ทำก่อนฝัน หรือ The Dream Explorers โครงการที่พาให้เราได้เข้าไปฝึกงานตามสถานที่ต่าง ๆ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย เปิดโอกาสให้กับเรา เด็กนักเรียนม.ปลายตัวเล็ก ๆ ตาดำ ๆ มาตามติดชีวิตพี่ ๆ ในสายอาชีพที่เราเลือก ให้มาเรียนรู้ มาทำความเข้าใจว่าอาชีพนี้ทำอะไรบ้างในระยะเวลา 4 วัน ซึ่งถึงแม้เป็นช่วงเวลาสั้น ๆ แต่มันทำให้เห็นว่างานที่เห็นมันไม่ใช่แค่นี้นะ มันมีอะไรมากกว่านั้น เป็นหนึ่งในโครงการของทรูปลูกปัญญาที่ตอบโจทย์วัยรุ่นอย่างเราที่สุด
สารภาพว่าก่อนจะมาฝึกงานที่นี่เคยคิดว่าครีเอทีฟก็แค่ออกแบบ ไม่เห็นมีอะไรมาก คิดแป๊บ ๆ ก็ได้แล้ว เอิ่มมม อยากจะเอาหัวตัวเองไปเขกโต๊ะให้เลือดอาบเล่นซัก 300 ที ทำไมตอนนั้นฉันคิดแบบนั้น! คือมันไม่ใช่อ่ะ ครีเอทีฟไม่ได้ทำแค่นั้น กว่าที่จะออกแบบงานงานหนึ่งออกมาได้ ต้องผ่านกระบวนการทำงานที่เป็นระบบ ต้องจับประเด็นให้ได้ว่าควรจะนำเสนอข้อมูลตรงไหน ใช้ลูกเล่นอะไรและเพื่อใคร คิดหาวิธีการเล่าเรื่องออกมายังไงให้น่าสนใจ เพราะครีเอทีฟคือผู้ล่อหลอก และแน่นอนว่าข้อมูลที่มานำเสนอนั้นก็ต้องถูกต้อง ผ่านการตรวจสอบเรียบร้อยแล้ว เมื่อนำเสนอออกมาแล้วก็ต้องรู้เรื่องด้วย ทักษะที่จำเป็นจึงต้องมีในเรื่องของการสื่อสาร *อันนี้สำคัญมาก ภาษาที่ 2 ที่ 3 ด้วยยิ่งดีเพราะเราต้องใช้ในการหาข้อมูลมาอ้างอิง การจับประเด็น อีกอย่างที่คาดไม่ถึงคือในด้านของจิตวิทยา รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง แฮร่! ไม่ใช่! ที่ว่าในด้านจิตวิทยาก็คือเราต้องทำความเข้าใจว่ากลุ่มเป้าหมายที่เราจะนำเสนอให้เขารับรู้เนี่ยเป็นยังไง สมมุติกลุ่มเป้าหมายคือผู้สูงอายุ เราจะนำการ์ตูนอย่างดอล่าไปฉายให้ดูก็กระไรอยู่ถูกมะ เวลาเราจะติดต่อสอบถามข้อมูลกับผู้หลักผู้ใหญ่ก็ต้องใช้เพราะอาชีพครีเอทีฟสิ่งที่สำคัญไม่แพ้กันกับการสื่อสารก็คือข้อมูล แต่ละโปรเจกต์ที่ได้แต่ละครั้งก็จะเปลี่ยนไปเรื่อย ๆ รอบนี้ศาสนารอบหน้าอวกาศก็ได้ เราก็ต้องรู้จักวิธีการที่จะเอาข้อมูลนั้นมาให้ได้ด้วย
วันนี้พวกเราก็แยกย้ายกันไปในทีมต่าง ๆ ซึ่งเราได้ไปอยู่ในทีมที่ถึงขั้นตอน Production แล้วก็คือทีมพี่พึ่ง (Senior คนสวยนั่นเองงง) โดยวันนี้พี่ ๆ ในทีทีมก็ได้อธิบายงานให้ฟังว่าทำอะไรยังไงบ้าง ก็สรุปได้ออกมาว่าครีเอทีฟจะทำงานร่วมกับดีไซน์เนอร์ รีเสิร์ช ประสานงาน และมีไดเรกเตอร์เป็นผู้คุมทิศทางของงาน โดยดีไซน์เนอร์เนี่ยจะคอยสร้างสิ่งที่คิดให้เกิดได้จริง เปรียบเทียบก็คือ ครีเอทีฟเป็นนามธรรม ส่วน ดีไซน์เนอร์เป็นรูปธรรม มีรีเสิร์ชคอยช่วยหาข้อมูลเพราะข้อมูลที่ได้ต้องครอบคลุมและถูกต้อง ของหรือการติดต่อ งบประมาน ประสานงานก็จะจัดการในเรื่องนี้ เห็นได้ว่าต้องทำงานร่วมกันงานถึงจะสำเร็จ เพราะงานที่ได้เกิดจากทีมที่ดี
วันนี้ได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการนำเสนอความคิดเกี่ยวกับการสร้างพิพิธภัณฑ์ ว่าเด็กรุ่นใหม่อย่างเราอยากได้อะไร ชอบแบบไหน ได้คุยทั้งฝ่ายครีเอทีฟและดีไซน์เนอร์ ทำให้เห็นว่าทั้งสองฝ่ายมีวิธีการทำงานยังไง จะเห็นได้เลยว่าครีเอทีฟจะไปทางคอนเซปต์ ส่วนดีไซน์เนอร์เน้นตกแต่ง ตามที่บอกไปด้านบนในเรื่องรูปธรรมและนามธรรมเลย ที่สำคัญคืออยากจะเล่าความรู้สึกที่ได้ประชุมมากว่ามันปวดหัวสุด คือพี่ ๆ เก่งมากกกก ไม่รู้ว่าคิดกันได้ไง ขณะที่พี่เค้ากำลังนำเสนอความคิด ตัดภาพมาที่ตัวเอง... อืม สมองตันมากค่ะ 555555555 นับถือในการคิดของพี่เขาเลย ใครอยากเป็นครีเอทีฟต้องดูงานเยอะ ๆ นะจ๊ะ จะได้มีแนวคิดที่กว้างไกลลลล
นอกจากนี้ระหว่างที่ว่างไม่มีอะไรทำ 555 ก็จะเดินไปดูพี่ ๆ เค้าทำงาน ก็จะมีพี่ที่นั่งเขียน Content อยู่ ด้านหน้ามีสารานุกรมภาษาอังกฤษกางไว้ เห็นได้ชัดเลยว่าภาษาสำคัญมากนะ แต่ถ้าพยายามก็ทำได้อยู่แล้ว ไม่มีอะไรง่าย ๆ หรอก ทุกอย่างเริ่มจากศูนย์ทั้งนั้น พี่ ๆ เองก็ทำไม่ได้มาก่อนเหมือนกัน นี่คือกำลังใจจากพี่ ๆ ครีเอทีฟค่ะ
ครีเอทีฟต้องตรวจทุกการทำงานนะ ต้องลงพื้นที่จริง ต้องคอยเช็คโมเดล เพื่อไม่ให้หลุดจากคอนเซปต์หรือเกิดการผิดพลาดเพราะคนที่รู้ที่สุดคือเรา ดังนั้นเราต้องคอยเช็คเรื่องพวกนี้ด้วย แถมเมื่อมีอุปกรณ์มาเราก็ต้องทำความเข้าใจเอง เพื่อให้งานออกมาได้ราบรื่นที่สุด แต่นี่ก็คือข้อดีที่ทำให้เรารู้รอบด้านและได้เที่ยวบ่อย ถ้าไม่นับเรื่องทำงานไม่ได้หลับไม่ได้นอนนะ 5555555555555
จากพี่โป้ ครีเอทีฟนิทรรศการและพิพิธภัณฑ์
บริษัท ไร้ท์แมน จำกัด