Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

เมื่อผมอยากรู้ วิศวกรโทรคมนาคมทำอะไร

Posted By peerapat | 05 ต.ค. 61
3,360 Views

  Favorite
       หลายคนอาจคิดว่าวิศวกรโทรคมนาคมไกลตัวมาก งานหนัก งานเหนื่อย มีแต่งานเทคนิค ทำงานตามที่ลูกค้าสั่งเท่านั้นผมก็เป็นหนึ่งในคนที่คิดแบบนั้น จนได้เข้ามาฝึกงาน ดูงานผ่านโครงการทำก่อนฝัน นอกจากผมจะได้มองเห็นการทำงานของพี่ ๆ วิศวกรโทรคมนาคมแล้วผมยังได้มุมมองที่มากกว่านั้น
 

 เพื่อให้ไม่เสียอรรถรสในการอ่านผมขออนุญาตเขียนย่อวิศวกรโทรคมนาคมว่าวิศวโทรคมนะครับ ^_^

 

02/10/61 8:30 เริ่มวันแรกกันที่ บริษัท ทรูคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือที่เรียกกันว่าตึกทรูรัชดานั่นเองง

ภาพนี้จากมือถือผมเองครับ


         แลกบัตรแล้วขึ้นชั้น 24 กันเลยย พี่ ๆ พาพวกเราเข้าไปในห้องประชุม แอร์เย็นเฉียบ555555
หลังจากแนะนำตัวเรียบร้อย เริ่มต้นกันด้วยคำถามแรกจาก ดร.นริศ " คิดว่าวิศวกรโทรคมนาคมคืออะไร " มีความตื่นเต้นอย่างชัดเจนสังเกตุจากมือที่เย็นพอ ๆ กับแอร์55555

ผมตอบไปอย่างตะกุกตะกักอาจเพราะความตื่นเต้น หลังจากนั้นเป็นการแนะนำผังองค์กรว่าวิศวกรจะทำงานในส่วนไหนของบริษัทบ้าง ดร.นริศได้เสริมว่าวิศวกรแบ่งการทำงานอย่างง่าย ๆ ได้ 3 ขั้นตอน 1. คิด 2. สร้าง 3. ดูแล

Olympus OM-D E-M10 III


ช่วงบ่าย
แผนกนี้จะมีชื่อว่า Network Operation Center หรือเรียนสั้น ๆ ว่า NOC หน่วยงานนี้จะทำงานเป็นกะ ต้องมีพนักงานดูแลตลอด 24 ชม.เพราะปัญหาเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา

Olympus OM-D E-M10 III

          งาน monitor จะเป็นงานเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาหรือข้อผิดพลาดที่จะส่งมาจากตัวอุปกรณ์ไม่ว่าจะเป็น Feeder NodeB Corenetwork ฯลฯ เมื่อพบข้อผิดพลาดจะทำการออก ticket ให้ทางหน่วยงานที่อยู่ใกล้อุปกรณ์นั้น ๆ แก้ปัญหา รวมทั้งเฝ้าระวังหรือสร้างโปรแกรมแก้ไขข้อผิดพลาดเล็ก ๆ ที่มักเกิดขึ้นบ่อยเพื่อความรวดเร็วและความพึงพอใจของลูกค้า

 

Day 2

Olympus OM-D E-M10 III

เช้าวันที่ 2 ของการทำงาน พวกเราได้ดูเกี่ยวกับ Product&Service

ในภาพจะเป็นในส่วนของ device การทำงานในส่วนนี้คือจะทำการทดสอบอุปกรณ์จากทาง vender ว่าเข้ากันได้กับ Network ที่มีอยู่หรือไม่ จากที่เห็นในภาพมีแต่โทรศัพท์มือถือแต่จริง ๆ แผนกนี้ทดสอบหลายอุปกรณ์อื่นอีกเช่น apple watch, samsung gear หรือแม้แต่ Kidz watch

Olympus OM-D E-M10 III

   ไปต่อกันเลย แผนกนี้พี่เอิบจะดูแลเกี่ยวกับ voice ถ้าแปลตรงตัวคือการโทรแต่จริง ๆ แล้วยังมีการส่งข้อความอีกด้วยอย่างเช่น เวลาเดินเข้าห้างสรรพสินค้าแล้วมีข้อความส่งโปรโมชั่นร้านอาหารมาให้ เพื่อปริมาณการซื้อขายที่เพิ่มขึ้นนั้นเองงง แล้วระบบรู้ได้ยังไงว่าเราอยู่ที่ไหน โทรศัพท์ทุกเครื่องจะ report ตัวเองตลอดเวลาแม้เราจะไม่ได้เปิดตำแหน่งก็ตามทำให้ระบบรู้ว่าเราเดินห้างสรรพสินค้าอยู่น้าาา แล้วส่งโปรโมชั่นมาให้ทันที ในส่วนนี้พี่เอิบยังพูดเสริมอีกว่าวิศวกรโทรคมนาคมไม่ใช่แค่รองานจากลูกค้าแล้วทำตามอย่างเดียว แต่สามารถคิด project ใหม่ไปเสนอทีม business ได้อีกด้วยยย

Olympus OM-D E-M10 III

ส่วนแผนกนี้จะทำงานคล้ายกับ voice แต่เปลี่ียนเป็น Data หรืออินเทอร์เน็ตที่เราดูหนัง ฟังเพลง ดูฟีต รีทวีต ฯลฯ สามารถคิด project แล้วพรีเซนต์ได้เช่นกัน

 

พักเที่ยง ทานข้าวกันหน่อยครับ

Olympus OM-D E-M10 III

มื้อนี้ต้องขอขอบคุณผู้ใหญ่ใจดี พี่กิ้ฟ และพี่ตั้มด้วยครับที่เลี้ยงpizzaพวกเราไป 2 ถาดอิ่มจนจุกเลย555555

 

ช่วงบ่าย

อิ่มแล้วเราไปกันต่อที่ฝั่งฟอร์จูนกันบ้าง

Olympus OM-D E-M10 III

ทานอาหารมาอิ่ม ๆ แอร์เย็น ๆ ก็มีง่วง ๆ กันบางนิดหน่อยแต่ลุยกันต่อเลยในส่วนของอุปกรณ์ปลายทาง เส้นใยแก้ว ช่วงนี้ก็ให้ชมเป็นภาพอุปกรณ์รัว ๆ เลยนะครับ

เห็นเป็นกล่องๆนี่มีชื่อว่าsplitter closure หรือเราเรียกกันสั้นๆว่าL2ครับ
Olympus OM-D E-M10 III

เห็นเป็นกล่อง ๆ นี่มีชื่อว่า splitter closure หรือเราเรียกกันสั้น ๆ ว่า L2 ครับ จะเป็นตัวแยกเส้น Fibre optic ออกไปตามบ้านลูกค้าหรือห้องบนคอนโดครับ

Olympus OM-D E-M10 III

การต่อ Fibre optic เข้ากับพอร์ตของ L2 ครับ

Olympus OM-D E-M10 III

ภาพนี้เป็นอุปกรณ์เดินสาย Fibre optic เก็บในกำแพงเพื่อความสวยงามและปลอดภัยครับ

 

Day 3

วันนี้น่าตื่นเต้นที่สุดเพราะได้ออกไปดูชุมสายที่เมืองทองธานี ในช่วงเช้าพี่ ๆ ได้เริ่มแนะนำข้อมูลทางเทคนิคและผังคร่าว ๆ ว่าในส่วนไหนของชุมสายเป็นที่เก็บอะไร

สิ่งที่ผมชอบที่สุดในการออกแบบชุมสายคือพื้นครับ ใช่แล้วครับ พื้น พื้นห้องชุมสายได้ออกแบบให้ยกขึ้นเป็นแผ่นเพื่อวางสายไฟไว้ด้านใต้และยังทำให้อากาศถ่ายเทได้ดี

แอร์ในห้องเปิดไว้เย็นมาก ๆ เพราะอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ส่วนใหญ่ต้องอยู่ในอุณหภูมิต่ำกว่า 45 องศาเซลเซียส แต่ 45 นั่นคือวิกฤต ดังนั้นอุณหภูมิบนห้องจะถูกตั้งไว้ที่ประมาณ 25 องศาเซลเซียสครับ วันนี้ไม่มีภาพมาให้ดูกันนะครับเพราะข้อมูลค่อนข้างเป็นความลับ ^_^

     จากนั้นเราได้ออกไปดูเสาส่งสัญญาณใกล้ ๆ ตรงนี้ถ่ายรูปได้ครับ แน่นอนว่าผมไม่ลืมลั่นชััตเตอร์มาครับ

Olympus OM-D E-M10 III
Olympus OM-D E-M10 III

ส่วนตู้ที่ผมดูอยู่นี่ด้านในจะมีการ์ด 4G อยู่ครับ ส่วน 3G ก็จะอยู่ตู้ใกล้ ๆ กันนี่เองครับ

ช่วงบ่ายกลับมาที่ชุมสายก่อนครับ

บ่ายวันนี้จะเป็นการ walktest และ drivetest ครับเพื่อเป็นการทดสอบคุณภาพสัญญาณว่าเป็นอย่างไรบ้างครับ

walktest แปลตรงตัวเลยครับเดินทดสอบ จะใช้ในสถานที่เล็ก ๆ เช่น อาคาร บ้าน โรงเรียน เนื่องจากรถเข้าไม่ถึงครับ

Olympus OM-D E-M10 III

พี่ ๆ ได้ให้ผมลอง Walktest ด้วยตัวเองเลยครับ

Olympus OM-D E-M10 III

Walktest เรียบร้อยเราก็ออกมา Drivetest กันรอบ ๆ เมืองทองธานีครับภาพรวมสัญญาณถือว่าดีเลยครับ

ปล. โปรแกรมที่ใช้ในอุปกรณ์กินแบตมากกกกก

 

Day 4

วันนี้เป็นวันสุดท้ายของการฝึกงานแล้วครับ ใจหายนิดหน่อยจะไม่ได้มาแล้ว

วันนี้ก็ได้เรียนรู้เกี่ยวกับปัญหาสัญญาณของลูกค้าที่ร้องเรียนเข้ามาและอนุญาตให้ติดตามการใช้งานได้และมาทำกราฟวิเคราะห์ต่อไป

 

ทักษะต่าง ๆ ที่จำเป็นในอาชีพวิศวกรโทรคมนาคม

1. ความรู้ด้านวิศวกรรม

2. ความคิดที่เป็นระบบ

3. ทักษะการสื่อสาร

4. ภาษาอังกฤษ และภาษาอื่น ๆ

 ข้อดีและข้อจำกัดของอาชีพ

- สามารถเติบโตได้เรื่อย ๆ

- งานมีความหลากหลาย

- เวลาพักผ่อนมีน้อย

Quote เด็ดที่ประทับใจ

วิศวกรมีแต่เจ๊ากับเจ๊ง  ไม่ได้หมายถึงเจ๊งแบบเลิกกิจการนะครับ5555555 แต่หมายความว่าเวลาที่สัญญาณดรอปหรือ Network มีปัญหาก็มีแต่วิศวกรซ่อม ถ้าซ่อมได้ก็ไม่ได้รับคำชม มีเพียงความสุขและภูมิใจ ถ้าซ่อมไม่ได้ก็อาจถูกด่าได้55555555

 

สุดท้ายแล้วจริง ๆ ครับ ระยะเวลา 4 วันนี้ทำให้ผมได้มองเห็นเส้นทางการดำเนินชีวิตชัดเจนมากยิ่งขึ้น ไม่เพียงแต่ด้านการศึกษาต่อแต่ยังเป็นการใช้ชีวิตในทุกด้าน ทักษะการใช้ชีวิต การพูด การฟัง ก่อนหน้าผมจะมาโครงการทำ ก่อน ฝันนี้ผมอาจหลุดโฟกัสจากคณะวิศวกรรมไปบ้างแต่หลังจากนี้ไม่มีนอกใจไปไหนแล้วครับ คณะวิศวกรรมศาสตร์ 100% ครับ

Olympus OM-D E-M10 III

 

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
Tags
  • Posted By
  • peerapat
  • 0 Followers
  • Follow