Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

เภสัชกร...มากกว่าที่คุณคิด

Posted By Parinda | 05 ต.ค. 61
2,219 Views

  Favorite

เภสัชกรโรงพยาบาล

ภาพรวมหน้าที่ของอาชีพ

เภสัชกรโรงพยาบาลมีบทบาทหน้าที่แตกต่างกันไปตามแต่ละหน่วย ไม่ใช่ทำหน้าที่จ่ายยาเหมือนที่คนทั่วไปเข้าใจเพียงแค่อย่างเดียว เราไปดูกันดีกว่าว่าเภสัชกรมีหน้าที่ทำอะไรบ้าง...

- เภสัชกรบริการผู้ป่วยนอก ทำหน้าที่ดูแลการจัดยาให้ผู้ป่วยนอก (ผู้ป่วยนอกคือคนที่มารับการรักษาแบบมาเช้าเย็นกลับ ไม่ค้างคืนที่โรงพยาบาล) ตามใบสั่งยาที่แพทย์สัั่ง

- เภสัชกรบริการผู้ป่วยใน ทำหน้าที่ดูแลการจัดยาให้ผู้ป่วยใน (ผู้ป่วยในคือคนที่มารับการรักษาและมีการค้างคืนที่โรงพยาบาล) ตามใบสั่งยาที่แพทย์สั่ง โดยมีพยาบาลทำหน้าที่บริหารยาให้ผู้ป่วย

- เภสัชกรคลินิก ทำหน้าที่ขึ้นวอร์ด (หอผู้ป่วย) ที่มีการใช้ยาทั้งหมด โดยเภสัชกรคลินิก จะต้องทำหน้าที่ตั้งแต่ตรวจประวัติการใช้ยาทัั้งหมดของผู้ป่วยที่มารับการรักษา (ประวัติยาย้อนหลังได้ประมาณ 5 - 6 เดือน) เป็นที่ปรึกษาของแพทย์ในการจ่ายยาให้แก่ผู้ป่วย ติดตามผลการให้ยาร่วมกับแพทย์ ประเมินการให้ปริมาณยาแก่ผู้ป่วยว่ามีความเหมาะสมมั้ย ยาออกฤทธิ์ต่อต้านกันรึเปล่า ออกฤทธิ์เสริมกันรึเปล่า เป็นอันตรายต่อร่างกายของผู้ป่วยรึเปล่า เภสัชกรคลินิกก็จะดูแลเกี่ยวกับพวกนี้

- เภสัชกรฝ่ายผลิตยา ทำหน้าที่ผลิตตัวยาที่บริษัทต่าง ๆ ไม่มีขาย หรือมีขายแต่เป็นปริมาณที่ไม่พอดีกับร่างกายของผู้ป่วย เภสัชกรฝ่ายผลิตก็จะทำหน้าที่ผลิตยาออกมาเพื่อใช้รักษาผู้ป่วย เพื่อดูแลสุขภาพ เช่น การผลิตยาคีโมเพื่อรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็ง 

- เภสัชกรฝ่ายจัดซื้อ ทำหน้าที่ทำนายการใช้ยาในแต่ละเดือนของโรงพยาบาล แล้วจัดทำการสั่งซื้อตัวยานั้นจากบริษัทต่าง ๆ

หน้าที่ของเภสัชกรบางส่วน
ตัวเรา

1 วันกับอาชีพแต่ละวัน

วันที่ 1 เหมือนไม่ใช่ฝึกงาน

          พี่เภสัชกรสอนให้อ่านใบสั่งยาจากแพทย์ผู้รักษาจริง ๆ เลยค่ะ ว่าถ้าได้ใบสั่งยามาแล้ว เราจะต้องเช็คอะไรบ้าง เช่น ชื่อ - นามสกุลผู้ป่วย ประวัติการแพ้ยา ชนิดของยาไม่ต้านกันหรือเสริมกันแล้วก่อให้เกิดผลเสีย ปริมาณของยาที่ได้รับเพียงพอต่อการรักษาโรคหรือเพียงพอต่อเวลาที่จะมาพบแพทย์อีก ประมาณนี้เลยค่ะ

วันที่ 2 ร่วมทำวิจัยกับพี่ที่ดูแล

          พี่ที่ดูแลเราในแผนกเภสัชกรบริการผู้ป่วยนอก ได้ให้เราร่วมทำวิจัยเรื่อง การอ่านฉลากยาให้ถูกต้อง โดยให้เราไปสอบถามผู้ป่วยเกี่ยวกับการอ่านฉลากยาและการใช้ตัวยาชนิดต่าง ๆ การทำวิจัยนี้ทำให้เราสามารถจดจำชนิดของยาได้หลากหลายมากยิ่งขึ้น พร้อมทั้งวิธีการใช้ คำเตือนต่าง ๆ เราก็สามารถจดจำได้ด้วยค่่ะ นอกจากนี้ การที่พี่ให้เราไปสอบถามผู้ป่วยเกี่ยวกับการใช้ยา ก็ทำให้เรารู้จักการเข้าหาผู้ใหญ่  การวางตัวให้ถูกกาละเทศะ รู้สึกสนุกกับการพูดคุยกับผู้ป่วยด้วย

วันที่ 3 ศึกษาขั้นตอนการผสมยาของผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็ง

          พี่เภสัชกรที่ดูแลผู้ป่วยใน เป็นคนพาไปศึกษางาน ได้เข้าไปที่ห้องผสมยาเคมีบำบัด พี่ที่ทำหน้าที่ดูแลห้องยาเคมีบำบัดก็ให้คำแนะนำด้านต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี ยาเคมีบำบัดก็จะมีการจััดทำตามใบสั่งยาของแพทย์ การทำคีโมเป็นแบบมาเช้าเย็นกลับ บางครั้งการให้คีโมก็จะใช้เวลาเพียง 1 - 2 ชั่วโมงเท่านั้น ไม่ใช้เวลานาน

วันที่ 4 พาชมวิธีการทำงานของแผนกเภสัชกรคลินิก

          พี่เภสัชกรคลินิกพาพวกเราไปชมการทำงานในแผนกที่มีผู้ป่วยจริง ๆ เลย สอนพวกเราดูค่าจากผลเลือดของผู้ป่วยโดยเบื้องต้น ว่าค่าผลเลือดแบบนีี้มีภาวะอาการอย่างไร แสดงถึงการเกิดโรคอะไรได้บ้าง แล้วเราควรเพิ่มหรือลดตัวยาชนิดใดเพื่อให้ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้น นอกจากนี้พี่เภสัชกรก็ยังพาไปดูอุปกรณ์ทางการแพทย์ชนิดใหม่ ๆ ที่ทางโรงพยาบาลมี เช่น เครื่องจ่ายยาอัตโนมัติ ตู้ยาฉุกเฉิน เครื่องปรับปริมาณการให้ยาทางหลอดเลืืือด ห้องปรับความดัน เป็นต้้น

 ทักษะต่าง ๆ ที่จำเป็น ทักษะต่างๆที่จำเป็นต่อการประกอบอาชีพนี้

- มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี มีบุคลิกภาพดี และสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้

- มีความรับผิดชอบในงานที่ทำ มีความละเอียดรอบคอบ

- สามารถประยุกต์ใช้ความรู้ด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับด้านเภสัชกรรมเข้ากับงานที่ทำได้

 ข้อดีและข้อจำกัดของอาชีพ

- ให้ประชาชนสามารถเข้าถึงราคาถูกและมีประโยชน์ 

- เป็นวิชาชีพที่มีความรับผิดชอบสูง ผิดพลาดไม่ได้ เพราะทำงานเกี่ยวข้องกับชีวิตของคน และจะต้องมีความรับผิดชอบทางกฎหมายด้วย

 

Quote เด็ด ๆ จากพี่เลี้ยง ที่ประทับใจ

" คิดอะไร ต้องไปให้สุด " 

 

          ♡♡ขอขอบคุณพี่ ๆ ทีมงานจากทรูปลูกปัญญาที่เปิดโอกาสให้หนูเรียนรู้งาน

          ♡♡ขอขอบคุณพี่ ๆ จากโรงพยาบาลรามาธิบดีที่ให้ความรู้ แนะนำ และคอยดูแลขณะที่ดูงานนะคะ

          ♡♡ขอขอบคุณพี่ ๆ ที่ร่วมทำกิจกรรมด้วยกัน ให้คำปรึกษาในเรื่องต่าง ๆ

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
Tags
  • Posted By
  • Parinda
  • 0 Followers
  • Follow