แต่ปัญหาที่ว่ามานี้ ไม่ใช่สิ่งที่ป้องกันหรือแก้ไขไม่ได้นะคะ หากว่าเราเข้าใจสาเหตุที่แท้จริง อย่างเช่น “วิธีการสื่อสาร” ของเราเอง ว่ามีผลต่อพฤติกรรมของลูกอย่างไร แล้วเปลี่ยนมาใช้คำพูดในแบบใหม่ ก็จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดพฤติกรรมก้าวร้าวต่อต้านของลูก ๆ ลงไปได้มากทีเดียวเลยค่ะ ลองมาดูกันนะคะว่า สถานการณ์และคำพูดยอดฮิตแบบไหนกันบ้าง ที่ต้อง “ปรับ” และ “เปลี่ยน” กันค่ะ
คำพูดว่า จะลงโทษ เมื่อเด็กทำพฤติกรรมงอแง ต่อต้าน ยั่วโมโห เป็นคำพูดที่กระตุ้นความรู้สึกแย่ให้กับเด็ก ไม่ว่าจะเป็นความโกรธ หรือความกลัว ซึ่งต่างก็ทำให้เด็กยิ่งงอแงหนักกว่าเดิม เนื่องจากไม่รู้ว่าจะต้องจัดการกับอารมณ์นั้นอย่างไร และรู้สึกว่า ตนเองไม่ได้รับความสนใจในสิ่งที่ตนต้องการ
ควรเปลี่ยนเป็น >>> พ่อ/แม่เข้าใจว่าหนูกำลังโมโห แต่เราไม่ตีคนอื่นแบบนี้นะลูก จากนั้นจึงดึงลูกออกจากสถานการณ์ เมื่อสงบลง จึงให้ลูกกลับไปขอโทษอีกครั้ง
การบอกให้เด็กไปอยู่คนเดียว หรือแสดงออกถึงการผลักไสไล่ส่ง ค่อนข้างเป็นความรู้สึกที่รุนแรงกับจิตใจของเด็กมาก ๆ เลยนะคะ เพราะแสดงถึงการไม่ยอมรับ ไม่ต้องการเขา เด็กบางครั้งจึงยิ่งทำพฤติกรรมต่อต้านและงอแงหนักขึ้น ในขณะที่บางคนอาจใช้การเพิกเฉย ไม่สนใจ ทำเป็นไม่แคร์ (ทั้งที่ในใจรู้สึกแย่มาก)
ควรเปลี่ยนเป็น >>> เรามาสงบสติอารมณ์ข้างนอก (หรือที่อื่นที่ไม่ใช่ที่ ๆ เกิดการปะทะอารมณ์) กับแม่/พ่อ ด้วยกันก่อนนะลูก
หลาย ๆ ครั้งที่เด็กไม่ยอมทานอาหาร เป็นเพราะว่าเด็กไม่หิวจริง ๆ หรือบางครั้งอาหารที่รับประทานนั้นไม่ถูกปาก การให้ข้อเสนอที่เด็กเลือกไม่ได้ นอกจากจะไม่ทำให้เด็ก ๆ อยากทานอาหารมากขึ้นแล้ว ยังมักจะนำมาซึ่งการปะทะอารมณ์กันระหว่างคุณกับลูกอีกใช่มั้ยล่ะคะ
ควรเปลี่ยนเป็น >>> ไหนบอกซิลูก ว่าวันนี้หนูอยากทานอะไร / เรามาทำยังไงดี ให้อาหารจานนี้อร่อยขึ้น (การเพิ่มตัวเลือกหรือให้เด็กแสดงความคิดเห็น เป็นวิธีหนึ่งที่ทำให้เด็กรู้สึกอยากทานอาหารและรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตัวเองมากขึ้นได้ค่ะ)
หลาย ๆ ครั้งเด็กมีอารมณ์โกรธ เสียใจ โมโห เศร้า มักส่งเสียงดังด้วยความไม่รู้ตัว เพราะนั่นเป็นวิธีการระบายหรือแก้ไขปัญหาของเขาอย่างหนึ่ง การที่คุณพ่อคุณแม่บอกให้เด็กหยุดส่งเสียงดัง จึงไม่ได้ช่วยให้เด็กสงบลง เพราะน้ำเสียงและคำพูดของเรา ยังคงกระตุ้นให้เด็กมีระดับอารมณ์ที่สูงอยู่
ควรเปลี่ยนเป็น >>> ใช้น้ำเสียงที่เบาลงกว่าปกติกับเด็ก เพื่อกระตุ้นความสนใจ และบอกให้ลูกเบาเสียงลงด้วยคำพูดเชิงบวกเช่น “พูดเบา ๆ นะคะ/ครับ หรือ ไหนบอกแม่ดี ๆ ช้า ๆ ซิลูก เสียงดังแบบนี้แม่ไม่เข้าใจค่ะ”
ครูพิม ณัฏฐณี สุขปรีดี
นักจิตวิทยาผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาศักยภาพเด็กเล็กและการเลี้ยงลูกเชิงบวก