เมื่อนำลูกโป่งใส่น้ำเล็กน้อยเพื่อถ่วงไม่ให้ลูกโป่งลอยออกไปเนื่องจากเบาเกินไป เป่าด้วย Blower แล้วลอยขึ้นไปได้นั้น เพราะแรงลมที่เป่าสมดุลกับน้ำหนักของลูกโป่ง แต่ลูกโป่งมีการสั่นหรือเต้นได้กับสามารถเลี้ยงให้ลูกโป่งหมุนไปรอบ ๆ ตัวหรือเคลื่อนที่ไปได้ ดังรูป
ตามหลักของพลศาสตร์ของของไหลที่เป็นของไหลอุดมคติ (Ideal Fluid) จะมีสมบัติการไหลอย่างสม่ำเสมอโดยไม่มีการหมุน ไม่คิดแรงต้านเนื่องจากความหนืด และไม่สามารถอัดได้ จะมีสมการแบร์นูลลี (Bernoulli’s equation) ซึ่งกล่าวว่า “ผลรวมของความดันกับความหนาแน่นของพลังงาน ณ ตำแหน่งใด ๆ ในเส้นกระแส (Streamline) มีค่าคงตัว” มีสมการคือ
จากสมการที่ (1) จะเห็นได้ว่าถ้าอากาศไหลด้วยความเร็ว v ใด ๆ เทียบกับอากาศนิ่ง คือ v = 0 ณ ตำแหน่งเดียว ความดันบริเวณอากาศนิ่งมีค่ามากกว่าบริเวณที่อากาศไหลด้วยความเร็ว v พิจารณาจากรูปจะได้
เมื่อเป่า blower หากเส้นกระแสอากาศบริเวณที่ มีความเร็วมากกว่า เนื่องจากกระแสอากาศไม่สม่ำเสมอในจังหวะหนึ่งจึงทำให้ที่ตำแหน่ง h1 = h2 = h จะมีผลต่างของความดันอากาศเกิดขึ้นจากสมการ (2)
จากสมการ (3) F2 มากกว่า F1 จะดันให้ลูกโป่งเต้นไปทางขวา ทันใดนั้นอากาศบริเวณที่ จะเร็วกว่าบริเวณที่ จะทำให้ F1 มากกว่า F2 ผลักให้ลูกโป่งเต้นไปทางซ้าย เป็นการเต้น ซ้าย – ขวา สลับกันไป และนี่คือเหตุผลว่า ทำไมลูกโป่งเต้นได้ ส่วนในกรณีที่เทียบในบริเวณที่เส้นกระแสอากาศจาก blower กับนอกเส้นกระแสอากาศ บริเวณภายนอกเส้นกระแสอากาศ ความเร็วของอากาศประมาณเท่ากับศูนย์ทำให้ความดันภายนอกมากกว่าภายในกระแสอากาศ จึงมีแรง F1 และ F2 เกิดจากความดันบรรยากาศตามรูปทำหน้าที่ประคองลูกโป่งเหมือนกับมือที่จับให้เคลื่อนที่ไปตามโพรงอากาศที่เกิดจากกระแสอากาศ