หากเราพูดถึงแมกมา จะหมายถึงหินหลอมเหลวที่อยู่ใต้เปลือกโลกของเรา และเมื่อหินหลอมเหลวเหล่านั้นปะทุออกมาจากเปลือกโลก เราจะเรียกว่า “ลาวา” ค่ะ
แมกมาจะอยู่ในชั้นเนื้อโลก (Mantle) ที่อยู่ระหว่างชั้นเปลือกโลก (Crust) ซึ่งเป็นชั้นบนสุด และชั้นแก่นโลก (Core) ซึ่งอยู่ชั้นล่างสุดค่ะ แมกมามีลักษณะเป็นหินหนืดหลอมเหลว ประกอบด้วยแร่ธาตุหลากหลายชนิด ธาตุที่พบส่วนใหญ่คือ แร่ซิลิกา แร่ซิลิกาเป็นแร่ที่เรารู้จักกันดีในการนำมาทำแก้วหรือคริสตัล นอกจากนั้นยังพบก๊าซที่อยู่ในแมกมา เช่น ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และไอน้ำ
เมื่อเกิดเหตุการณ์ภูเขาไฟระเบิด แมกมาที่อยู่ชั้นเนื้อโลกเกิดการปะทุออกมา เราเรียกว่า ลาวา นั่นเอง ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และไอน้ำที่เคยอยู่ในแมกมาจะลอยหายไปในอากาศพร้อมกับการปะทุ ในขณะที่หินหนืดลาวายังคงไหลไปตามแผ่นเปลือกโลก ซึ่งลาวามีอุณหภูมิที่สูงมากถึง 100 องศาเซลเซียส ทำให้สิ่งก่อสร้างและยานพาหนะถูกทำลายเสียหาย รวมถึงสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ เช่น มนุษย์ สัตว์ พืชก็ถูกทำลายเช่นกัน
อย่างไรก็ตาม ใช่ว่าลาวาจะมีโทษอย่างเดียวนะคะ ลาวามีประโยชน์อย่างมากเช่นกัน เนื่องจากลาวาเป็นหินหนืดที่มีแร่ธาตุเยอะมาก ดังนั้น พื้นที่หลังจากการเกิดภูเขาไฟระเบิดส่วนใหญ่จะเป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์มาก เพราะในดินภูเขาไฟนั้นมีแร่ธาตุเยอะจึงเหมาะแก่การเพาะปลูก ดังนั้น บริเวณที่เคยเกิดภูเขาไฟระเบิดมาก่อนจึงเป็นพื้นที่ที่ดินดี อุดมสมบูรณ์นั่นเองค่ะ
บทความที่เกี่ยวข้อง
- ภูเขาไฟ ลาวา และความอุดมสมบูรณ์