Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

ไนโตรเจนเหลวกับไข่ดาวเย็น

Posted By Ram Tiwari | 15 มี.ค. 62
9,327 Views

  Favorite

เมื่อตอกไข่ดิบออกมาไข่ขาวกับไข่แดงจะแยกกันอยู่ เดิมไข่ขาวมีเยื่อบาง ๆ หุ้มอยู่ ดังรูป แต่เมื่อตอกไข่เยื่อจะขาดไข่ขาวจึงไหลออกมา

ภาพ : Ram Tiwari

 

เมื่อพิจารณาไข่แช่น้ำส้มสายชู จะเห็นได้ว่าเยื่อนี้เหนียวพอควร  สามารถทนโมเมนตัมที่ปล่อยไข่ที่ระดับสูง 50 cm. ได้  แต่สูงกว่านี้ไข่ก็แตก เมื่อแยกไข่ขาวออกจะเห็นได้ว่า ไข่แดงก็มีเยื่อบาง ๆ เหมือนกัน  

 

เมื่อตอกไข่ลงในน้ำมันที่ร้อนจะได้ไข่ดาวร้อน ๆ ดังรูป ฉันใด เมื่อเทไนโตรเจนเหลวลงไปในไข่ที่ตอกแล้ว ในภาชนะที่ไม่มีไฟเผาไหม้ก็จะได้ไข่ดาวเย็นจัดฉันนั้น

ภาพ : Ram Tiwari

 

ภาพ : Ram Tiwari

 

ปกติถ้าน้ำมันเดือดลวกผิวหนังจะเกิดการไหม้ร้อน  อาการคือจะพองมีน้ำขังด้านใน ในขณะเดียวกันถ้าผิวหนังโดนไนโตรเจนเหลวที่เย็นจัดมีอุณหภูมิที่ – 196 ํC ก็จะเดือดและผิวหนังจะไหม้เย็น อาการคือ แห้งไม่มีน้ำขัง ไม่พอง แต่แสบและเจ็บปวดเหมือนกัน


เมื่อนำพืช ผัก และดอกไม้ไปผัดน้ำมันร้อน ๆ จะทำให้สุกโดยทำให้น้ำระเหยออกด้วยการเดือดร้อน แต่สำหรับไนโตรเจนเหลวที่เย็นยะเยือกที่ – 196 ํC เมื่อแช่ดอกไม้หรือทอดลงไปจะเดือดเย็น ดังรูป

ภาพ : Ram Tiwari

 

น้ำในดอกไม้จะแข็ง ทำให้ดอกไม้กรอบเมื่อทุบกับโต๊ะจะแตกกระจาย แต่ถ้าปล่อยไว้จะกลับสู่สภาพเดิม เช่นเดียวกัน ไข่ดาวเย็นก็เหมือนกับน้ำ จะแข็งสภาพของไข่เหมือนกับไข่ดาวปกติ  คือ ไข่มีสีขาวรอบนอกและเหลืองส้มเป็นก้อนที่ไข่แดง แตกต่างจากไข่ดาวปกติ คือ เมื่อทิ้งให้ไข่ดาวเย็นลง โปรตีนที่เสียสภาพไปจะไม่กลับคืน  ในขณะที่ไข่ดาวเย็นเมื่อกลับสู่อุณหภูมิห้อง ทั้งน้ำและโปรตีนก็จะกลับสู่สภาพเดิม เราจึงใช้ไนโตรเจนเหลวเก็บเซลล์ของสิ่งมีชีวิตไว้ได้นาน  เมื่อต้องการใช้ก็เอาออกมาวางให้เข้าสู่สภาพปกติที่อุณหภูมิห้องต่อไป

และนี่คือประโยชน์ของไนโตรเจนเหลว

 

 

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
Tags
  • Posted By
  • Ram Tiwari
  • 2 Followers
  • Follow