I'm sorry ตามด้วย for ซึ่งทำหน้าที่เป็น preposition (คำบุพบท) แล้วตามด้วยคำนาม เช่น
I'm sorry for this confusion.
(ฉันขอโทษสำหรับความสับสนนี้)
คล้ายกับแบบแรกคือหลังคำว่า for จะต้องเป็นคำนาม ซึ่ง gerund คือคำกริยาเติม ing เป็นกริยาไม่แท้ที่ทำหน้าที่เป็นคำนาม เช่น
I'm sorry for forgetting your birthday.
(ฉันขอโทษสำหรับการลืมวันเกิดของเธอ)
เปลี่ยนจากการใช้ for มาเป็น to แล้วตามด้วย verb infinity with to หลัง to จะเป็นคำกริยาในรูปปกติ ไม่มีการผันหรือเปลี่ยนแปลงรูปคำใด ๆ เช่น
I'm sorry to hear that.
(ฉันเสียใจที่ได้ยินแบบนั้น)
แบบที่ 4 นี้หลังประโยค I'm sorry จะตามด้วยประโยคอีกหนึ่งประโยค ซึ่งต้องประกอบด้วยประธาน กริยา และกรรม หรืออาจจะไม่มีกรรมก็ได้ถ้าหากประโยคนั้นได้ใจความสมบูรณ์แล้ว ไม่จำเป็นต้องมีกรรมมารองรับ เช่น
I'm sorry I'm late.
(ฉันขอโทษ (ที่) ฉันมาสาย) * ประโยคนี้ไม่ต้องการกรรมมารองรับ
I'm sorry I lost your comic book.
(ฉันขอโทษ (ที่) ฉันทำหนังสือการ์ตูนของเธอหาย)