดยเราจะต้องวางแผนการออกกำลังกายอย่างเหมาะสมให้กับพี่ๆด้วยตัวเอง เปรียบเสมือนเป็น เทรนเนอร์ ให้กับพี่ๆ หลังจากนั้น พี่ๆได้ให้ความรู้ ในการเต้นแอโรบิก แอโรบ็อกซิ่ง และโยคะ โดยแบ่งให้แต่ละคนเรียนในแต่ละอย่างหลังจากนั้นจะให้แต่ละคนเป็นคนนำเพื่อนๆตามหัวข้อที่เราได้เรียน ( ในส่วนของเรา เราเรียนแอโรบิกค่ะ เพราะเป็นสิ่งเดียวที่พอจะเคยลองมาแล้วบ้าง แต่สุดท้ายการเป็นคนนำนั้นยากจริงๆ เพราะเราต้องนับจังหวะให้ถูก ยังต้องจำท่าและทำท่าให้ถูกจังหวะให้ได้ด้วย) ช่วงบ่ายพี่ๆได้ให้เราลองนำเพื่อนๆ (ในส่วนของเราก็....ผ่านไปด้วยดีค่ะ อาจจะตื่นเต้นไปหน่อย ช่วงแรกเลยนับจังหวะผิดหมดเลย555 แต่สุดท้ายก็ผ่านมาได้ค่ะ)
วันนี้เป็นวันสุดท้ายแล้ว เวลาผ่านไปเร็วมากจริงๆ วันนี้พี่ๆได้ให้พวกเราวางแผนจัดทำโครงการที่เป็นการส่งเสริมสุขภาพให้กับผู้อื่น ซึ่งเป็นอีกงานที่นักเวชศาสตร์การกีฬาจะต้องทำ หลังจากนั้นพี่ๆก็ได้มอบเกียรติบัตรให้กับพวกเรา และก็มีการพูดคุยกันเกี่ยวกับอาชีพนักเวชศาสตร์ และอื่นๆถือว่าเป็นการสรุป เนื้อหาความรู้ทั้งหมดที่เราได้รับและข้อมูลเพิ่มเติมอื่นๆ ก่อนที่จะแยกย้ายกันไป (เวลาผ่านไปไวมากๆเลยค่ะ)♥
ที่เขียนมาทั้งหมดนั้นเป็นประสบการณ์ที่เราได้จากการไปศึกษาดูงานในอาชีพเวชศาสตร์การกีฬา ต่อมาเราจะพาทุกคนไปทำความเข้าใจ เกี่ยวกับนักเวชศาสตร์ให้มากขึ้นโดยเป็นการตั้งคำถาม-ตอบ ลองมาดูกันเลยค่าาาา
ในการรักษาผู้ป่วยจะมีวิธีการรักษาที่แตกต่างกันไปตามแต่ละกรณี โดยนักเวชศาสตร์การกีฬาจะมีหน้าที่รักษา และฟื้นฟูให้ผู้ป่วย กลับมามีสุขภาพที่แข็งแรงดังเดิมหรือดียิ่งกว่าเดิม และให้คำแนะนำเพื่อเป็นการป้องการไม่ให้บาดเจ็บแบบเดิมอีก หากในนักกีฬาอาจจะมีการส่งเสริมสุขภาพเพื่อให้มีประสิทธิภาพในการเล่นกีฬาเพิ่มมากขึ้น โดยการแนะนำ รักษาและส่งเสริมผู้ป่วยหรือนักกีฬาจะแนะนำ รักษาและส่งเสริมโดยการออกกำลังกายอย่างเหมาะสมและเป็นระบบโดยจะทำการรักษาตามคำแนะนำของแพทย์
นักเวชศาสตร์การกีฬาจะทำงานที่โรงพยาบาล
นักเวชศาสตร์จะต้องทำงานร่วมกับหลายๆอาชีพ เนื่องจากผู้ป่วยหนึ่งคนอาจจะต้องได้รับการรักษาในหลายๆด้าน ซึ่งนักเวชศาสตร์จะต้องรักษาให้สอดคล้องกับ อาชีพอื่นๆด้วย
• แพทย์ ในการวินิจฉัยอาการต่างๆของผู้ป่วยเป็นหน้าที่ของแพทย์ ในกรณีที่ผู้ป่วยที่จะต้องได้รับการรักษาจากนักเวชศาสตร์การกีฬา แพทย์จะส่งเคสผู้ป่วยมาให้ดูแลต่อและในการรักษาจะต้องฟังคำแนะนำของแพทย์
• นักกายภาพบำบัด ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงส่วนใหญ่จะต้องได้รับการรักษาจากนักกายภาพบำบัดก่อนที่จะส่งตัวมาให้นักเวชศาสตร์การกีฬา ฟื้นฟู ให้ร่างกายกลับมาแข็งแรงเหมือนเดิม
• นักโภชนาการ ผู้ป่วยที่จะต้องคำนึกถึงการรับประทานอาหาร ขณะได้รับการรักษาหรือฟื้นฟูจากนักเวชศาสตร์การกีฬา ในส่วนของอาหารจะเป็นหน้าที่ของนักโภชนาการในการให้คำแนะนำ
• นักเทคโนโลยีทางการกีฬา คือบุคคลที่ให้ความรู้เกี่ยวกับประดิษฐ์อุปกรณ์และเครื่องมือที่ช่วยในการส่งเสริมและแก้ปัญหา ในการเล่นกีฬา นักเวชศาสตร์การกีฬาสามารถนำอุปกรณ์หรือเครื่องมือเหล่านั้นมาปรับใช้เพื่อรักษาหรือฟื้นฟูผู้ป่วยได้
• นักจิตวิทยา ในกรณีที่ผู้ป่วย ไม่มีแรงจูงใจหรือท้อแท้ในการรักษาหรือฟื้นฟู สุขภาพร่างกายให้กลับมาสมบูรณ์แข็งแรงดังเดิม จะให้นักจิตวิทยา สร้างแรงจูงใจให้กลับผู้ป่วย เป็นการรักษาทางจิตใจของผู้ป่วย
ยังมีอาชีพอีกหลายๆอาชีพที่นักเวชศาสตร์ต้องทำงานร่วมด้วย เพราะ ผู้ป่วยหนึ่งคน อาจจะต้องมีการรักษาหลายๆด้าน
ต้องเป็นบุคคลที่มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี มีจิตใจที่ดีพร้อมที่จะดูแลและให้การรักษากับผู้ป่วย มีความรู้ทางทางด้านสรีระร่างกายต่างๆ เช่น กล้ามเนื้อต่างๆ ต้องมีใจรักในการออกกำลังด้วยเพราะเรารักษาผู้ป่วยด้วยการออกกำลังกาย เราก็ควรจะทำเป็นและเข้าใจอย่างดีว่าจะเป็นอย่างไรถ้าทำแบบนั้น
การทำงานที่เป็นเวลา รายได้ที่เหมาะสม ถ้าหากมีประสบการณ์เยอะ รายได้ก็อาจจะเพิ่มขึ้นได้อีก ถ้าหากทำอาชีพนี้อาจจะมีสุขภาพที่แข็งแรงได้เพราะด้วยการทำงานที่เกี่ยวข้องกับการออกกำลังกาย
ในการเรียนจบคณะวิทยาศาสตร์การกีฬาที่ต่อยอดมาเป็นนักเวชศาสตร์การกีฬาได้นั้น ไม่มีใบประกอบวิชาชีพ ซึ่งส่งผลให้ในการรักษาผู้ป่วยนักเวชศาสตร์การกีฬาอาจจะรักษาได้อย่างไม่เต็มที่มากนัก
"การออกกำลังกาย คือการส่งเสริมสุขภาพที่ยั่งยืน" ( หาเวลาไปออกกำลังกายกันด้วยนะคะ เพื่อสุขภาพที่ดี >< ของตัวเราเอง )
ทั้งหมดที่ได้เขียนเป็นประสบการณ์ดีๆที่เราได้รับจากโครงการ ทำ ก่อน ฝัน รุ่นที่4 อยากจะขอบคุณพี่ๆทุกคน ทั้งพี่ๆของทรูปลูกปัญญา และพี่ๆนักเวชศาสตร์การกีฬาทุกๆคน เพราะสิ่งที่ได้รับนับว่าเป็นประสบการณ์ที่ดีมากๆ ที่หาจากห้องเรียนไม่ได้ และยังได้รับเกียรติบัตรไว้ทำ Portfolio ได้อีกด้วย เป็นโครงการที่ดีมากๆจริงๆค่ะ สำหรับใครที่สนใจสามารถติดตามโครงการดีๆแบบนี้ได้ที่ https://www.facebook.com/TheDreamExplorers ก่อนจะจบก็มีมีกลอนสั้นๆที่แต่งขึ้นเพื่อจะขอบคุณพี่ๆทุกคนค่ะ.....♥
ขอขอบคุณโครงการทำก่อนฝัน
ที่แบ่งปั่นเปิดโอกาสให้น้องน้อง
ก่อนเดิมตามทางความฝันที่หมายปอง
ให้ได้ลองและเข้าใจอย่างแท้จริง