Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

แรงเสียดทานในการเคลื่อนที่

Posted By Ram Tiwari | 27 ก.พ. 62
41,664 Views

  Favorite

เมื่อมีการเคลื่อนที่ สิ่งที่เกิดขึ้นมาคู่กันคือ แรงเสียดทาน บางการเคลื่อนที่ต้องการแรงเสียดทานจึงจะเกิดการเคลื่อนที่ และอาจจะต้องเพิ่มแรงเสียดทานให้มาก ๆ  บางการเคลื่อนที่แรงเสียดทานจะต้านการเคลื่อนที่จึงต้องลดแรงเสียดทานให้น้อยลง เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น ?  มาไขปริศนากัน

 

เมื่อเราก้าวขาเพื่อเดินไปข้างหน้า กลไกการขับเคลื่อนไปข้างหน้าของตัวเราเป็นดังรูป

ภาพ : Ram Tiwari

 

เมื่อพิจารณาจากรูป  จะเห็นว่าการที่เราถีบเท้าไปด้านหลังมีผลทำให้เกิดแรงเสียดทานดันเท้าไปข้างหน้า  นั่นคือ กลไกสำคัญของการก้าวออกไปข้างหน้าได้ หากพื้นลื่นขึ้นมาเมื่อใด เราจะก้าวขาออกไปยากขึ้นเนื่องจากแรงเสียดทานน้อยไม่เพียงพอที่จะดันให้เท้าไปข้างหน้าได้

 

เมื่อผลักรถเข็นดังรูปออกไป เนื่องจากไม่มีแรงขับเคลื่อนจากเครื่องยนต์หรือแหล่งพลังงานอื่น ล้อรถจะหมุนในทิศตามเข็มนาฬิกาด้วยแรงเสียดทานที่พื้นกระทำกับขอบล้อที่สัมผัสพื้น แรงเสียดทานจึงมีบทบาทสำคัญ

 

ล้อรถหมุนในทิศตามเข็มนาฬิกา มีแรงเสียดทานที่พื้นกระทำในทิศตรงข้ามกับทิศการเคลื่อนที่ของรถ

ภาพ : Ram Tiwari

 

ภาพ : Ram Tiwari

 

ภาพ : Ram Tiwari

 

ในขณะที่รถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยล้อหน้าจะมีแรงบิดกระทำต่อเพลา ทำให้เพลาและล้อหมุนในทิศตามเข็มนาฬิกาด้วยแรงบิดของเครื่องยนต์ แรงเสียดทานที่พื้นสัมผัสกระทำต่อล้อรถจะมีทิศไปในทิศเดียวกับทิศการเคลื่อนที่ของรถ  ดังรูป

 

จากรูปสรุปได้ว่า แรงเสียดทาน ( ) ขับเคลื่อนรถไปข้างหน้าเกิดขึ้นเมื่อล้อหมุนด้วยแรงบิดของเครื่องยนต์ในทิศตามเข็มนาฬิกา ดังนั้น ถ้าล้อหน้าของรถตกหล่มโคลนที่ลื่นล้อก็จะหมุนฟรีและรถจะอยู่กับที่ ดังนั้น ในกรณีเหล่านี้แรงเสียดทานมีบทบาทขับเคลื่อนให้เกิดการเคลื่อนที่ เราต้องการเพิ่มแรงเสียดทานเพื่อช่วยในการขับเคลื่อน และนี่คือปริศนาแรกของแรงเสียดทาน

 

 

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
Tags
  • Posted By
  • Ram Tiwari
  • 2 Followers
  • Follow