Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

Food Sci คือใคร? ไม่ใช่แค่นักวิจัยอาหาร!

Posted By RUN to REST on the top | 06 ต.ค. 61
6,352 Views

  Favorite

 เคยสงสัยไหม ว่าอาหารแต่ละผลิตภัณฑ์ได้มาอย่างไร? CP กับ 7-11 คืออันเดียวกันหรือไม่? ข้าวกล่องเซเว่นทำไมถึงมีสีแดง สีดำ และสีขาว? เราจะได้รู้กันค่ะ

มีทั้งหมด 29 สาขาอาชีพเลยนะ
true

เราจะไม่ได้มาเขียนกระทู้เล่าประสบการณ์แบบนี้เลย ถ้าไม่มีโครงการทีี่ช่วยผลักดันความฝันนี้

ขอบคุณโครงการดี ๆ อย่าง " ทำ ก่อน ฝัน Dream Explorers รุ่น3 " ของ Trueplookpanya ที่ให้โอกาสดี ๆ แบบนี้นะคะ

 

พวกเราคือกลุ่มฟู้ดซายน์ค่ะ!
CPRAM

เราใส่ใจในข้าวทุกเมล็ด

นักวิทยาศาสตร์การอาหาร มีหน้าที่ในการผลิตและพัฒนาอาหารจำนวนมากให้มีคุณค่าทางโภชนาการที่ดี อร่อย และสะอาดให้กับผู้บริโภค

มีหลายหน่วยงานไม่ว่าเป็น RD, NPD, QA, QC ซึ่งเราจะอธิบายให้ทราบต่อจากนี้ค่ะ

 

3 ตุลาคม 2561 : CPRAM ลาดหลุมแก้ว ปทุมธานี

CPRAM

 

ก่อนอื่นเลย ขอบคุณ บริษัท CPRAM ที่ให้เราได้เข้ามาในพื้นที่เพื่อศึกษาขั้นตอนต่าง ๆ ภายในโรงงาน และคอยช่วยเหลือบริการพวกเราอยู่ตลอดค่ะ

ในช่วงเช้า คุณรัตติกรณ์  เสาร์คำ (พี่กรณ์) มาบรรยายเกี่ยวกับความเป็นมา และเรื่องราวสั้น ๆ ของบริษัท CPRAM

สรุปสั้น ๆ ได้ว่า CPgroup คือกลุ่มองค์กรใหญ่ที่มี CPall หรือ 7-11 เป็นบริษัทแม่ และยังมีเครือย่อยต่าง ๆ ทั้งโรงเรียน เครือพานิชย์

เครือข่ายโทรศัพท์ เช่น CPRAM, เลอแปง, Makro, รร.ปัญญาภิวัฒน์ เป็นต้น

 

มาฟังบรรยายค่าาา
เรา

 

มีของว่างด้วย น่ารักมากเลย
เรา

 

พี่กรณ์พาไปเยี่ยมชม LAB RD ซึ่งเป็นห้องทดลองการผลิตและพัฒนาสินค้า ก่อนใช้จริงในโรงงานใหญ่

 

พี่กรณ์มาช่วยแล้วว
CPRAM

 

ได้ทดลองทำข้าวปั้นโอนิกิริ ซูชิโรล และซูชิเซ็ต รวมถึงการบรรจุห่อผลิตภัณฑ์ด้วยนะ

 

ต้องใส่หมวกกันผมร่วงในอาหารด้วยนะ
CPRAM

 

ถ่ายกับพี่RD
CPRAM

 

น่ากินสุดด
เรา

 

เรา

 

ในช่วงบ่าย คุณสุปราณี  ชนะชัย (พี่เปิ้ล) มาบรรยายเรื่องเกี่ยวกับ Food Safety

ทำอย่างไรให้ผลผลิตออกมามีคุณภาพ และปลอดภัยต่อผู้บริโภคที่สุด ซึ่งเป็นหน้าที่ของพี่ ๆ QA, QC

 

CPRAM

 

และยังพาไปดูการทำงานของพี่ ๆ QC ในเรื่องการเก็บสินค้าอย่างไรให้เหมาะกับวัตถุดิบ มีวิธีการตรวจสอบมาตรฐานของสินค้าอย่างไร

 

พี่เขากำลังสอนเรื่องการคัดแยกสิ่งแปลกปลอมและการตรวจสอบข้าว
CPRAM

 

ต่อไปพี่เปิ้ลก็จะพาไปดูขั้นตอนในการผลิต Frozen product และ ผลิตภัณฑ์ประเภทกล่อง เช่น ข้าวกะเพราหมู และข้าวผัดปู ซึ่งเป็นเมนูข้าวกล่องที่ขายดีที่สุดของ 7-11

 

CPRAM

 

นี่ไงขั้นตอนการทำงาน
เรา

ใน 7-11 เราจะเห็นว่ามีข้าวกล่อง 3 สี จริง ๆ แล้วสีของกล่องข้าวแสดงถึงประเภทสินค้า และบริษัทที่ผลิต

ข้าวกล่องสีขาว : สินค้า Frozen

ข้าวกล่องสีแดง : สินค้า Chilled ที่ผลิตจากบริษัท CPRAM

ข้าวกล่องสีดำ : สินค้า Chilled ที่ผลิตจากบริษัท CPF

โดยโรงงานที่ปทุมธานี ส่วนใหญ่จะผลิตสินค้าจำพวกข้าวปั้น ซูชิโรล และแซนวิช

 

ตั้งใจดูสุดๆ
CPRAM

 

ถ่ายรูปละรึกหน่อยย
CPRAM

 

ถัดมาก็มาดูขั้นตอนทำงานของพี่ ๆ QA เกี่ยวกับการวัดคุณภาพของสินค้า ตรวจตั้งแต่ข้อมูลบนบรรจุภัณฑ์ น้ำหนักของวัตถุดิบแต่ละอย่าง

รสชาติผ่านมาตรฐานไหม รวมไปถึงนับปริมาณเมล็ดข้าวที่เรียวสวยไม่หัก ว่าผ่านเกณ์ 70% ที่ตั้งไว้ไหม ซึ่งมีการทดสอบ QA ในทุก ๆ เดือน

 

มาดูพี่ๆตรวจสอบสินค้า
CPRAM

 

4 ตุลาคม 2561 : CPRAM ชลบุรี

ตึกสวยมากก
เรา

 

ครั้งนี้ย้ายสถานที่ฝึกงานมาที่โรงงานเปิดใหม่ ทีี่มีเทคโนโลยีใหม่เข้ามาเริ่มใช้ เพิ่งเปิดเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2013

เรา

 

เรา

 

มีน้ำพันช์ให้ดื่มด้วยนะ
เรา

 

ฟังพี่เนยบรรยายเกี่ยวกับโรงงานที่ชลบุรี
เรา

 

โรงงานนี้เพิ่งเปิดสดๆเลยนะ
CPRAM

 

CPRAM

 

พามาเยี่ยมชมห้องที่เปิดเพื่อรองรับวันที่พระเทพเสด็จมา

มาดูห้องเปิดใหม่กัน
เรา

 

หลังจากนั้นได้ไปดูการก่อตั้ง CPRAM และเรื่องงราวเกี่ยวกับโรงงานคร่าว ๆ

CPRAM

 

CPRAM

 

 

ไปชมห้องแสดงยุคสมัยของ CPRAM ปัจจุันเราอยู่ในยุคที่ 7 แล้วค่ะ

แรกๆยังใช้มือทำอยู่เลย
เรา

 

CPRAM

 

เรา

 

มาดูCPตั้งแต่ยุคเริ่มต้น
เรา

 

CPRAM

 

เรา

 

ต่อจากนี้คือแลนด์มาร์กสำคัญของที่นี่ นั่นก็คือ ซาลาเปายักษ์! ใครถ่ายได้ยอดไลก์มากที่สุด จะได้ปากกาที่มีแฟลชไดรฟ์ไปจากพี่ CPRAM ไปเลย

 

 

เราจะไม่พลาดค่ะ!
CPRAM

พักทานมื้อเที่ยง ทาง CPRAM ก็จัดเบนโตะของทาง CP ให้ค่ะ

 

พักเที่ยงแล้ว เค้าจัดดีมากเลย
เรา

หลังจากนี้ก็เป็นเวลาพักเที่ยงแล้ว

 

ช่วงพักก็ขอถ่ายรูปเล่นกันหน่อยนึง
CPRAM

 

CPRAM

 

ฟู็ดซายน์เป็นคนน่าร้ากกก
CPRAM

 

ภาคบ่ายได้ไปดูการทำงานของพี่ QA อย่างจริงจัง ที่ห้อง Sensory Test โดยมี คุณฉัตรคนางค์  ชุมพล (พี่แตง) เป็นวิทยากรอธิบายเกี่ยวกับการตรวจสอบไปคร่าวๆแล้ว

 

ต่อไปเราจะไปทดสอบสินค้ากัน
เรา

 

ทดลองเป้นQAกัน
CPRAM

 

พี่ ๆ ให้ลองเปรียบเทียบสินค้าในแต่ละวัน โดยสินค้าที่ผลิตในวันนี้จะเรียกว่า Day0 สินค้าที่ผลิตเมื่อวานจะเรียกว่า Day1 ไล่ไปเรื่อย ๆ

ในการตรวจสอบข้าวปั้นโอนิกิริ เราจะตรวจสอบทั้งปริมาณของเนื้อ ลักษณะและจำนวนของเมล็ดข้าว ความกรอบของสาหร่าย และรสชาติแต่ละวัตถุดิบ

 

ตรวจหน้าตาและรสชาติของสินค้าในแต่ละวัน
CPRAM

 

ในส่วนของผัดกะเพรา เราก็จะตรวจสอบน้ำหนักของสินค้า น้ำหนักของเนื้อหมู ปริมาณใบกะเพรา สี กลิ่น และรสชาติของวัตถุดิบแต่ละอย่าง จำนวนเมล็ดข้าวที่หัก

 

ลองเปลี่ยนมาเป็นกระเพราดูบ้าง
CPRAM

 

CPRAM

 

อันนี้ลองทำเองดู
CPRAM

ขนมจีบ เราก็จะตรวจสอบไส้ และรสชาติ 

ซาลาเปา เราก็จะตรวจสอบความฟูของแป้ง ปริมาณของไส้ ลักษณะของไข่เค็ม และรสชาติโดยรวม

 

ขนมจบซาลาเปาก็ทีนะ
CPRAM

 

เรา

 

ในตอนท้าย พี่แตงก็พาไปดูการทำงานของ นักจัดการโลจิสติกส์ อย่างคร่าวๆ

 

ก่อนจะกลับ พี่ๆก็พาไปดูวิธีการขนส่งคร่าวๆก่อน
เรา

 

ของว่างทานก่อนกลับก็จะมีฟองดูว์ ข้าวปั้นโอนิกิริ ซูชิโรล ขนมจีบ ซาลาเปา และเครื่องดื่ม

 

พักเบรคก็มีของว่างให้ทานด้วยน้าา
เรา

 

น้ำอัญชันมะนาวว
เรา

 

ขอกินก่อนแปป
CPRAM

 

ในแก้มคือกินอยู๋55555
CPRAM

 

จบวันที่สองแล้วว
CPRAM

 

5 ตุลาคม 2561 : CPRAM ลาดหลุมแก้ว ปทุมธานี

 

ในช่วงของวันสุดท้ายก็จะเป็นเรื่องของนักโลจิสติกส์ เราอาจจะไม่ได้ลงรายละเอียดให้ลึกมาก 

วันนี้พี่วิทยากร คุณเทอดศักดิ์ เลาสม (พี่นก) มาบรรยายเกี่ยวกับอาชีพโลจิสติกส์ให้ฟังกันค่ะ

 

หลังจากนี้จะเกี่ยวกับโลจิสติกส์แล้ว อาจจะไม่อธิบายมากนะคะ
เรา

 

พี่นกยังพาไปดูการเก็บสินค้าในห้องเย็นด้วย

 

พี่นกพาไปดูข้างในห้องเย็น
เรา

 

ต้องใส่เสื้อหนาๆหน่อย
CPRAM

 

CPRAM

 

เริ่มจากเข้ามาให้ห้องเก็บ Frozen meal ซึ่งมีอุณหภูมิ -18 องศา

 

เริ่มหนาวละ
เรา

 

-18องศา เบาๆอ่ะแก
ลีน่า

 

เรา

 

ก้อย

 

พี่บีม พี่แป้งเผลอๆอ่ะ
เรา

 

ห้องถัดมาคือห้องเก็บ Chillrd meal มีอุณหภูมิตั้งแต่ 2-6 องศา

 

ย้ายมาห้องเก็บสินค้า Chilled แล้ว
เรา

 

เรา

 

หนาวจนมือซีด
เรา

 

จบแล้วสำหรับการเวิร์กช็อปทั้งหมด 3 วัน ท้ายที่สุดแล้วอาชีพนักวิทยาศาตร์การอาหาร เป็นอาชีพที่ต้องใช้ใจรักจริง เพราะอาจจะมีความเหนื่อยและความท้อจากลูกค้า ไหนจะเป็นการที่ต้องเดินทางทำงานที่โรงงานตามชานเมืองต่าง ๆ แต่สายอาชีพนี้จะไม่ตกงานแน่นอน เพราะคนเราจะต้องทานอาหารกันทุกคน ทำให้นักวิทยาศาสตร์การอาหารมีบทบาทมากในปัจจุบันและอนาคต เพียงแค่มีใจรัก และมุ่งมั่นที่จะพัฒนาก็สามารถเป็นนักวิทยาศาสตร์การอาหารได้แล้วค่ะ

 

CPRAMเขามีท่านะแก
CPRAM

 

ขอบคุณที่อ่านมาจนจบกระทู้นะคะ หวังว่าจะได้ความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับนักวิทยาศาสตร์การอาหารมากขึ้นค่ะ

อยากจะฝากข้อความส่งท้ายให้กับผู้อ่านจากวิทยากรที่เราได้ฟังบรรยาย

 

" ในการปั่นจักรยาน ถ้าผมบอกให้คุณจับแฮนด์ดี ๆ ทรงตัวดี ๆ ค่อย ๆ ปั่น

คุณจะปั่นไม่ได้เลย จนกว่าคุณจะได้ลองปั่นจริง ๆ และหลาย ๆ ครั้ง "

- คุณเทอดศักดิ์ เลาสม -

 

ฝากฟู็ดซายน์ทั้งสี่คนด้วยนะคะ
ก้อย

 

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
Tags
  • Posted By
  • RUN to REST on the top
  • 0 Followers
  • Follow