ซิลิโคนเป็นพอลิเมอร์สังเคราะห์ที่เกิดจากปฏิกิริยาพอลิเมอไรเซชันแบบควบแน่น ประกอบด้วยสารอนินทรีย์สำคัญ คือ ซิลิคอน (Si) ที่ได้จากการสังเคราะห์ซิลิกอนไดออกไซด์ (SiO2) โดยมีโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ คือ เมทิลซิลิโคน หรือ โพลิไดเมทิลไซลอกเซน ซึ่งมีธาตุออกซิเจน ไฮโดรเจน และคาร์บอนเป็นธาตุองค์ประกอบร่วมในโมเลกุล
ด้วยคุณสมบัติของซิลิโคนที่เป็นพอลิเมอร์สังเคราะห์แบบควบแน่นที่ทำให้ซิลิโคนมีคุณสมบัติที่แข็งแรงยืดหยุ่น ทนความร้อนหรือการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิได้ดี รวมถึงยังมีคุณสมบัติเป็นฉนวนไฟฟ้าอีกด้วย
ชื่อเรียกของ "ซิลิโคน" นั้น แต่เดิมมีที่มาจากสารเคมีไซลอกเซน (Siloxane) จากการสังเคราะห์ผลงานของนักวิทยาศาสตร์เคมีชาวอังกฤษ ดร.คิปปิง (Dr. Frederic Stanley Kipping ที่ค้นพบการสังเคราะห์สารที่มีโครงสร้างคล้ายสารคีโตน แต่มีธาตุซิลิกอนแทนที่โครงสร้างของคาร์บอน
ต่อมาสารเคมีดังกล่าวได้ถูกพัฒนาเพื่อให้มีคุณสมบัติเป็นฉนวนไฟฟ้าที่ยืดหยุ่นมากขึ้น โดยการพัฒนาครั้งสำคัญของดร. โรเชาว์ (Dr. Eugene George Rochow) นักวิจัยด้านฉนวนไฟฟ้า ได้ทำการคิดค้นสารที่เรียกว่า เมทิลซิลิโคน ขึ้นมาใหม่ โดยใช้หลักการที่ใช้แนวคิดจากการสังเคราะห์สารไตรคลอโรไซเลน (HSiCl3) ที่เกิดจากการสังเคราะห์ระหว่าง ซิลิกอนกับกรดไฮโครคลอริก
ด้านสุขภาพ ซิลิโคนช่วยเพิ่มความแข็งของเนื้อเยื่อเกี่ยวกันในร่างกายแล้วยังไม่เป็นอันตรายกับร่างกายมนุษย์ จึงนำมาใช้การแพทย์เช่น การสร้างอวัยเทียม การเสริมจมูก รวมถึงยังสามารถเสริมความแข็งแรงให้กับข้อต่อกระดูกต่าง ๆ ที่ต้องการความยืดหยุ่นได้อีกด้วย
ในเชิงอุตสาหกรรมซิลิโคนนิยมใช้เป็นฉนวนทนความร้อนและฉนวนไฟฟ้าที่ดี นอกจากนี้ยังใช้เป็นกาวเชื่อมประกบวัสดุเข้าด้วยกันในการก่อสร้าง และมีการใช้ซิลิโคนในแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ร่วมด้วย