Present Continuous Tense หรือหลายคนอาจจะรู้จักในชื่อ Present Progressive Tense อย่างที่เรารู้ว่า present แปลว่า ปัจจุบัน ส่วน continuous/progressive แปลว่า ดำเนินอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น Tense นี้จึงเป็นการบอกเล่าสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ในปัจจุบัน โดยมีลักษณะการใช้ดังนี้
I am studying at Chulalongkorn university.
(ฉันกำลังศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
Palm is trying to lose weight now.
(ปาล์มกำลังพยายามลดน้ำหนักอยู่ตอนนี้)
These day, most people are favoring healthy food.
(ปัจจุบันผู้คนส่วนใหญ่กำลังนิยมอาหารเพื่อสุขภาพ)
I am meeting my parent tonight.
(ฉันจะพบกับพ่อแม่ในคืนนี้)
Cherprang and Pun are going on holiday next week.
(เฌอปรางและปัญจะไปพักร้อนสัปดาห์หน้า)
Suwich is constantly talking. I wish he would shut up.
(สุวิชพูดไม่หยุดเลย ฉันหวังว่าเขาจะหยุดพูดเสียที)
**ผู้พูดแสดงอาการรำคาญจากการพูดไม่หยุดของสุวิช
I don't like gangster near my house because they are always making noisy.
(ฉันไม่ชอบกลุ่มอันธพาลใกล้บ้านของฉัน เพราะพวกเขามักจะทำเสียงดังเสมอ)
**ถึงแม้ว่าเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นประจำ แต่มันเกินพอดีจึงใช้ในรูปประโยค Present Continuous Tense
ลักษณะเด่นของรูปประโยค Present Continuous Tense คือ การใช้ V. to be (Is, Am, Are) และตามด้วยคำกริยาที่มีการเติม -ing โดยรูปประโยค Present Continuous Tense มี 3 รูปแบบ ดังนี้
โครงสร้างประโยคบอกเล่า : Subject + V. to be + Verb. เติม ing + Object + (คำบอกเวลา)
สิ่งที่เราต้องคำนึงในรูปประโยคของ Present Continuous Tense คือการใช้ V. to be ซึ่งประกอบด้วย is, am, are โดยจะเลือกใช้ V. to be ตัวใดนั้นให้สังเกตที่ประธานของประโยค ถ้าประธานเป็น He, She, It ให้ใช้ is แต่ถ้าประธานเป็น I ให้ใช้ am และถ้าประธานเป็น You, We, They ให้ใช้ are และเปลี่ยนรูปคำกริยาโดยการเติม ing ตัวอย่างเช่น
My sister is playing violin.
(น้องสาวของฉันกำลังเล่นไวโอลิน)
** ประโยคนี้ประธานคือ My sister หรือใช้ She แทนได้ จึงต้องตามด้วย V. to be คือ is และเติม ing หลังคำว่า play
We are reading newspaper now.
(พวกเรากำลังอ่านหนังสือพิมพ์ตอนนี้)
** ประโยคนี้ประธานคือ We ซึ่งเป็นพหูพจน์ ต้องตามด้วย V. to be คือ are และเติม ing หลังคำว่า read
I am sleeping under the tree.
(ฉันกำลังนอนอยู่ใต้ต้นไม้)
** ประโยคนี้ประธานคือ I ซึ่งถึงแม้ว่าจะเป็นเอกพจน์ แต่จะต้องตามด้วย V. to be คือ am เท่านั้น และเติม ing หลังคำว่า sleep
1. คำกริยานั้นมีสระเสียงสั้น (อะ อิ อุ เอะ โอะ ฯลฯ) และโดยมากมักเป็น a, e, i, o, u อยู่หน้าพยัญชนะท้าย หรือคำกริยานั้น ๆ มีตัวสะกดเพียงตัวเดียว ก่อนเติม ing ให้เพิ่มตัวสะกดของคำนั้นซ้ำอีกตัวหนึ่งแล้วจึงเติม ing เช่น
sit ---> sitting
cut ---> cutting
get ---> getting
shop ---> shopping
2. คำกริยานั้นลงท้ายด้วย e ให้ตัด e ทิ้งแล้วเติม ing เช่น
come ---> coming
drive ---> driving
make ---> making
ride ---> riding
smoke ---> smoking
3. คำกริยาที่มีสระ 2 ตัว (A, E, I, O, U) ให้เติม ing ได้เลย เช่น
cook ---> cooking
keep ---> keeping
read ---> reading
4. คำกริยาที่ลงท้ายด้วย ie ให้เปลี่ยน ie เป็น y แล้วจึงเติม ing เช่น
die ---> dying
lie ---> lying
5. คำกริยาที่มีสองพยางค์ และออกเสียงหนัก (stress) ที่พยางค์หลัง โดยพยางค์นั้นมีสระและตัวสะกดเพียงตัวเดียว ให้เพิ่มตัวสะกดของคำนั้นซ้ำอีกตัวหนึ่งแล้วจึงเติม ing เช่น
begin ---> beginning
refer ---> referring
swim ---> swimming
โครงสร้างประโยคคำถาม : V. to be + Subject + Verb. เติม ing + object + (คำบอกเวลา)?
ประโยคคำถามใน Present Continuous Tense ไม่มีกฎอะไรมากมายเลยค่ะ เพียงแค่สลับที่ V. to be ขึ้นมาไว้ต้นประโยค โดยต้องพิจารณาการเลือกใช้ V. to be ตามประธานของประโยคด้วย เพียงเท่านี้ก็จะได้ประโยคคำถาม ตัวอย่างเช่น
Is it raining at the moment ?
(ฝนกำลังตกอยู่ตอนนี้หรือเปล่า?)
Are you lying to me ?
(คุณกำลังโกหกฉันหรือเปล่า?)
โครงสร้างประโยคปฏิเสธ : Subject + V. to be + not + Verb. เติม ing + object + (คำบอกเวลา)
สำหรับรูปประโยคปฏิเสธคงรูปเดิมคล้ายกับประโยคบอกเล่า แต่เพิ่ม not ขึ้นมาหลัง V. to be เพียงเท่านี้ก็จะเป็นประโยคปฏิเสธใน Present Continuous Tense ตัวอย่างเช่น
The students are not studying Science.
(นักเรียนไม่ได้กำลังเรียนวิชาวิทยาศาสตร์)
Sunisa is not doing homework.
(สุนิสาไม่ได้กำลังทำการบ้าน)
I am not swimming in the canal.
(ฉันไม่ได้กำลังว่ายน้ำอยู่ในลำคลอง)
1. กริยาที่แสดงถึงประสาทสัมผัสทั้งห้า เช่น see, hear, feel, taste, smell เป็นต้น
2. กริยาที่แสดงความรู้สึก นึกคิด เช่น believe, know, understand, forget, remember, recognize, fear เป็นต้น
3. กริยาที่แสดงความชอบและไม่ชอบ เช่น love, like, hate, dislike, desire เป็นต้น
4. กริยาที่แสดงความต้องการ เช่น want, wish, prefer เป็นต้น
อ่านเนื้อหาเพิ่มเติมได้ที่
>>>แกรมม่าสำคัญต้องรู้! คำกริยาห้ามเติม –ing ใน Present Continuous Tense
>>>เทียบชัด ๆ ให้เคลียร์ หลักการใช้ Present simple กับ Present continuous