ส่วนที่ 1 – เป็นบทสนทนาระหว่างคนสองคนเกี่ยวกับสถานการณ์ในชีวิตประจำวัน เช่น การเปิดบัญชีออมทรัพย์ธนาคาร
ส่วนที่ 2 – เป็นการพูดคนเดียว โดยอาจเป็นเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน เช่น การให้ข้อมูลเกี่ยวกับการประชุม
ส่วนที่ 3 – เป็นการสนทนาซึ่งอาจจะเป็นการสนทนาระหว่าง 2 คน หรือมากกว่านั้น ซึ่งเนื้อหาโดยมากจะเกี่ยวกับการศึกษา หรือการฝึกอบรม
ส่วนที่ 4 – เป็นการพูดคนเดียวในหัวข้อด้านวิชาการ เช่น การบรรยายของอาจารย์ในห้องเรียน
- multiple choice (คำถามปรนัย)
- short answer (ให้ตอบแบบสั้น ๆ)
- sentence completion (เติมประโยคให้สมบูรณ์)
- chart completion (เติมตารางให้สมบูรณ์)
- graph (กราฟ)
- tables (ตาราง)
- making notes (จดบันทึก)
- summarizing (ย่อความ)
- labeling diagrams
- plans, and maps (ติดป้าย แผนภาพ แผนผัง และแผนที่)
- classification (การจัดหมวดหมู่)
- matching (จับคู่)
- selecting from a list (เลือกจากบัญชีรายชื่อ)
1. ผู้สอบต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าเราได้ใส่คำตอบลงไปในการะดาษคำตอบครบทั้ง 40 ข้อ และใส่ลงไปอย่างถูกต้อง ไม่สลับข้อกัน
2. อ่านคำถามให้ดีว่าให้เติมคำตอบแบบไหน เพราะคำถามในแต่ละส่วนจะไม่เหมือนกัน
3. ตรวจสอบการใช้หลักไวยากรณ์ (grammar) ในการเขียนตอบดูให้ดี เช่น การผัน verb ให้ถูกต้องตาม tense การใช้ article (a, an, the) เป็นต้น
3. เช็คตัวสะกด (spelling) ดูให้ดี เพราะการสะกดผิดจะทำให้ถูกหักคะแนนไปโดยไม่จำเป็น
4. นอกจากนี้ ลายมือก็เป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม เพราะบางครั้งลายมือที่อ่านยากก็อาจทำให้ Examiner อ่านไม่ออก หรือเข้าใจว่าผู้สอบสะกดคำนั้นๆ ผิดได้