เมื่อพิจารณาตามหลักของอากาศพลศาสตร์ (Aerodynamics) ยานยนต์ทั้งหลายถูกออกแบบให้ลดแรงต้านของอากาศในส่วนที่สัมผัสกับอากาศทั้งสิ้น ยิ่งในกรณีที่ต้องการทำความเร็ว เช่น การแข่งปั่นจักรยาน แม้กระทั่งการโกนขนแขนหรือขนขาก็ยังต้องใช้หลักการนี้ นั่นคือ แรงเสียดทานที่ไม่ได้เกี่ยวกับแรงขับเคลื่อนต้องลดแรงเสียดทานทั้งสิ้น เช่นเดียวกับกรณีของตลับลูกปืนรอบดุมล้อรถสามล้อมีไว้เพื่อลดแรงเสียดทาน
พิจารณายาน Hower Craft ของเล่น ดังรูป
เมื่อเป่าลูกโป่งติดกับตัวยานแล้วปล่อย ลูกโป่งจะพ่นลมออกมาสองทางคือ ทางรูเล็กๆทั้งหลายที่อยู่ที่ท้องยาน และรูเล็ก ๆ สองรูด้านหลังยาน ดังรูป
ลมที่พ่นออกมาทางท้องยานจะทำให้ยานลอยมีอากาศคั่นกลางระหว่างยานกันพื้นทำให้แรงเสียดทานน้อยมาก เมื่อเกิดแรงดันจากลมที่พ่นออกมาทางรูเล็กๆสองช่องด้านหลังยานจะทำให้ยานเคลื่อนที่ไปข้างหน้า ตามกฎการเคลื่อนที่ข้อที่สองของนิวตัน คือ
การที่ยานลอยตัวแล้วทำให้ลดแรงเสียดทานได้นั้น มาจากค่าของแรงเสียดทาน (friction force : f )
เมื่อออกแรงผลัก วัตถุมวล m ไปบนพื้นดังรูป จะมีแรงเสียดทานจากพื้นกระทำต่อวัตถุทันที เป็นแรงต้านการเคลื่อนที่ของวัตถุ แรง มีค่าเท่ากับ
= สัมประสิทธ์แรงเสียดทานขึ้นกับชนิดของคู่พื้นผิวสัมผัส
N = แรงปฏิกิริยาตั้งฉาก ที่พื้นกระทำต่อวัตถุ
ในกรณีนี้ N จะมีค่าเท่ากับ mg คือน้ำหนักของวัตถุ เมื่อลมพ่นจากลูกโป่งออกทางรูด้านล่างเป็นแรงกริยาปะทะกับพื้นโต๊ะ ทำให้เป็นชั้นอากาศบาง ๆ แรงลมกระทำกับยานเป็นแรงปฏิกิริยาทำให้ยานลอยขึ้น ทำให้ N เป็นศูนย์ นั่นคือ แรงเสียดทานเป็นศูนย์ เมื่อออกแรงผลักยานเพียงเล็กน้อยวัตถุจึงเคลื่อนที่ไปได้เรื่อย ๆ ดังรูป