หลาย ๆ คนคงยังไม่รู้ว่าตัวเองอยากทำอาชีพอะไรในอนาคต หรือ เราเหมาะกับอาชีพนั้น ๆ หรือไม่ วันนี้เราก็มีโครงการที่จะช่วยให้ใครหลาย ๆ คนได้ลองทำในสายอาชีพนั้น ๆ เช่น แพทย์ สถาปนิก นักข่าว แม้กระทั่งนักวิทยาศาสตร์การอาหารที่หลาย ๆ คนอาจจะยังไม่รู้ว่าอาชีพนี้เขาทำอะไรกัน ซึ่งโครงการนั้นก็คือ “ ทำก่อนฝัน ” และหนูก็ได้มีโอกาสได้เข้าร่วมโครงการนี้ ซึ่งถือว่าเป็นประสบการณ์ที่ดีมากที่ทำให้หนูให้ลงมือทำจริง ๆ และได้ไปดูงานต่าง ๆ อยากรู้กันมั้ยว่าเราทำอะไรกันบ้าง ถ้าอยากรู้ก็ไปดูกันเลยย!!
นักวิทยาศาสตร์การอาหาร สามารถทำงานได้หลากหลาย เช่น R&D (นักวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์) เป็นผู้ที่คิดค้นสูตรอาหารใหม่ ๆ และพัฒนาอาหารให้มีคุณค่ามากยิ่งขึ้น ฝ่าย QC/QA (นักตรวจสอบคุณภาพอาหาร) ก็จะทำการตรวจสอบคุณภาพของอาหารนั้นให้ถูกสุขลักษณะ และฝ่ายขายก็จะเป็นผู้ที่ขายอาหารให้กับผู้บริโภค เพราะนักวิทยาศาสตร์การอาหารจะเป็นผู้ที่รู้เรื่องอาหารอย่างละเอียดมากกว่าผู้อื่น
วันแรกพวกเราก็ได้ฟังบรรยายเกี่ยวกับนักวิทยาศาสตร์การอาหารอยู่ที่โรงงานซีพีที่ลาดหลุมแก้ว และได้ไปลองทำในฝ่าย R&D โดยได้ลองทำข้าวปั้น Onigiri กันเองเลยย
วันที่สองพวกเราได้ไปเยี่ยมชมโรงงานที่ชลบุรี ได้รู้กระบวนการผลิตข้าวกล่อง ซาลาเปา และขนมจีบ ซึ่งทำให้หนูรู้ว่า การจะผลิตอาหารออกมากล่องหนึ่ง ต้องผ่านกระบวนการต่าง ๆ มากมาย โดยต้องมีการรักษาความสะอาดของอาหารด้วยเช่นกัน พี่ ๆ พนักงานทุกคนจะต้องใส่หมวกคลุมผมและใส่ชุดที่คลุมทั้งตัว ปิดทั้งหน้าเหลือแค่ตาเวลาทำงาน เพื่อรักษาความสะอาดให้กับอาหารที่ผลิตออกมา
และก็ได้ไปดูการทำงานของฝ่าย QA ซึ่งพวกเราก็ได้ลองตรวจสอบคุณภาพของข้าวกะเพรา ซาลาเปา และขนมจีบด้วยค่ะ โดยเราต้องทำการชั่งน้ำหนักของข้าวกล่องนั้น จนกระทั่งการนับใบกะเพรา และการนับเม็ดข้าวกันเลยทีเดียว!! ถ้าถามว่าเขาจะนับไปทำไม ก็เพื่อตรวจสอบว่า อาหารนั้น ๆ ตรงกับสเปคที่ทางบริษัทกำหนดมาหรือไม่ เป็นการตรวจสอบคุณภาพของอาหารนั้น ๆ อีกด้วยค่ะ แล้วเราก็ยังได้ลองชิมอาหารที่ผลิตมาแต่ละวันด้วยค่ะ โดยพี่ ๆ จะให้เปรียบเทียบว่าแต่ละวันจะมีรสชาติแตกต่างกันอย่างไร โดยที่นี่เขาจะมีแบ่งกันเป็น day 0 ถึง day 3 ตามวันที่ผลิตสินค้านั้น ๆ ออกมาค่ะ
วันที่สาม พวกเราได้ฟังบรรยายเกี่ยวกับโลจิสติกส์ และได้ไปชมคลังสินค้าในห้องเย็นอีกด้วยค่ะ เพราะนักวิทยาศาสตร์การอาหารกับนักการจัดการโลจิสติกส์มีความเกี่ยวข้องกัน โดยนักวิทยาศาสตร์การอาหารจะผลิตอาหารออกมาแล้วนักจัดการโลจิสติกส์ก็จะส่งอาหารนั้น ๆ ไปให้ผู้บริโภค แต่จะบอกว่า!! ในห้องเย็นที่เก็บอาหาร frozen นั้นหนาวมาก ๆ!! อุณหภูมิประมาณ -19 องศาเลย!! ใครจะเข้าไปห้องนั้นก็ต้องใส่ชุดแบบนี้เข้าไปแหละค่ะ5555
1. ต้องเป็นคนที่มีความคิดสร้างสรรค์ในการคิดค้นผลิตภัณฑ์อาหารใหม่ ๆ ที่ตอบโจทย์ผู้บริโภค
2. ต้องเป็นคนที่มีความแม่นยำทางการรับรส เพราะเราต้องมีการตรวจสอบคุณภาพอาหารผ่านทางการรับรสอีกด้วย อ่าว แล้วอย่างงี้นักวิทยาศาสตร์การอาหารก็ได้กินตลอดเลยสิ! ไม่ใช่นะคะทุกคนน เวลาที่เขาทำการทดสอบ sensory test นี่ เขาจะทำการเคี้ยว รับรส แล้วคายออกมากันค่ะ เพราะถ้าเขากินตลอดทั้งวัน จะส่งผลต่อกระเพาะอาหารได้ค่ะ
3. ต้องมีความซื่อสัตย์ ผลิตอาหารที่ถูกสุขลักษณะให้กับผู้บริโภค ไม่เอาเปรียบผู้บริโภค
ได้ช่วยเหลือผู้คนผ่านการทำอาหารที่มีประโยชน์ สะอาด และปลอดภัยต่อผู้บริโภค
สุดท้ายนี้ ต้องขอขอบคุณทั้งทางโครงการทำก่อนฝัน และบริษัทซีพีแรม ที่ทำให้หนูได้เดินตามความฝันของหนู ซึ่งการที่หนูได้เข้าร่วมโครงการนี้ ถือเป็นประสบการณ์ดี ๆ อย่างหนึ่งเลยค่ะ ทำให้หนูได้ทำความรู้จักกับอาชีพนักวิทยาศาสตร์การอาหาร และยังได้รู้จักเพื่อน ๆ พี่ ๆ ทีมงานที่น่ารักทุกคนด้วยค่ะ นอกจากได้ความรู้แล้วยังได้มิตรภาพดี ๆ กลับไปอีกด้วยค่ะ อ่านมาถึงตรงนี้แล้วเชื่อว่าหลาย ๆ คนคงเริ่มสนใจกันแล้วสินะ เพราะฉะนั้นก็เข้ามาร่วมโครงการ ทำก่อนฝัน กันเลย ถ้าได้ลองมาทำดูแล้วจะไม่ผิดหวัง เพราะก่อนจะฝัน มันต้องลอง!!