1. Discussion = การหารือหรือการอภิปราย
2. Root cause = สาเหตุของปัญหา
3. Issues = ประเด็น
4. Weekly meeting = การประชุมประจำสัปดาห์
5. Annual meeting = การประชุมประจำปี
6. Shareholder meeting = การประชุมผู้ถือหุ้น
7. Agenda = หัวข้อเรื่องที่จะพูดในการประชุม
8. Conference room = ห้องประชุม
9. Minutes = บันทึกการประชุม
10. Vote for = จำนวนผู้เห็นด้วย
11. Opposed = จำนวนผู้ไม่เห็นด้วย
12. Abstained = จำนวนผู้ไม่ออกเสียง
การเปิดประชุมและทักทายผู้เข้าร่วมประชุมอาจทำได้โดยประธานในการประชุมหรือผู้ที่จะนำเสนอเรื่องเป็นคนแรกในการประชุม ซึ่งสามารถใช้ประโยคและวลีต่อไปนี้
Good morning/afternoon …
Since everyone is here, let’s get started … ---> เมื่อครบทุกคนแล้ว พวกเราไปเริ่ม ... กันเถอะ
Ex. Since everyone is here, let’s get started the meeting.
(เมื่อครบทุกคนแล้ว พวกเราไปเริ่มการประชุมกันเถอะ)
Let’s begin … ---> เริ่ม ... กันเถอะ
Ex. Let’s begin meeting
(เริ่มการประชุมกันเถอะ)
First of all, I really appreciate your presence here today. ---> อันดับแรก ผม/ดิฉันรู้สึกซาบซึ้งกับการมาเข้าร่วมประชุมของพวกคุณในวันนี้
First, I’d like to welcome everyone. ---> อันดับแรก ผม/ดิฉันขอต้อนรับทุกคน
I’d like to thank everyone for coming today. ---> ผม/ดิฉันขอขอบคุณทุกคนที่มาในวันนี้
ก่อนเริ่มการประชุมเราควรมีการแนะนำตนเองและทำความรู้จักกับผู้เข้าร่วมประชุม เพื่อให้การประชุมเกิดความเป็นกันเองมากขึ้นและจะได้ทราบว่ามีใครที่ไม่ได้มาเข้าร่วมการประชุม
I’m … (เติมชื่อของตนเองลงไป)
Let’s go around the room and introduced ourselves quickly … ---> เรามาเริ่มแนะนำตนเองกันอย่างเร็ว ๆ วนไปรอบห้อง
Let’s go around the table and introduced ourselves … ---> เรามาเริ่มแนะนำตนเองวนไปรอบโต๊ะ
(Someone) sends apologies. He/she couldn’t make it this morning/afternoon ... ใช้เมื่อการแนะนำตัวเสร็จสิ้นและต้องการบอกรายชื่อผู้ที่ไม่ได้มาเข้าร่วมการประชุม โดยเปลี่ยนชื่อและเวลาตามความเป็นจริง
Ex. Somsri sends apologies. She couldn’t make it this morning.
(สมศรีฝากมาขอโทษว่าหล่อนไม่สามารถเข้าร่วมการประชุมได้ในเช้านี้)
ก่อนเริ่มการประชุมควรมีการนำเสนอวาระการประชุมทุกครั้ง เพื่อจะได้ทราบถึงขอบเขตการประชุมในครั้งนี้และเป็นการตรวจสอบว่าได้ตกหล่นประเด็นใดไปหรือไม่ การประชุมในครั้งนี้มีประเด็นครบถ้วนแล้วหรือยัง โดยอาจใช้ประโยคในการนำเสนอวาระการประชุมดังนี้
So let's start with the first item on the agenda ... ---> ดังนั้นเรามากันที่หัวข้อแรกในการประชุมกันเถอะ ...
Our goal today is to … ---> จุดหมายของการประชุมในวันนี้คือ…
Ex. Our goal today is to discuss about our new project.
(จุดหมายของการประชุมในวันนี้คือหารือเกี่ยวกับโครงการใหม่ของเรา)
We have a few items to discuss today. The first is … The second is … ---> เรามีประเด็นสองสามเรื่องที่จะต้องอภิปรายกันในวันนี้ ประเด็นแรกคือ … ประเด็นที่สองคือ …
Ex. We have a few items to discuss today. The first is increasing the number of employees. The second is new project's budget.
(เรามีประเด็นสองสามเรื่องที่จะต้องอภิปรายกันในวันนี้ ประเด็นแรกคือ การเพิ่มจำนวนพนักงาน ประเด็นที่สองคือ งบประมาณของโครงการใหม่)
We’re here to discuss … ---> พวกเรามาอยู่ที่นี่เพื่อหารือเรื่อง …
Ex. We’re here to discuss about providing the education for workers.
(เรามาประชุมกันในวันนี้เพื่อหารือเกี่ยวกับการให้การศึกษาแก่คนงาน)
At the end of our discussion today, we should have a decision on … ---> ในตอนท้ายของการอภิปรายในวันนี้ พวกเราจะต้องตัดสินใจว่า …
Ex. At the end of our discussion today, we should have a decision on increasing budget for our new project.
(ในตอนท้ายของการอภิปรายในวันนี้ พวกเราจะต้องตัดสินใจกับการเพิ่มงบประมาณโครงการใหม่ของเรา)
การประชุมในแต่ละครั้งเป็นการประชุมเพื่อชี้แจงและร่วมหารือในประเด็นใดประเด็นหนึ่งร่วมกัน ดังนั้นการสอบถามความคิดเห็นหรือข้อมูลจากผู้อื่นจึงถือเป็นสิ่งที่จำเป็นในการประชุม โดยอาจใช้ประโยคดังต่อไปนี้
What does everyone think? ---> ทุกคนคิดเห็นอย่างไร?
What are your thoughts on ... ---> คุณมีความคิดเห็นอย่างไรเกี่ยวกับ ...?
Tom, would you like to offer any information on this? ---> ทอม คุณต้องการนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้หรือเปล่า?
I’d like to hand it over to Cindy, who can share her thoughts about ... ---> ผม/ดิฉันขอยกหน้าที่ต่อให้ซินดี้ ซึ่งเธอจะมาแลกเปลี่ยนความคิดเกี่ยวกับ ...
ในตอนท้ายของการประชุมจะต้องมีการสรุปประเด็นสำคัญในแต่ละหัวข้อที่ได้ชี้แจงหรือหารือร่วมกันในการประชุม รวมถึงการสรุปความคิดเห็นของคนส่วนใหญ่หรือผลการตัดสินใจต่อประเด็นต่าง ๆ ในการสอบถามความคิดเห็นของผู้เข้าร่วมการประชุม
After discussing our options, it's time for a final decision. ---> หลังจากการหารือประเด็นต่าง ๆ ของเรา ตอนนี้ถึงเวลาที่จะสรุปการตัดสินใจสุดท้าย
Let's put it to a vote - all in favor, raise your hand. ---> เรามาโหวตกันเถอะ ใครเห็นด้วยให้ยกมือขึ้น
It seems clear from our discussion that everyone is opposed/in favor of … ---> ดูเหมือนจะชัดเจนจากการหารือว่าทุกคนไม่เห็นด้วย/เห็นด้วยกับ ...
เมื่อใกล้ครบกำหนดเวลาการประชุมหรือการหารือเกี่ยวกับประเด็นต่าง ๆ ได้ครบถ้วนเรียบร้อยแล้ว ผู้ที่ทำหน้าที่ดำเนินการประชุมอาจจะใช้ประโยคในการเริ่มปิดการประชุมดังนี้
We’re getting close to our time, so let’s wrap it up. ---> ใกล้ครบกำหนดเวลาการประชุม ดังนั้นเรามาสรุปการประชุมกันเถอะ
Any final thoughts before we close the meeting? ---> ใครมีความคิดเห็นอะไรอีกหรือเปล่า ก่อนที่เราจะปิดการประชุม?
It looks like we’ve covered our main points … ---> ดูเหมือนว่าเราได้ครอบคลุมประเด็นหลักเรียบร้อยแล้ว ...
I'd like to thank everyone for sharing their time today. ---> ผม/ดิฉันขอบคุณทุกคนที่สละเวลามาในวันนี้
I look forward to seeing you all at our next meeting. ---> ผม/ดิฉันหวังว่าจะได้พบพวกคุณทุกคนในการประชุมครั้งถัดไป