Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

นักเทคนิคการเเพทย์ ทำเเล็บให้เด็กมันดู๊~

Posted By AumUM | 05 ต.ค. 61
4,469 Views

  Favorite

 สวัสดีค่ะ ชื่ออั้มค่ะ

(ว่าที่หมอเเล็บสาวสวย อิอิ) มีโอกาสได้มาฝึกงานในอาชีพ

นักเทคนิคการเเพทย์ที่โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ จากโครงการ

" The Dream Explorers " รุ่นที่ 3 หรือเรียกง่าย ๆ คือโครงการ

" ทำ ก่อน ฝัน " นั่นเอง ก่อนอื่นต้องขอบคุณทางโครงการ

ที่ให้โอกาสได้มาเป็นนางฟ้าเสื้อกาวน์ทำงานในห้องเเล็บจริง ๆ

ตามที่ใฝ่ฝันนะคะ " เพราะก่อนจะฝัน มันต้องลอง " (สโลเเกนของโครงการ/อ๊ะ! ขายของ)

 

 

 

มาเข้าเรื่องกันดีกว่า เเม่บอกว่าสวยเเล้วต้องมีสาระ จากที่ได้ไปลองฝึกงานกับพี่ ๆ นักเทคนิคการเเพทย์ทำให้ได้ความรู้ใหม่ ๆ ที่ไม่เคยรู้มาก่อนหลายอย่างมาก (เพราะไม่เคยศึกษาหาความรู้ใส่หัว...) สรุปย่อ ๆ เลยคือ อาชีพนักเทคนิคการเเพทย์ (MT) หรือที่เรียกกันว่า Med Tech/หมอเเลป มีหน้าที่คือ รับสิ่งส่งตรวจนำมาทดสอบ วิเคราะห์ ตรวจสอบ รายงานผลตรวจไปยังเเพทย์เพื่อช่วยวินิจฉัยโรค/ติดตามการรักษา โดยจะเเบ่งเป็น Section คือ

     - เคมีคลินิก

(Clinical chemistry) : 

เป็นการตรวจระดับสารเคมีในเลือด เช่น ตรวจน้ำตาล/ไขมันในเลือด

     - จุลทรรศน์ศาสตร์คลินิก

(Clinical microscopy) :

เป็นการตรวจโดยดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ เพื่อตรวจสอบปัสสาวะ ตรวจหาพยาธิ/ไข่พยาธิในอุจจาระ

 

กล้องของนางฟ้า
 

     - โลหิตวิทยา

(Clinical hematology) : 

เป็นการตรวจ มะเร็งเม็ดเลือดขาว/ภาวะโลหิตจาง/โรคธาลัสซีเมีย เป็นต้น 

 

 

     - จุลชีววิทยาคลินิก

(Clinical microscopy) : 

เป็นการตรวจเพาะ/แยกเชื้อโรคชนิดต่าง ๆ จากสิ่งส่งตรวจ และการทดสอบความไวของเชื้อต่อยาปฏิชีวนะ 

 

 

     - ภูมิคุ้มกันวิทยา

(Clinical immunology) :

เป็นการตรวจหาสารภูมิคุ้มกันที่เกิดเองจากร่างกายติดเชื้อโรคชนิดต่าง ๆ เช่น การตรวจโรคเอดส์

     - เวชศาสตร์การธนาคารเลือด

(Blood bank) : 

เป็นการตรวจหมู่เลือดดูความเข้ากันได้เพื่อใช้ในการให้เลือดผู้ป่วย

 

 

        โดยโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ พยาบาลจะมีหน้าที่เจาะเลือดผู้ป่วยเเล้วนำมาส่งให้นักเทคนิคการเเพทย์ เเต่ในโรงพยาบาลอื่นนักเทคนิคการเเพทย์อาจต้องเจาะเลือดผู้ป่วยเอง เเละที่นี่จะมีการเวียนงานกันไปเรื่อย ๆ นักเทคนิคการเเพทย์ทุกคนจึงต้องสามารถทำงานได้ทุก Section เเต่ก็เป็นข้อดี คือ ทำให้ไม่เบื่อในการทำงาน

1/10/61  [Work Shop]

 

 

          วันนี้ได้มารวมตัวกันกับเพื่อน ๆ ในโครงการที่ตึกทรูทาวเวอร์ 2  ถนน พัฒนาการ 34  เเขวง สวนหลวง  เขต สวนหลวง  จังหวัด กรุงเทพมหานคร อมรรัตนโกสินทร์ มหินทรายุธยา มหาดิลกภพ นพรัตนราชธานีบูรีรมย์ อุดมราชนิเวศน์มหาสถาน อมรพิมานอวตารสถิต สักกะทัตติยวิษณุกรรมประสิทธิ์ (ตอนนี้ทำถนน รถติดมาก!)

           บรรยากาศในกิจกรรมเป็นกันเองมาก ทุกคนไม่รู้สึกเขิน ไม่รู้สึกเกร็งอะไรกันเลย (รึเปล่า?!?) ทุกคนพูดคุยกันอย่างสบายเหมือนรู้จักกันมาก่อน เเถมมีพิธีกรสาวสวยพี่วิวเเละพี่อ๋องเป็นผู้ดำเนินกิจกรรม ก่อนจบกิจกรรมเเยกย้ายกันกลับบ้าน (ไปเที่ยว ไปหาเพื่อน ไปหาเเฟน ไปเรียนพิเศษ บลาๆ) ก็มีการเเนะเเนวการไปฝึกงาน ถ่ายรูปรวมเเละเเจกขนม (อันนี้ชอบมาก ของฟรี)

 

 

2/10/61  [วันเเรกของการฝึกงาน]

   ในวันนี้ได้อยู่รวมเเก๊งเพื่อนสาว (?) กับเเพทย์เเละพยาบาลที่มาฝึกงานโรงพยาบาลเดียวกันโดยมีพี่ปุ้ยพยาบาลพาทัวร์โรงพยาบาลจุฬาภรณ์เเละ 17 ไร่ที่เพิ่งเปิดใหม่ (ศูนย์การเเพทย์จุฬาภรณ์เฉลิมพระเกียรติ) เดินดูนู่นนี่ วนเเล้ววนอีก ขึ้นลง ลงขึ้น เดินกันไม่หวัดไม่ไหวเหมือนขาจะเปลี้ย (ขอวิลเเชร์ด่วนค่ะ!) 

 

 

         ในตอนท้ายก็ได้เเยกออกมากับเพื่อน ๆ เเพทย์เเละพยาบาลมาฟังวิธีการทำงาน/หลักการของเครื่องที่ใช้ตรวจสิ่งส่งตรวจคร่าว ๆ ที่ห้องปฏิบัติการเเล็บกับพี่ ๆ นักเทคนิคการเเพทย์ที่มาประจำการที่ 17 ไร่ ณ ตอนนั้นเป็นงง ๆ มากค่ะ ไม่รู้เรื่องอะไรเลย ได้เเค่ยืนทำหน้าสวยไปพลาง ๆ

3/10/61 [วันที่ 2 ของการฝึกงาน]

    วันนี้พี่อ๊อฟนัดไว้ 9 โมง ถือว่าสบายหน่อย สวย ๆ ชิว ๆ ไปจ้า พอมาถึงก็ได้ไปตาม Section ที่พี่อ๊อฟเเบ่งให้ไปศึกษางาน (จะถูกเเยกจากเพื่อน ๆ อีก 2 คนให้ไปเรียนรู้ในเเต่ละ Section เวียนกันไป) Section เเรกที่ได้ไปคือ Emonology โดยมีพี่ญาญ่าเป็นคนสอน งานในส่วนนั้นก็ไม่มีอะไรมาก เเค่คอยรับเลือดที่ปั่นเเล้วจากจุดรับเลือด นำมาเข้าเครื่องเพื่อตรวจสอบหาภูมิคุ้มกัน ธาลัสซีเมีย จำพวกนี้ เเล้วนำมาอ่านค่าเพื่อออกผลคนไข้ (ช้าก่อน! ยังไม่วินิจฉัยโรคนะ เเพทย์จะเป็นคนวินิจฉัยเด้อ)...งานดูน่าเบื่อ ดูไม่มีอะไรเเต่ต้องใช้ความละเอียดมากนะ! (ทุก Section นั่นเเหละ) สิ่งที่ได้เรียนรู้มาหลัก ๆ เลยคือเรื่องฝาของทิวบ์ที่มีสีเเตกต่างกัน ใช้ตรวจไม่เหมือนกันเด้อ oh my god!!!

 

 

         ในช่วงบ่าย หลังพักกลางวัน (11:00 - 12:00 น.) ได้มาศึกษางานใน Section Hematology (โลหิตวิทยา)  มีพี่เเนนสาวสวย (เเต่น้อยกว่าหนู) เป็นคนสอน งานในส่วนนี้สนุกมาก ได้เรียนรู้/ได้ทำอะไรหลายอย่าง ทั้งเรียนรู้เรื่องความผิดปกติเม็ดเลือดเเดง/เม็ดเลือดขาว  ถ้ามีความผิดปกติเเบบนี้จะเป็นโรคอะไร ระยะไหน เเถมได้สไลด์เเผ่นเลือดเเล้วนำไปย้อมสีเพื่อมาส่องกล้องดูเม็ดเลือดเพื่อระบุโรคของผู้ป่วย

 

 

ระหว่างนั้นก็เดินมาเล่นกับพี่หนุ่ยซะงั้น โดยพี่หนุ่ยจะเป็นคนรับเลือดจากหน้าบ้าน (?) มาปั่น เเล้วนำไปให้ใน Section ต่าง ๆ เพื่อตรวจสิ่งส่งตรวจ (หลักการเครื่องต้องใส่ทิวบ์ให้สมดุลกันด้วย ไม่งั้นเครื่องจะไม่ทำงาน)

 

4/10/61 [วันที่ 3 ของการฝึกงาน]

    โอ้โหยยยยย~ ตื่นเต้นสุด ได้มาอยู่ Section Blood bank (ธนาคารเลือด จุ๊ๆ ไม่เหมือนจุดรับเลือดนะ!) มาเรียนกับพี่เมย์ (พี่สาวเเสนใจดี), พี่เเนต (เห็นชื่อเเนตเเต่เป็นผู้ชายเด้อ) เเละพี่จอย (คนนี้เลิฟสุด) จริง ๆ ต้องมาเรียนรู้งานกับพี่เเนตเเต่ไป ๆ มา ๆ พี่จอยเป็นคนสอนซะงั้น (เอ้า!) เเต่ได้ความรู้มาเยอะมาก รู้จักอะไรอะเเยะจาก Section นี้มากเว่อร์ ถุงเลือดถุงนึงไม่ได้เป็นเเค่เลือดสีเเดงอย่างที่เคยเห็น เคยเข้าใจกัน! (นางฟ้าขอไม่อธิบายเเล้วกันนะคะ ถ้าอยากรู้ มาเลย! THE Dream Explorers รุ่นที่ 4 อาชีพนักเทคนิคการเเพทย์/ยู้ฮู~ ขายของเก่ง)

 

 

    ในช่วงบ่ายได้มาเจอกับเเพทย์เเละพยาบาลเพื่อมาทำพาวเวอร์พ้อยท์พรีเซ้นต์กันเเต่ดูเเล้วเหมือนจะเล่นกันซะมากกว่า ๕๕๕+ (อ๊ะ! ลืมบอกเด้อ โครงการนี้ต้องมีพรีเซ้นต์งานที่เราได้ไปเรียนรู้ด้วย เว่อร์วังไปอี๊ก~ เเถมยังต้องเขียน Blog ของตัวเองด้วยนะ อย่างอันนี้ไง เขียนดีเนอะ)

 

5/10/61 [วันสุดท้ายของการฝึกงาน อุเเง้]

   มาถึงก็ได้เข้า Section งานเลย คือจุดรับสิ่งส่งตรวจ ที่โรงพยาบาลจุฬาภรณ์จะรับ/ส่งสิ่งส่งตรวจกันทางลิฟท์เล็ก ๆ เเต่ที่โรงพยาบาลอื่นอาจจะมีคนเดินนำมาส่ง เเล้วเเต่ในเเต่ละโรงพยาบาล

  งานใน Section นี้คือ ตรวจสอบชื่อผู้ป่วย ตรวจสอบว่าพยาบาลเจาะเลือดใส่ทิวบ์ถูกกับโรคที่เเพทย์ให้นำมาตรวจหรือไม่ รวมถึงตรวจสอบอุจจะระ ปัสสาวะ เสมหะ น้ำเหลือง อื่น ๆ เรียกได้ว่าเป็นหน้าบ้านกันเลยทีเดียว (การตรวจดูอุจจาระ ปัสสาวะ เสมหะต้องดูสีด้วยนะ!)

 

ต่อมาก็ได้มาอยู่ใน Section เคมีคลินิค ได้มาเรียนรู้กับพี่เก๋เเละพี่โบนัส ที่นี่จะคล้ายกับ Section immunology คือวิธีการทำงานเหมือนกัน (ใช้เครื่องตรวจ) เเตกต่างกันตรงที่ตรวจคนละอย่างกัน โดยเคมีคลินิคจะตรวจหาสารเคมีภายในร่างกาย เช่น น้ำตาล ไขมัน เป็นต้น

ในระหว่างนั้นก็เเว๊บไปใน Section จุลทรรศน์ศาสตร์คลินิก (ไม่ต้องสงสัยว่าทำไมบาง Section ถึงเรียกชื่อ Eng บาง Section ชื่อไทย เรียกตามพี่ ๆ เทคนิคการเเพทย์มาเหมือนกัน) งานในหน่วยนี้ก็จะตรวจหาไข่พยาธิ/พยาธิ ตรวจปัสสาวะ วันนี้ได้ลองตรวจหาสารเสพติดในปัสสาวะด้วย สนุกมาก~

 

            จบกันไปเเล้วกับชีวิต 4วันของนางฟ้าเสื้อกาวน์ในห้องเเลป เป็นยังไงกันบ้าง รู้จักหรือสนใจในอาชีพนักเทคนิคการเเพทย์กันมากขึ้นมั้ยคะ? (เเต่จริง ๆ ไม่ต้องมาสนใจหรอกเนอะ อย่ามาเเย่งคณะ/เเย่งงานกันเลย ไม่ดี ๆ โกรธนะรู้มั้ย)

 

 

 

      จากที่ได้ไปเรียนรู้อาชีพนักเทคนิคการเเพทย์มา ทำให้รู้ว่ามันไม่ง่ายเลย (จริง ๆ ไม่ง่ายตั้งเเต่จะเข้าคณะเเล้ว) การที่มาทำงานเป็นนักเทคนิคการเเพทย์ ต้องเป็นคนที่ละเอียด รอบคอบ เเม่นยำ จะทำงานส่ง ๆ เเบบขอไปทีไม่ได้ เพราะการตรวจวิเคราะห์สิ่งส่งตรวจของผู้ป่วย ผลการตรวจต้องเเม่นยำเเละถูกต้อง เหมือนชีวิตของผู้ป่วยขึ้นอยู่กับเรา 50% (อีก 50% อยู่ที่เเพทย์ เพราะเเพทย์ต้องนำผลการวิเคราะห์จากเราไปวินิจฉัยเเละรักษาต่อ) เเละได้อยู่กับสิ่งติดเชื้อที่อาจเป็นอันตรายกับเราอยู่ตลอดเวลาจึงต้องป้องกันเเละระมัดระวังตัวมาก (เหงื่อตกเลยจ้าพอได้มาเจอของจริง...เกร็ง ไม่กล้าขยับ๕๕๕+)

 

 

ข้อดีเเละข้อจำกัดของอาชีพนักเทคนิคการเเพทย์

  ข้อดี

     - หน้าที่การงานที่มั่นคง มีเกียรติ

     - สามารถย้ายสายงานไปเป็นเซลล์ขายน้ำยา/เครื่องมือ หรือทำงานในบริษัทผลิตเครื่องมือได้

     - สามารถศึกษาต่อปริญญาโท/เอก เป็นนักวิจัย เเพทย์ อาจารย์ในระดับมหาวิทยาลัย

   ข้อจำกัด

     - ในการทำงานไม่ค่อยพบปะผู้คน ทำให้ไม่ค่อยเหมาะสำหรับคนที่ชื่นชอบในการเข้าสังคม

     - ต้องมีความละเอียด/รอบคอบในการทำงานมาก 

     - ต้องเป็นคนที่รู้จักการเเก้ปัญหา เพราะอาจมีปัญหามาให้เเก้ไขได้ตลอดเวลา เช่นเครื่องตรวจไม่ทำงาน 

 

สุดท้ายนี้ก็อยากจะจบเเบบสวย ๆ

เเล้วจะจบเเบบสวย ๆ ยังไงล่ะ?!?

ก็จบเเบบนี้ไง! BYE~<3

 
 

 

 

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
Tags
  • Posted By
  • AumUM
  • 0 Followers
  • Follow