1. เขียนติดกัน เป็นการนำคำสองคำมาเขียนติดกันเป็นคำเดียวกันแล้วได้ความหมายใหม่ เช่น
home (บ้าน) + work (งาน) = homework (การบ้าน)
fire (ไฟ) + fly (บิน) = firefly (หิ่งห้อย)
bed (เตียง) + room (ห้อง) = ห้องนอน
2. เขียนแยกกันโดยไม่ใส่เครื่องหมาย hyphen (-) คั่น เช่น
ice (น้ำแข็ง) + cream (ครีม) = ice cream (ไอศกรีม)
full (เต็ม) + moon (พระจันทร์) = full moon (พระจันทร์เต็มดวง, เดือนเพ็ญ)
taxi (รถแท็กซี่) + driver (คนขับรถ) = taxi driver (คนขับรถแท็กซี่)
3. เขียนแยกกันโดยมีเครื่องหมาย hyphen (-) คั่น เช่น
daughter (ลูกสาว) + in (ใน) + law (กฎหมาย) = daughter-in-law (ลูกสะใภ้)
merry (ร่าเริง, สนุกสนาน) + go (ไป) + round (หมุนรอบ) = merry-go-round (ม้าหมุน)
over (เหนือ, บน) + the + counter (เคาท์เตอร์หรือโต๊ะขนาดยาว) = over-the-counter (ซื้อโดยตรง)
1. Compound noun คือ คำสองคำหรือมากกว่ามาประสมกันโดยคำหน้าเป็นคำขยาย คำหลังเป็นคำหลัก เมื่อประสมกันแล้วจะได้ความหมายใหม่และทำหน้าที่เป็นคำนาม โดยรูปแบบการเขียนมีทั้งเขียนติดกัน เขียนแยกแบบมี hyphen (-) คั่น และเขียนแยกแบบไม่มี hyphen (-) คั่น ซึ่ง Compound noun สามารถเกิดได้จากคำหลายประเภทมาประสมกัน ดังนี้
1.1. Noun + Noun เช่น
tooth + paste = toothpaste (ยาสีฟัน)
foot + ball = football (ฟุตบอล)
air + port = airport (สนามบิน)
sun + flower = sunflower (ดอกทานตะวัน)
life + time = lifetime (ตลอดชีวิต, ชั่วชีวิต)
1.2. Noun + Verb เช่น
hair + cut = haircut (ทรงผม, การตัดผม)
car + go = cargo (สินค้า)
moon + walk = moonwalk (ท่าเต้นมูนวอล์ก)
hand + shake = handshake (การจับมือ)
rain + fall = rainfall (ปริมาณน้ำฝน)
1.3. Noun + Preposition เช่น
hanger + on = hanger on (ไม้แขวนเสื้อ)
son + in + law = son-in-law (ลูกเขย)
mother + in + law = mother-in-law (แม่ยาย)
1.4. Verb + noun : โดย verb จะเป็นรูป v.ing หรือ Gerund เช่น
washing + machine = washing machine (เครื่องซักผ้า)
swimming + pool = swimming pool (สระว่ายน้ำ)
driving + licence = driving licence (ใบขับขี่)
1.5. Verb + Preposition เช่น
look + out = lookout (การระมัดระวัง, การเฝ้าดู)
check + in = check-in (เช็กอิน หรือการลงทะเบียนเข้าพัก)
turn + about = turnabout (การหมุนรอบ, การหันกลับ, การเปลี่ยนแปลงความคิดเห็น)
1.6. Preposition + Noun เช่น
under + world = underworld (ยมโลก, พวกนักเลง)
on + looker = onlooker (ผู้เห็นเหตุการณ์, ผู้ดู, ผู้ชม)
1.7. Adjective + Noun เช่น
gentle + man = gentleman (สุภาพบุรุษ)
black + smith = blacksmith (ช่างตีเหล็ก)
loud + speaker = loudspeaker (ลำโพง, เครื่องกระจายเสียง)
monthly + ticket = monthly ticket (ตั๋วรายเดือน)
common + room = common room (ห้องรวม, ห้องโถงพักผ่อนของนักศึกษา)
1.8. Adjective + Verb เช่น
slow + down = slowdown (การถ่วงงาน)
dry + cleaning = dry-cleaning (การซักแห้ง)
1.9. Preposition + Verb เช่น
out + put = output (ผลผลิต)
over + throw = overthrow (ความล้มเหลว, การล้มล้าง)
การทำ Compound Nouns เป็นรูปพหูพจน์ (Plural) นั้นไม่ยากโดยเฉพาะคำที่มี hyphens โดยปกติเราสามารถใส่ ‘s’ ไปที่คำนามได้เลยเช่น daughters-in-law และบางครั้ง ‘s’ จะอยู่ท้ายคำ เช่น go-betweens, higher-ups อย่างไรก็ตามตามแบบฟอร์มแล้วมักจะเติม ‘s’ ที่ท้ายคำนาม เช่น full moons.
การทำ Compound Nouns ให้อยู่ในรูปแสดงความเป็นเจ้าของ (possessive) โดยปกติเราจะเติม apostrophe s (’s) ไปที่ท้ายคำ เช่น son-in-law’s car (รถของลูกเขย) ถ้า Compound word เป็นพหูพจน์เราสามารถเติม ‘s’ และใส่ ’s ได้ แต่จะแปลกนิดหน่อย เช่น daughters-in-law’s attire. ดังนั้นถ้าเป็นไปได้เปลี่ยนประโยคใหม่เป็น the attire of the daughters-in-law. จะดีกว่า เพราะคำประสมที่เป็นพหูพจน์ไม่จำเป็นต้องแสดงความเป็นเจ้าของ
2. Compound Adjective คือการนำคำสองคำมาประสมกันแล้วได้ความหมายใหม่ ทำหน้าที่เป็นคำคุณศัพท์ โดยปกติจะมีเครื่องหมาย hyphen (-) คั่นระหว่างสองคำหรือมากกว่า คำประเภทต่าง ๆ มาประสมกันเป็น Compound Adjective ดังนี้
2.1. Adjective + Adjective เช่น
a dark-blue uniform (เครื่องแบบสีน้ำเงินเข้ม)
2.2. Adjective + Noun เช่น
a last-minute decision (การตัดสินใจเพียงชั่วเวลาสั้น ๆ)
2.3. Noun + Adjective เช่น
a world-famous restaurant (ร้านอาหารที่มีมีชื่อก้องโลก)
a navy-blue shirt (เสื้อสีกรมท่า)
นอกจากนี้ยังมี Compound Adjective ที่เกิดจาก จำนวน + ช่วงเวลา โดยคำที่แทนช่วงเวลานั้นจะอยู่ในรูปเอกพจน์หรือคำนามเอกพจน์ และมีเครื่องหมาย hyphen คั่นด้วย เช่น
a ten-minute delay (ล่าช้า 10 นาที)
a two-week vacation (พักร้อน 2 สัปดาห์)
a seventeen-year-old girl (เด็กสาวอายุ 17 ปี)
ข้อควรระวัง : เราจะเขียนจำนวนด้วยตัวหนังสือ จะไม่เขียนเป็นตัวเลข
2.4. Adjective/Adverb/Noun + Past Participle (V.3) เช่น
a strong-willed child (เด็กดื้อรั้น, เด็กหัวแข็ง)
narrow-minded people (คนใจแคบ)
a highly esteemed businessman (นักธุรกิจที่ได้รับการยกย่อง)
a home-made cake (เค้กที่ทำเองที่บ้าน)
2.5. Adjective/Adverb/Noun + Present Participle (V.ing) เช่น
a good-looking girl (ดูดี, มีหน้าตาดี)
a far-reaching effect (ผลกระทบที่มีอิทธิพลในวงกว้าง)
a heart-breaking story ( เรื่องราวที่สะเทือนใจ)
2.6. Adjective + Noun เติม ed เช่น
a blue-eyed boy (เด็กชายที่มีตาสีฟ้า)
a green-uniformed soldier (ทหารเครื่องแบบสีเขียว)
1. เราจะใช้ hyphen (-) เมื่อ Compound Adjective อยู่หน้าคำนาม แต่เมื่อใดที่อยู่หลังคำนามจะไม่ใช้ เช่น
He is a world-famous singer.
This singer is world famous.
2. ถ้าสามารถใช้ ‘and’ คั่นระหว่างคำ Adjectives หรือ คำสองคำได้ ก็ไม่จำเป็นต้องใช้ hyphen (-) เช่น
He has a big red hat.
เราสามารเขียนแยกได้ว่า He has a big and red hat. ดังนั้นจึงไม่ต้องใส่ hyphen (-) ก็ได้