ร่างกายมนุษย์ประกอบไปด้วยธาตุออกซิเจนในปริมาณที่สูงกว่าธาตุชนิดอื่น ๆ เนื่องจากออกซิเจนมีการหมุนเวียนอยู่ในร่างกายในรูปของน้ำประมาณ 60% ของร่างกาย ขณะที่บางส่วนก็อยู่ในกระบวนการเมทาบอลิซึมซึ่งไม่สามารถวัดค่าได้ นอกจากนี้บางส่วนยังพบในปอดด้วย จากการหายใจเข้าซึ่งมีออกซิเจนอยู่ประมาณ 20% ของอากาศที่หายใจเข้าไปทั้งหมด โดยเป็นกุญแจสำคัญในการหายใจระดับเซลล์ที่ร่างกายจะนำไปใช้ที่ไมโทคอนเดรีย (Mitochondria) ภายในเซลล์ เพื่อสร้างพลังงาน ATP ซึ่งจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์
เป็นธาตุที่มีมากเป็นอันดับ 2 ในร่างกาย นำเข้าสู่ร่างกายได้โดยอาหารที่เรารับประทานและอากาศที่เราหายใจเข้าไป ธาตุคาร์บอนเป็นธาตุพื้นฐานของทุกชีวิต โดยมันจะสร้างพันธะกับอะตอมของธาตุอื่น ๆ ในร่างกาย เช่น ออกซิเจน ไนโตรเจน นอกจากนี้ยังมีการสร้างพันธะเป็นสายโซ่ขนาดยาวซึ่งเกี่ยวเนื่องกับโครงสร้างโปรตีน โครงสร้างข้อมูลพันธุกรรมอีกด้วย
ไฮโดรเจนเป็นธาตุพื้นฐานที่สุดในบรรดาธาตุทั้งหมด โดยอะตอมของมันประกอบไปด้วย โปรตอน 1 ตัว และนิวตรอน 1 ตัว เท่านั้น ซึ่งทำให้มันเกิดพันธะกับธาตุอื่น ๆ ได้ง่าย ทำให้มันเป็นอีกหนึ่งองค์ประกอบที่สำคัญของสิ่งมีชีวิต ไฮโดรเจนเมื่อรวมตัวกับออกซิเจนแล้วจะได้เป็นน้ำ นอกจากนี้ปฏิกิริยาบางอย่างยังให้ไฮโดรเจนออกมาด้วย เช่น กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง กระบวนการเมทาบอลิซึม (ในรูปแบบของน้ำ, H2O)
ไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบส่วนใหญ่ในอากาศบนโลกนี้ ดังนั้น เมื่อเราหายใจเข้า จึงมีไนโตรเจนเข้าสู่ปอดของเราด้วย อย่างไรก็ตาม ร่างกายก็ไม่ได้ดูดซึมไนโตรเจนจากส่วนนี้มาใช้ หากแต่รับไนโตรเจนจากอาหารต่าง ๆ โดยไนโตรเจนมีความสำคัญต่อร่างกายเนื่องจากเป็นองค์ประกอบของกรดอะมิโน ซึ่งจะถูกนำไปสร้างเปปไทด์และโปรตีน รวมถึงจำเป็นต่อองค์ประกอบของกรดนิวคลีอิกและสารประกอบอินทรีย์อื่น ๆ ด้วย
ประมาณ 99% ของแคลเซียมในร่างกายพบได้ที่กระดูกและฟัน มันถูกใช้เพื่อสร้างความแข็งแรงของโครงสร้างต่าง ๆ นอกจากนี้แคลเซียมไอออนยังสำคัญต่อการหดตัวของกล้ามเนื้อ ช่วยในการนำส่งกระแสประสาท การแข็งตัวของเลือด และการควบคุมระดับของโปรตีนในร่างกายด้วย ซึ่งหากร่างกายขาดแคลเซียมเมื่อไร แคลเซียมจากกระดูกและฟันก็จะถูกดึงออกมาใช้ และนี่เองจึงเป็นสาเหตุนำไปสู่โรงกระดูกพรุนได้ ดังนั้น การรับประทานอาหารเพื่อให้ได้รับปริมาณแคลเซียมที่เพียงพอจึงมีความสำคัญเช่นเดียวกับธาตุอื่น ๆ
ฟอสฟอรัสเป็นธาตุที่พบได้ในกระดูกและฟันเช่นเดียวกับแคลเซียม นอกจากนี้ยังถูกใช้ในการสร้างฟอสโฟลิพิด ซึ่งเป็นองค์ประกอบหลักของเยื่อหุ้มเซลล์ (Cell Membrane) ที่เป็นส่วนทำให้เซลล์คงรูปอยู่ได้ และพบได้ในนิวเคลียสของทุก ๆ เซลล์ ฟอสฟอรัสเป็นส่วนหนึ่งของกรดนิวคลีอิกและพลังงาน ATP ที่ใช้ในการทำงานของมนุษย์ ทั้งยังมีความจำเป็นต่อระบบสืบพันธุ์ และการเติบโตของกล้ามเนื้อ
สำหรับไฟฟ้าเคมีภายในร่างกายมีการทำงานที่ขึ้นกับไอออน และไอออนบวกของโพแทสเซียม หรือโพแทสเซียมไอออนก็มีความสำคัญมากที่สุดในกรณีนี้ เพราะมันถูกใช้ในการนำส่งกระแสประสาท ควบคุมการเต้นของหัวใจ รวมถึงการทำงานของเซลล์ทั้งหมดในร่างกายก็จำเป็นต้องใช้โพแทสเซียมไอออน นอกจากนี้มันยังมีส่วนช่วยในการขับสารพิษออกจากเนื้อเยื่ออีกด้วย
ซัลเฟอร์หรือกำมะถันเป็นองค์ประกอบของกรดอะมิโนจำเป็น 2 ชนิด ได้แก่ ซิสเทอีนและมีไทโอนีน ซึ่งเช่นเดียวกับกรดอะมิโนอื่น ๆ ที่พวกมันจะถูกนำไปใช้ในการสร้างโปรตีนในร่างกาย สำหรับโครงสร้างต่าง ๆ เช่น โครงสร้างที่สมบูรณ์ของผม รวมถึงการซ่อมแแซมอวัยวะที่สึกหรอในร่างกายด้วย
โซเดียมเป็นธาตุที่มีความจำเป็นเมื่ออยู่ในรูปของไอออนบวก หรือโซเดียมไอออน เนื่องจากมีความสำคัญต่อการนำส่งสัญญาณประสาทและการทำงานของกล้ามเนื้อ ทั้งนี้โซเดียมส่วนเกินหรือไม่จำเป็นจะถูกขับออกมาพร้อมกับเหงื่อ
คลอรีนเป็นไอออนลบที่สำคัญภายในร่างกาย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการทำงานที่เกี่ยวข้องกับการส่งเอนไซม์ ATPase ที่ใช้ในการสร้างพลังงาน นอกจากนี้คลอรีนยังถูกนำไปใช้ในการสร้างกรดไฮโดรคลอริก ซึ่งพบในระบบย่อยอาหาร โดยเฉพาะในกระเพาะอาหารด้วย
ในร่างกายของมนุษย์ไม่ได้ประกอบขึ้นและทำงานได้ด้วยธาตุเพียง 10 ธาตุนี้เท่านั้น แต่ยังมีธาตุอื่น ๆ ที่จำเป็นและเป็นประโยชน์ต่อร่างกายอย่างแมกนีเซียม เหล็ก ฟลูออรีน สังกะสี ซิลิกอน รูบิเดียม สทรอนเชียม โบรมีน ตะกั่ว ทองแดง อะลูมิเนียม แคดเมียม ซีเรียม แบเรียม โบรอน โครเมียม แมงกานีส นิกเกิล ทังสเตน เป็นต้น แต่ธาตุเหล่านี้มีอยู่ในร่างกายเป็นปริมาณที่น้อยมาก ๆ เท่านั้นเอง ดังนั้น เราจึงควรรับประทานอาหารอย่างหลากหลาย เพื่อให้ร่างกายได้รับธาตุเหล่านี้ครบถ้วนและเพียงพอต่อการทำงานของร่างกายในแต่ละวันต่อไป