ช่างภาพ คือบุคคลที่มีความชำนาญในการถ่ายภาพ โดยช่างภาพนั้นก็มีหลายแบบ หลายสายงาน แต่ที่เราได้ไปทำคือ การเป็นช่างภาพสารคดี ก่อนอื่นเลย เราต้องทำความรู้จักกับโครงการ " ทำก่อนฝัน " ของทรูปลูกปัญญาก่อน โครงการทำก่อนฝันนั้น เป็นโครงการที่เปิดโอกาสให้เด็กมัธยมได้ลองค้นหาตัวเอง โดยการฝึกงานในสถานที่จริงกับผู้เขี่ยวชาญทางด้านอาชีพนั้น ๆ จริง เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับอาชีพนั้นผ่านการพูดคุย ทดลองปฏิบัติงานและสังเกตการณ์การทำงานของเจ้าของอาชีพ เป็นระยะเวลา 4 วัน ซึ่งเราได้ไปฝึกงานที่บริษัท วิริยะธุรกิจ จำกัด มาต่อเรื่องช่างภาพดีกว่า สายอาชีพที่ผมได้ไปทำคือ อาชีพช่างภาพ โดยเป็นช่างภาพแนวสารคดี ก็คือ เราต้องถ่ายทอดภาพให้มีเรื่องราว และเป็นความจริง หรือตามหัวข้อเลย ให้ภาพมันเล่าเรื่องได้นี่เอง โดยหน้าที่หลัก ๆ ของช่างภาพสารคดีคือ การที่ต้องถ่ายภาพสอดคล้องกับเรื่องบทความต่าง ๆ ที่นักเขียนเขียนขึ้นมา โดยความยากของมันคือ จะถ่ายทอดเรื่องนั้นออกมายังไงให้สวยงามและเล่าเรื่องได้สอดคล้องกับบทความมากที่สุด ซึ่งการลองมาฝึกงานเป็นช่างภาพสารคดีมันจะทำให้คุณเปลี่ยนแนวคิดในการถ่ายภาพไปเลย
พี่เลี้ยงของเรา พี่จ๋า ซึ่งเป็นเลขาบรรณาธิการนิตยสารสารคดี ได้พาเราไปที่ห้องประชุมและแนะนำเราเกี่ยวกับบริษัท และนำนิตยสารสารคดี และ Vamoose มาให้พวกเราดู เพื่อเป็นแนวทางในการฝึกงาน ไม่นาน พี่ดำ บรรณาธิการของนิตยสารสารคดี พี่สกล บรรณาธิการภาพถ่าย และพี่ปัง ช่างภาพก็มาถึง พวกเขาเข้ามาทักทาย และคุยกันพอสังเขป แนะนำตัวแต่ละคนและสายงานอาชีพที่มาฝึก บอกกำหนดการในแต่ละวัน พาไปแนะนำตัวให้คนในบริษัทได้รู้จัก และพูดคุยกับพี่ ๆ ช่างภาพในบริษัทสัมภาษณ์กับเพื่อนที่มาด้วยกัน ถ่ายภาพเพื่อน และสุดท้ายคือนำผลงานของแต่ละคนมาเปิดดู เพื่อแนะนำและวิจารณ์ เกี่ยวกับสไตล์การถ่ายภาพของแต่ละคน ทั้งที่เพิ่งถ่าย และที่มีมาจากบ้านแล้ว
พี่บัน ช่างภาพในบริษัท ได้พาเราไปเข้าสตูถ่ายภาพเพื่อถ่ายภาพนำของคอลัมน์ คอลัมน์หนึ่งในนิตยสารสารคดี โดยพี่บันได้แนะนำทริคต่าง ๆ เช่นการจัดไฟ การจัดของต่าง ๆ ในเฟรมภาพ และมุมมองภาพต่าง ๆ เมื่อถ่ายเสร็จก็เข้าห้องประชุม นำภาพผลงานตัวอย่างมาเปิดดู แนะนำเรื่องการถ่ายภาพเกี่ยวกับสารคดี สุดท้ายคือ ฟังเสวนาเกี่ยวกับเรื่องนายผี และเสนีย์ เสาวพงศ์ โดยเก็บภาพบรรยากาศในงานไปด้วย
ลงพื้นที่สถานที่จริง ณ ท่าน้ำนนท์ กับพี่บัน และพี่จี๊ด ช่างภาพและนักเขียน ตามลำดับ เพื่อทำบทความเกี่ยวกับท่าน้ำนนท์ เมื่อกลับเข้ามาที่บริษัท ก็ต้องคัดเลือกรูปและตกแต่งรูปที่ถ่ายมาภายในวันนี้อย่างคร่าว ๆ สุดท้ายคือฟังเสวนาเกี่ยวกับเมืองนนท์และเก็บภาพบรรยากาศ
ตกแต่งรูปที่ถ่ายมา เรียบเรียง คัดเลือกรูปที่จะนำไปลงในบทความ ตามความเหมาะสม โดยปรึกษาพี่ ๆ ช่างภาพทุกคน เรื่องมุมของแต่ละภาพ และการนำภาพนี้มาสื่อเข้ากับบทความไหน ที่นักเรียนฝึกงานบรรณาธิการเขียนมา ให้เหมาะสม
เราต้องเป็นคนช่างสังเกต หามุมที่น่าสนใจ มีความคิดสร้างสรรค์ในการเลือกมุม และดูระยะเวลาที่เหมาะสมในการถ่ายภาพในแต่ละสถานที่ สุดท้ายคือ มีอัธยาศัยที่ดีในการทำงาน และพูดคุยกับบุคคลอื่น ๆ
- ได้ออกงานนอกสถานที่บ่อย ๆ
- ได้ถ่ายทอดเรื่องราวที่ตนเองอยากสื่อให้ผู้อื่นได้รับรู้
- บางทีที่ลงพื้นที่ไปนั้น อาจมีสภาพอากาศที่ไม่เอื้ออำนวย เช่นฝนตก หรือ อากาศที่ร้อนจัด
- การทำงานที่ไม่เป็นเวลา เช่น บางทีอาจต้องไปลงพื้นที่เป็นเวลาหลายวัน
ตึกห้ามล้ม การถ่ายสถาปัตยกรรมนั้น เราจะต้องถ่ายให้เห็นความเป็นจริง ครบถ้วน หรือไม่ก็เจาะไปเลย และมีองค์ประกอบที่สวยด้วย เช่นตึกจะต้องไม่เอียงไปเหมือนตึกล้ม นี่คือที่มาของคำว่า ถ่ายตึกห้ามล้ม
พิสิทธิ์ ประเสริฐธนะชัย
6/10/2018