Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

ฮีโมโกลบินกับแก๊สคาร์บอนมอนอกไซด์

Posted By Guide NT | 04 พ.ย. 62
42,685 Views

  Favorite

ฮีโมโกลบินกับแก๊สคาร์บอนมอนอกไซด์เกี่ยวข้องกันอย่างไร

ภาพ : Shutterstock

 

ฮีโมโกลบิน (Hemoglobin : Hb) เป็นก้อนโปรตีนที่อยู่บนผิวของเม็ดเลือดแดง เกิดจากพอลิเพปไทด์ (polypeptide)สายมารวมกัน และมีธาตุเหล็ก (Fe) เป็นองค์ประกอบที่สำคัญจึงทำให้เลือดมีสีแดง ซึ่งฮีโมโกลบินบนผิวของเม็ดเลือดแดงมีหน้าที่ในการลำเลี้ยงแก๊สออกซิเจน (O2) และแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ในระบบทางเดินหายใจ (respiratory system) ดังนี้

 

1. เมื่อฮีโมโกลบินจับกับแก๊สออกซิเจนที่ตำแหน่งของธาตุเหล็กจะกลายเป็นออกซีฮีโมโกลบิน (Oxyhemoglobin : HbO2)

              Hb     +     O2           →          HbO(ออกซีฮีโมโกลบิน)

ภาพ : Shutterstock

 

2. เมื่อฮีโมโกลบินจับกับแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ ตำแหน่งของธาตุเหล็กจะกลายเป็นคาร์บามิโนฮีโมโกลบิน (Carbaminohemoglobin : HbCO2)

              Hb     +     CO2         →          HbCO(คาร์บามิโนฮีโมโกลบิน)

 

แต่ฮีโมโกลบินมีความสามารถในการจับกับแก๊สคาร์บอนมอนอกไซด์ได้เร็วกว่าแก๊สออกซิเจนถึง 200 – 250 เท่า เนื่องจากแก๊สคาร์บอนมอนอกไซด์สามารถแพร่ผ่านเยื่อบาง ๆ ระหว่างถุงลมกับเส้นเลือดฝอยในปอด (alveolar capillary membrane) ได้อย่างรวดเร็ว กลายเป็นคาร์บอกซีฮีโมโกลบิน (Carboxyhemoglobin : HbCO) ซึ่งเป็นสารประกอบที่มีพันธะแข็งแรงมากกว่าออกซีฮีโมโกลบินและคาร์บามิโนฮีโมโกลบิน

              Hb     +     CO          →          HbCO (คาร์บอกซีฮีโมโกลบิน)

ภาพ : Shutterstock

 

ดังนั้น หากตกอยู่ในสถานการณ์ที่อากาศมีความเข้มข้นของแก๊สคาร์บอนมอนอกไซด์สูงและเป็นเวลานาน เช่น การนอนหลับในรถที่สตาร์ตเครื่องทิ้งไว้ในบริเวณที่อากาศถ่ายเทไม่สะดวก จะทำให้ร่างกายได้รับแก๊สคาร์บอนมอนอกไซด์มากเกินไป และร่างกายจะเกิดสภาวะขาดแก๊สออกซิเจนเฉียบพลันถึงขั้นเสียชีวิตได้

 

 

บทความที่เกี่ยวข้อง

- ก๊าซพิษ อันตรายจากภาวะขาดออกซิเจน

 

 

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
Tags
  • Posted By
  • Guide NT
  • 2 Followers
  • Follow