อยากรู้ไหมว่าทำไมเราถึงได้งอแงเวลามีความรัก มักจะอิจฉาคู่รักที่เป็นผู้ใหญ่ มันไม่ได้แปลว่าเราเด็ก หรือไม่เข้าใจความรักหรอกนะ แต่เป็นเพราะสมองส่วนหน้ายังพัฒนาไม่เต็มที่ เลยทำให้มีอาการงอแงบ้าง
อายุ 15-18 ปี สมองส่วนหน้ายังพัฒนาไม่เต็มที่ ทำให้หงุดหงิดง่าย เจ้าอารมณ์ ใช้อารมณ์มากกว่าเหตุผล
อายุ 25 ปีขึ้นไป สมองส่วนหน้าพัฒนาเต็มที่ ทำให้คิดหน้าคิดหลัง ใจเย็น มีเหตุผล มีความเป็นผู้ใหญ่
มีสารเคมีที่เป็นตัวเอกในเรื่องรักโรแมนติกอยู่ 6 ตัวที่เราต้องรู้ จากการวิจัยของ เฮเลน ฟิชเชอร์ นักมานุษยวิทยาที่เชี่ยวชาญเรื่องรักโรแมนติก พบว่า ถ้ามีฮอร์โมนเหล่านี้มาก คู่รักจะรักกันมาก ถ้ามันเริ่มลดลงนั่นแปลว่า คู่รักจะเริ่มเหินห่างหรืออยากเทกัน
โดพามีน (Dopamine) ฮอร์โมนแห่งการสร้างความรู้สึกปลาบปลื้ม หลงรัก
เอสโตรเจน (Estrogen) ฮอร์โมนเพศหญิงมีบทบาทสร้างเสน่ห์แบบผู้หญิง
เทสโทสเตอโรน (Testosterone) ฮอร์โมนเพศชายมีบทบาทดึงดูดเพศตรงข้าม
อะดรีนาลีน (Adrenaline) ฮอร์โมนแห่งความสุขจากความรัก
เซโรโทนิน (Serotonin) ฮอร์โมนแห่งความรักลึกซึ้ง อบอุ่น มีเหตุผล
ออกซิโทซิน ( Oxytocin) ฮอร์โมนแห่งความสุขจากการได้สัมผัสคนรัก
ทำไมเราถึงนก โดนเททุกที การโดนเท คือ การที่คุยกันอยู่ดี ๆ อีกฝ่ายก็หายไป ไลน์ไม่ตอบ ขาดการติดต่อ |
-- 3 นาทีแรก --
ฮอร์โมนเด่น = ฮอร์โมนเพศ - โดพามีน - อะดรีนาลีน
ช่วงเวลาที่เราปิ๊งใคร นอกจากจะเป็นเรื่องของพรหมลิขิตแล้ว ด้านวิทยาศาสตร์คือ เรื่องของฮอร์โมนเพศของคนสองคนที่ดึงดูดกันพอดีเป๊ะ ซึ่งมันใช้เวลาเพียง 3 นาทีเท่านั้น ก่อนสารโดพามีนและอะดรีนาลีนจะมิกซ์กันอย่างพอดี หลั่งออกมาให้รู้สึกว่าคนนี้ใช่ ! ไอ้อาการหัวใจเต้นแรงเวลาเจอคนที่ใช่ ก็เพราะฮอร์โมน 3 ตัวนี้เลย
ฮอร์โมนแห่งรักแรกพบ
ฮอร์โมนเพศ ได้แก่ เทสโทสเตอโรนและเอสโตรเจน ปล่อยความมีเสน่ห์ต่อเพศตรงข้าม
โดพามีน ทำให้รู้สึกดี ตื่นตัว หมกมุ่น มีความสุข
อะดรีนาลีน ทำให้ใจเต้นแรง เหงื่อแตก ทำตัวไม่ถูก
ทำไมเราถึงรักคนนี้ไม่รักคนอื่น
ที่บอกว่าเนื้อคู่มักหน้าตาคล้ายกัน จริง ๆ แล้ว คนเรามักจะมองหาคนที่มีบางสิ่งคล้ายตัวเองต่างหาก เฮเลน ฟิชเชอร์ นักมานุษยวิทยา พยายามที่จะหาเหตุผลมาอธิบายว่า ทำไมเราถึงรักคนนี้ไม่รักคนอื่นได้คร่าว ๆ ดังนี้
มาจากฐานะทางบ้านใกล้เคียงกัน
มีความฉลาดเท่ากัน
มีระดับความแข็งแรง หน้าตาดีพอกัน
มีค่านิยมทางศาสนาเหมือนกัน
มีประสบการณ์ในวัยเด็กคล้ายกัน
-- 1-5 เดือนแรก --
ฮอร์โมนเด่น = โดพามีน - อะดรีนาลีน - เซโรโทนิน
เป็นช่วงที่ทำให้ชีวิตรักเราสดใส เพอร์เฟคที่สุด เอาแต่นั่งฝันเพ้อ ละเมอถึงคนรัก รู้สึกอิ่มอกอิ่มใจ มีพลังเยอะ เขาหรือเธอทำอะไรก็น่ารักไปหมด อยากลองทำอะไรที่เขาชอบ รวมถึงการมองข้ามข้อเสียต่าง ๆ ของคนรักไปด้วย
ฮอร์โมนแห่งความรัก
โดพามีน ทำให้มีความสุข มีพลังเยอะ กระตุ้นอยากทำทุกอย่างให้เขารักตอบ
อะดรีนาลีน ทำให้เขินอาย ประหม่า หน้าแดง หัวใจเต้นแรง ทำตัวไม่ถูกต่อหน้าคนที่ชอบ
เซโรโทนิน ทำให้คิดถึง เหงา กระวนกระวายเพราะรัก
.
-- เข้าเดือนที่ 5 --
ฮอร์โมนเด่น = โดพามีน - ออกซิโทซิน
ช่วงหมดโปรโมชั่นในแง่ของวิทยาศาสตร์ไม่ได้แปลว่าเรากำลังหมดรักกันนะ แต่เป็นเพราะสารเคมีในสมองเริ่มจะหมดอายุขัยต่างหาก ร่างกายจะเริ่มดื้อ และเคยชินกับสารเคมีในช่วงตกหลุมรัก ทำให้เลิกคุยโทรศัพท์ยันเช้า ข้อเสียที่เคยรับได้ก็อาจรับไม่ได้ เป็นช่วงที่หลายคู่ต้องเลือกระหว่างจะเลิกหรือไปต่อดี
ฮอร์โมนที่ทำให้หมดรัก
ในช่วงนี้ควรหมั่นเติมสารเคมีให้กับความรัก เพราะถ้าปล่อยให้มันหมด ก็แปลว่าหมดรักนั่นเอง
เพิ่มโดพามีน โดยการสร้างเซอร์ไพรส์ ทำอะไรที่คาดไม่ถึงให้กันบ่อย ๆ
เติมออกซิโทซิน โดยการสัมผัสกัน กอดกัน จับมือกัน เพื่อเพิ่มความผูกพัน
หาขนมหวานกิน ก่อนจะทะเลาะกัน เพราะถ้าน้ำตาลในเลือดน้อยเวลาทะเลาะจะยิ่งโมโห
ทำไมบางคนถึงเจ้าชู้จัง เฮเลน ฟิชเชอร์ นักมานุษยวิทยา ได้อธิบายว่าทำไมคนเราถึงได้นอกใจกันไว้อย่างน่าสนใจว่า |
-- หลัง 6 เดือน-1 ปี --
ฮอร์โมนเด่น = ออกซิโทซิน - วาโซเพรสซิน
รักในช่วงนี้จะไม่หวือหวา แต่จะกลายเป็นรักความผูกพันอันแข็งแรง อบอุ่น อยากดูแล หากคู่รักผ่านด่านช่วงหมดโปรโมชั่นมาได้ ฮอร์โมนแห่งรักจะกลายเป็นฮอร์โมนแห่งความผูกพันอย่างที่เรามีให้เพื่อนหรือคนในครอบครัวนั่นเอง
ฮอร์โมนแห่งรักผูกพัน
ออกซิโทซิน หรือ สารเคมีที่เกิดจากการได้คลอเคลียกับคนรัก การกอด สัมผัสคนรัก ทำให้รู้สึกอยากปกป้องดูแล ให้อีกคนมีความสุข เหมือนที่แม่รักลูก
วาโซเพรสซิน หรือ สารเคมีรักเดียวใจเดียว ทำให้รักกันลึกซึ้ง รักแบบผู้ใหญ่ ไม่หึงหน้ามืดตามัว มีสติมากขึ้น
แหล่งข้อมูล
- สมองวัยรุ่นเมื่อมีความรัก. สืบค้นเมื่อวันที่ 21 ธ.ค. 2561 จาก https://thepotential.org
- Love and the Brain. สืบค้นเมื่อวันที่ 21 ธ.ค. 2561 จาก http://neuro.hms.harvard.edu
- วิทยาศาสตร์ว่าด้วยการตกหลุมรัก. สืบค้นเมื่อวันที่ 21 ธ.ค. 2561 จาก https://ngthai.com
- The brain in love โดย Helen Fisher. สืบค้นเมื่อวันที่ 21 ธ.ค. 2561 จากhttps://www.ted.com
- จะทำอย่างไร ถ้ารักเราเริ่มจืดจาง. สืบค้นเมื่อวันที่ 24 ธ.ค. 2561 จาก www.facebook.com/TheoryofLovebyDr.Pi
- ความรัก.. แท้จริงคือสารเคมี (ในสมอง). สืบค้นข้อมูลเมื่อวันที่ 25 ธ.ค. 2561 จาก www.facebook.com/PsychologistCafe
- วิทยาศาสตร์กับการตกหลุมรัก. สืบค้นเมื่อวันที่ 25 ธ.ค. 2561 จาก http://theoryoflove.space
- จะทำอย่างไร ถ้ารักเราเริ่มจืดจาง. สืบค้นเมื่อวันที่ 26 ธ.ค. 2561 จาก https://ngthai.com
- Why we love, why we cheat โดย Helen Fisher. สืบค้นเมื่อวันที่ 02 ม.ค. 2562 จาก https://www.ted.com
- Anthropologist explains why we cheat on people we love. สืบค้นเมื่อวันที่ 03 ม.ค. 2562 จาก www.businessinsider.com
เรื่อง : วัลญา นิ่มนวลศรี