สัจจะนี้ เป็นหนึ่งบารมีของพระพุทธเจ้า ที่ได้สั่งสมอบรมมาทุก ๆ พระองค์ จะเว้นเสียสักพระองค์หนึ่งไม่ได้เลย
.........................................
นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส
นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส
นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺสฯ
นตฺถิ เม สรณํ อญฺญํ ที่พึ่งอื่นของเราไม่มี
พุทโธ เม สรณํ วรํ พระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งอันประเสริฐของเรา
เอเตน สจฺจวชฺเชน ด้วยการกล่าวสัจนี้
โสตฺถิ เต โหตุ สพฺพทา ขอความสวัสดีจงมีแก่ท่านทุกเมื่อ
นตฺถิ เม สรณํ อญฺญํ ที่พึ่งอื่นของเราไม่มี
ธมฺโม เม สรณํ วรํ พระธรรมเป็นที่พึ่งอันประเสริฐของเรา
เอเตน สจฺจวชฺเชน ด้วยการกล่าวสัจนี้
โสตฺถิ เต โหตุ สพฺพทา ขอความสวัสดีจงมีแก่ท่านทุกเมื่อ
นตฺถิ เม สรณํ อญฺญํ ที่พึ่งอื่นของเราไม่มี
สงฺโฆ เม สรณํ วรํ พระสงฆ์เป็นที่พึ่งอันประเสริฐของเรา
เอเตน สจฺจวชฺเชน ด้วยการกล่าวสัจนี้
โสตฺถิ เต โหตุ สพฺพทา ขอความสวัสดีจงมีแก่ท่านทุกเมื่อ
ด้วยสัจจกิริยาของลูกนกคุ่มโพธิสัตว์
ไฟจะไม่ลุกหรือแม้จุดไฟก็ไม่ติดไปตลอดกัป(ภัทรกัป)
ตามคัมภีร์พระพุทธศาสนาใน อรรถกถาชาดก ได้กล่าวไว้ว่า
เมื่อครั้งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นพระโพธิสัตว์และทรงถือกำเนิดเป็น ลูกนกคุ่ม นกพ่อแม่ทำรังอยู่ในป่า ทิ้งให้ลูกนกนอนอยู่ในรัง ส่วนนกสองตัวผัวเมียก็ออกไปหาเหยื่อมาป้อน ยังมิทันที่ลูกนกจะมีกำลังกางปีกบินและยกเท้าก้าวเดินได้ก็พอดีถึงฤดูไฟไหม้ป่า ไฟเกิดไหม้ป่าลุกลามมาเสียงดังสนั่นหวั่นไหว บรรดาฝูงนกทั้งหลายต่างกลัวตาย พากันส่งเสียงร้องเอ็ดอึงบินออกจากรังของตนหนีไป นกคุ่มพ่อแม่ทั้งสองของพระโพธิสัตว์ก็กลัวตาย จึงทิ้งพระโพธิสัตว์ไว้ในรังแล้วพากันบินหนีไปเช่นกัน พระโพธิสัตว์นอนอยู่ในรังยืดคอออกดู เห็นไฟป่ากำลังลุกลามท่วมท้นเข้ามาจึงรำพึงว่า
"....ถ้าข้าพเจ้ามีกำลังกางปีกบินไปในอากาศได้ ข้าพเจ้าก็จะบินไปที่อื่น ถ้าข้าพเจ้ามีแรงยกขาเดินไปบนพื้นดินได้ ข้าพเจ้าก็จะก้าวขาเดินไปที่อื่น ทั้งพ่อและแม่ของข้าพเจ้าก็กลัวตายทิ้งข้าพเจ้าไว้แต่ผู้เดียว ต่างเอาตัวรอดบินหนีไปแล้ว บัดนี้ข้าพเจ้าไม่มีที่พึ่งอื่น ตัวเองก็หาคุ้มครองตัวเองได้ไม่ ตัวเองหาเป็นที่พึ่งแก่ตัวไม่ วันนี้ข้าพเจ้าควรทำอย่างไรดีหนอ
ครั้นแล้วก็คิดได้ว่า ในโลกนี้มีคุณ
อนึ่ง คุณธรรมทั้งหลายที่พระสัพพัญญูพุทธเจ้าทรงรู้แจ้งแทงตลอดมีอยู่ เรื่องนี้เป็นสัจจะ คือความจริง แม้ในตัวข้าพเจ้าเองก็มีสัจจะ 3 ประการปรากฏอยู่ เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าควรระลึกถึงพระพุทธเจ้าทั้งหลายที่ล่วงลับไปแล้ว พร้อมทั้งคุณธรรมที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงบรรลุแล้วนั้น ยึดเอาสัจจะที่มีอยู่ในตัวข้าพเจ้ามาทำสัจจกิริยา ขอให้ไฟป่าถอยกลับไป ทำความสวัสดีให้เกิดแก่ตนเองและฝูงนกทั้งหลายด้วย....."
ครั้นแล้ว ลูกนกคุ่มก็ทำสัจจกิริยา(ซึ่งภายหลังเรียกว่า วัฏฏกะปริตร) ไฟไหม้ป่าก็ดับไปเหมือนเอาคบเพลิงจุ่มลงในน้ำ พระปริตรนี้มีเดชหรือความขลังตั้งอยู่ชั่วกัปในที่บริเวณนั้น ไฟจะไม่ลุกหรือแม้จุดไฟก็ไม่ติดไปตลอดกัปด้วย
แต่ครั้งโบราณ นิยมการสวด วัฏฏกะปริตร หรือคาถาหัวใจนกคุ่ม เป็นเครื่องป้องกันที่สำคัญยิ่งอย่างหนึ่งที่ยึดถือกันมาและกล่าวกันว่ามีผู้เห็นผลมามาก
สำหรับคาถา หัวใจนกคุ่ม หรือ หัวใจนกคุ้ม นั้น เป็นคาถาที่มีมาแต่โบราณ ใช้ภาวนากันความร้อนและไฟไหม้ เวลาเกิดไฟไหม้ให้ภาวนาคาถาแล้วใช้ผ้าหรือมือโบกไป ไฟก็จะดับ คาถามีเนื้อความว่า
บางตำราจะว่าคาถา หัวใจน้ำ คือ อะ ปา นุ ติ ก่อนนำหน้า จึงรวมเนื้อความเป็นว่า