การหักเหของแสงเกิดจากการที่คลื่นแสงเดินทางผ่านตัวกลางที่มีความหนาแน่นแตกต่างกัน เราอาจจะเคยได้ยินคำว่า มุมหักเหของแสง ยกตัวอย่างเช่น ในการเจียระไนเพชรหรือพลอยต่าง ๆ ในยุคปัจจุบัน ก็อาศัยหลักการหักเหที่มีเหลี่ยมมุมของอัญมณีมาช่วยในการหักเหแสง ทำให้เกิดความระยิบระยับแวววาวสวยงามนั่นเอง แต่มุมของการหักเหนี้ตามหลักทั่วไปแล้วเราสามารถวัดได้จากแนวเส้นตั้งฉากพื้นผิวของรอยต่อสสาร ตามรูป
จากรูปเป็นตัวอย่างของสสารที่มีความโปร่งใส และมีความหนาแน่นแตกต่างกัน 2 ชนิด คือ อากาศและน้ำ เส้นแนวตั้งฉากจึงหมายถึง เส้นที่ตั้งฉากกับรอยต่อของสสารทั้งสองชนิด
และเมื่อแสงเดินทางผ่านตัวกลางจากตัวกลางที่มีความหนาแน่นต่ำไปสู่ตัวกลางที่มีความหนาแน่นสูงกว่า แสงจะหักเหเข้าหาเส้นตั้งฉาก
แต่เมื่อแสงเดินทางผ่านตัวกลางจากตัวกลางที่มีความหนาแน่นสูงไปสู่ตัวกลางที่มีความหนาแน่นต่ำกว่า แสงจะหักเหโดยเบนออกจากเส้นตั้งฉาก
ในกรณีที่การเดินทางของคลื่นแสงที่เดินทางผ่านตัวกลางที่มีความหนาแน่นสูง ไปสู่ตัวกลางที่มีความหนาแน่นต่ำกว่านี้ เมื่อมุมตกกระทบมีค่ามากจนกระทั่งทำให้มุมหักเหตั้งฉากไปกับเส้นแนวตั้งฉาก หรือขนานไปกับรอยต่อของผิวสัมผัส จะเรียกมุมตกกระทบนั้นว่ามุมวิกฤติ
บทความที่เกี่ยวข้อง
บทความที่เกี่ยวข้อง
- รู้จักกับเลนส์นูนและเลนส์เว้า
- ปรากฏการณ์ที่เกิดจากการหักเหของแสง