Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

บรรณาธิการ อาชีพที่มากกว่าแค่งานเอกสาร

Posted By mqz | 06 ต.ค. 61
13,627 Views

  Favorite

          เราเชื่อว่าคงมีใครหลายๆคนคิดว่า อาชีพบรรณาธิการมีแค่งานด้านการตรวจสอบ ดูแลความเรียบร้อยของสิ่งพิมพ์ ทำหน้าที่ตรวจสอบคำผิด ไม่ได้ออกไปผจญภัยหรือดูงานนอกสถานที่ ซึ่งอาจจะดูเป็นงานที่น่าเบื่อ ไม่เท่ และไม่น่าสนใจสำหรับใครหลายๆคน แต่วันนี้เราจะมาเปลี่ยนความคิดที่คุณมีต่ออาชีพบรรณาธิการ แล้วคุณจะรู้ว่าบรรณาธิการไม่ได้มีแค่งานเอกสารอย่างที่คิด!

 

 ทำความรู้จักกันก่อน

          บรรณาธิการ เป็นอาชีพที่คอยทำหน้าที่รับผิดชอบในการจัดทำ รวบรวม ตรวจแก้เนื้อหาและภาพตีพิมพ์เป็นหนังสือ ซึ่งจะแบ่งออกเป็นสามตำแหน่ง ดังนี้

 1. บรรณาธิการต้นฉบับ คอยทำหน้าที่ดูแล ตรวจสอบความเรียบร้อยของต้นฉบับที่นักเขียนส่งมา ไม่ว่าจะเป็นการพิสูจน์อักษรหรือก็คือการตรวจคำผิดนี่แหละ การตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล หรือถ้าหากเห็นว่าสำนวนที่ผู้เขียนใช้นั้นดูเยิ่นเย้อ ไม่กระชับ ทางบรรณาธิการต้นฉบับก็จะลองแก้ไข ก่อนส่งกลับไปให้นักเขียนดูอีกครั้งว่าถ้าแก้แบบนี้แล้วนักเขียนยอมให้แก้ไหม หรือต้องการคงรูปประโยคเดิมไว้

2. บรรณาธิการรูปเล่ม ทำหน้าที่ในการตรวจดูความเรียนร้อยของรูปเล่มสิ่งพิมพ์ ไม่ว่าจะเป็นภาพ บทความ การออกแบบ และความเหมาะสมของเนื้อหากับกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งบรรณาธิการรูปเล่มจำเป็นต้องมีความรู้ในด้านการออกแบบและองค์ประกอบของภาพด้วย

 3. บรรณาธิการบริหาร ทำหน้าที่ในการดูแลความเรียบร้อยของรูปเล่มก่อนจะตีพิมพ์เพื่อจัดจำหน่าย  แต่ก็จำเป็นต้องมีความรู้ในด้านของธุรกิจด้วย เนื่องจากบรรณาธิการต้นฉบับต้องดูต้นทุนของสิ่งพิมพ์ที่จะจัดจำหน่ายออกไป การตลาดของสิ่งพิมพ์ว่าจะเจาะกลุ่มเป้าหมายแบบใด

 

เอาล่ะ หลังจากที่เราได้อธิบายเกี่ยวกับอาชีพนี้ไปแบบวิชาการจ๋าไปแล้ว หลังจากนี้เราจะมาเล่าเรื่องของการไปฝึกงานบ้างว่าชีวิตในแต่ละวันของเด็กฝึกงานบรรณาธิการแบบเราต้องทำอะไรบ้าง ตามมาเลยค่ะ

PISITTEE

 

ชีวิตในแต่ละวันของอาชีพบรรณาธิการ

        Date : 02 Oct 2018    

    วันแรกของการก้าวเข้ามาที่บริษัทวิริยะธุรกิจแห่งนี้ ก่อนอื่นขอชมตึกที่นี่ก่อนเลยว่าออกแบบสวยม๊ากกกกก เป็นตึกสี่ชั้น สไตล์มินิมอลสุด ๆ ซึ่งหลังจากชื่นชมสภาพแวดล้อมของที่นี่แล้วก็ถึงเวลาไปรอพี่เลี้ยงของเราค่ะ ( มาก่อนเวลานัดตั้งชั่วโมงนึงแหนะ ) และเมื่อพบกับพี่จ๋า พี่เลี้ยงของเรา พี่จ๋าก็พาเราขึ้นไปยังห้องประชุมของฝ่ายบรรณาธิการและช่างภาพค่ะ ( ที่บริษัทนี้มีบรรณาธิการและช่างภาพมาฝึกด้วยกัน ) เพื่อรอทางผู้ใหญ่ใจดีของทางฝ่ายบรรณาธิการและฝ่ายช่างภาพ นั่งไปได้สักพักทางผู้ใหญ่ใจดีของเราก็เดินเข้ามาพี่สุวัฒน์ อัศวไชยชาญ หรือพี่ดำ บรรณาธิการบริหารของสำนักพิมพ์สารคดี และพี่สกล เกษมพันธุ์ บรรณาธิการฝ่ายภาพค่ะ ทางเราก็แนะนำตัวกับทางบก. เสร็จสรรพ ซักถามที่มาที่ไปของการที่พวกเรามาฝึกอาชีพเหล่านี้ พร้อมกับบอกตารางการฝึกงานในช่วงสี่วันนี้คร่าวๆ ก่อนที่พี่ดำจะมอบหมายงานให้เราไปสัมภาษณ์เพื่อนที่เป็นบรรณาธิการเหมือนกัน แล้วนำมาเขียนเป็นบทความเชิงสารคดีแบบที่ทางบริษัททำลงในนิตยสารส่งพี่ดำ ส่วนในช่วงบ่ายก็มีการไปเรียนทฤษฎีเล็กน้อยพร้อมกับแบบฝึกหัดเพื่อตรวจสองความแม่นยำและความรู้ในด้านภาษาไทยนิดหน่อย

        Date : 03 Oct 2018    

     สำหรับวันที่สอง เราก็จะมาวิเคราะห์บทความที่เราส่งพี่ดำไปเมื่อวานว่าขาดอะไรตรงไหนบ้าง ก่อนที่พี่ดำจะตรวจสอบว่าบทความสารคดีนั้นควรจะต้องมีอะไรบ้าง ซึ่งก็ได้ความรู้มามากมาย ซึ่งก็ใช้เวลาไม่นาน ในการเรียน ส่วนในตอนบ่ายมีการจัดงานเสวนา ซึ่งพวกเราก็ได้รับมอบหมายงานให้ไปฟังการเสวนาและนำมาสรุปประเด็นสำคัญๆ พอฟังจบก็กลับไปสรุปที่บ้าน

        Date : 04 Oct 2018    

     วันที่สามนี่ถือว่าหนักหน่วงพอสมควร เพราะเราออกไปทำงานนอกสถานที่ ก็คือบริเวณท่าน้ำนนท์ ออกไปกับพี่ปังช่างภาพและพี่จี๊ดแห่งกองบรรณาธิการค่ะ ซึ่งเราได้รับมอบหมายงาน ( อีกแล้ว! ) ให้ช่างภาพกับบรรณาธิการมาทำงานร่วมกัน โดยให้เลือกช่างภาพกันเอง  ช่างภาพจะได้รับงานเป็นการถ่ายภาพย่านท่าน้ำนนทบุรี ส่วนบรรณาธิการก็เก็บข้อมูลไปเขียนบทความประกอบภาพ ซึ่งคู่เราได้ติดสอยห้อยตามพี่จี๊ดไปด้วย พี่จี๊ดก็จะคอยแนะนำการเขียนบทความ การเก็บข้อมูลต่างๆ ซึ่งแน่นอนว่าต้องมีการสัมภาษณ์ผู้คนด้วยนะคะ อย่างพวกเราไปที่ร้านขนมฝรั่งและร้านข้าวเหนียวมูลอันเลื่องชื่อของเมืองนนท์ เราก็ไปสัมภาษณ์คุณยายเจ้าของร้าน คุยได้แค่นิด ๆ หน่อย ๆ เพราะลูกค้าร้านคุณยายเยอะมาก ก่อนจะอุดหนุนขนมร้านคุณยายกลับมาด้วย ซึ่งขอบอกไว้ตรงนี้ว่าอร่อยสุด ๆ

เราใช้เวลาไปกับย่านนี้ประมาณครึ่งวันก็กลับมาที่บริษัทเพื่อเขียนบทความค่ะ ส่วนช่างภาพก็คัดรูปวนปายยย เมื่อเขียนแบบร่างเสร็จแล้วก็นำไปส่งให้พี่จี๊ดช่วยดูให้ ซึ่งก็ต้องกลับมาแก้ไปตามระเบียบ หลังจากนี้ก็ไม่มีอะไรแล้วค่ะ กลับบ้านไปแก้บทความต่อ 5555555

        Date : 05 Oct 2018    

     และวันสุดท้ายก็มาถึง ก็คือการนั่งทำบทความ ขัดเกลาภาษาและใส่รายละเอียดบางส่วนที่พี่จี๊ดให้ไปเพิ่มมาเมื่อวาน พร้อมกับดูรูปของช่างภาพเพื่อนำมาใส่ในบทความของเราจริง ๆ วันนี้ก็ไม่มีอะไรมากค่ะ แต่มันก็จะยุ่งหน่อย ๆ ตรงที่ต้องทำตัวพาวเวอร์พอยท์สำหรับใช้ในการพรีเซนต์ด้วย

 

 จบแล้วนะคะสำหรับชีวิตสี่วันของการฝึกงาน อาจจะดูเหมือนไม่มีอะไรแต่ถ้าได้ไปลองสัมผัสจริง ๆ นีมันโ_ตรมีอะไร เห็นไหมล่ะคะว่าอาชีพบรรณาธิการก็ไม่ได้น่าเบื่ออย่างที่คิด เพราะบางครั้ง ตัวบรรณาธิการก็ต้องเป็นนักเขียนเองด้วย และต้องออกไปนอกสถานที่เพื่อศึกษาหาข้อมูลใหม่ ๆ มาใส่ในนิตยสารบ้าง แล้วยังต้องมีความรู้ในหลาย ๆ ด้านเพื่อให้งานออกมามีคุณภาพมากที่สุดเพื่อผู้อ่านทุก ๆ ท่านนั่นเองค่ะ

Facebook ทำ ก่อน ฝัน

 

ทักษะที่จำเป็นสำหรับอาชีพบรรณาธิการ

      ทักษะที่จำเป็นมากที่สุดก็คือภาษาค่ะ ตัวบรรณาธิการจำเป็นต้องมีความรู้ในด้านภาษาไทยอย่างแตกฉาน เพื่อใช้เวลาตรวจหาข้อผิดพลาดบทความ และยังต้องเป็นคนขี้สงสัย ช่างสังเกต เพราะบางครั้งเราก็จะเจอคำที่ไม่คุ้นเคย ทำให้เราไม่มั่นใจว่าคำนี้ผู้แต่งเขียนมาถูกหรือเปล่านะ เพราะฉะนั้นทางบรรณาธิการต้นฉบับผู้ที่ต้องตรวจสอบบทความคนแรกก็จะมีทั้งพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน หนังสือคำลักษณนาม หนังสือคำทับศัพท์ของราชบัณฑิตยสถานติดไว้เพื่อใช้ในการณ์นี้โดยเฉพาะ นอกจากนี้ยังต้องมีนิสัยรักการอ่านด้วย

 

ข้อดีและข้อจำกัดของอาชีพบรรณาธิการ

        ข้อดี :  1. เป็นการฝึกความคิดการใช้ภาษา

                 2. ได้ออกนอกสถานที่เพื่อหาแรงบันดาลใจ

                 3. มีความสามารถในหลาย ๆ ด้าน

    ข้อจำกัด : 1. การทำนิตยสารต้องคำนึงถึงผู้อ่านเป็นสำคัญ

                 2. ทำงานไม่เป็นเวลา โดยเฉพาะช่วงใกล้ปิดต้นฉบับ

                 3. ทำได้หลายอย่างก็จริง แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าเราจะเก่งไปหมดทุกอย่าง

 

 

สุดท้ายนี้อยากฝากไว้ว่า

  “ การเขียนบทความ เหมือนกับการทำอาหาร ถ้าเราปรุงดี เขียนดี ภาษาดี ก็จะมีคนให้สนใจบทความหรืออาหารของเรามากขึ้นเท่านั้น ”

    ( พี่ดำ – สุวัฒน์ อัศวไชยชาญ )  

Facebook ทำ ก่อน ฝัน

 

ขอบคุณค่า

 

 

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
Tags
  • Posted By
  • mqz
  • 0 Followers
  • Follow